Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 173,731
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 172,613
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,016
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 171,575
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 169,497
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 168,532
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 167,529
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 166,709
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 158,926
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 157,501
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 157,346
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 156,541
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 66,440
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 61,063
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 48,618
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 42,645
17 Industrial Provision co., ltd 38,310
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 37,405
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 35,353
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 33,348
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 32,554
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 30,897
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 30,298
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 29,951
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 26,787
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 25,709
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,218
28 AVERA CO., LTD. 21,842
29 เลิศบุศย์ 21,040
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 19,584
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 19,497
32 แมชชีนเทค 19,217
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,049
34 มากิโน (ประเทศไทย) 18,501
35 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 18,475
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,071
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 17,910
38 SAMWHA THAILAND 17,603
39 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 16,765
40 วอยก้า จำกัด 16,694
41 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 16,625
42 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 16,623
43 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 16,499
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 16,427
45 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 16,403
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 16,110
47 Systems integrator 15,979
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 15,881
49 Advanced Technology Equipment 15,698
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 15,666
23/10/2565 07:36 น. , อ่าน 763 ครั้ง
Bookmark and Share
Darlington transistor
โดย : Admin

ทรานซิสเตอร์ดาร์ลิงตัน (Darlington transistor)  คืออะไร ?

 




ทรานซิสเตอร์ดาร์ลิงตัน (Darlington transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่รวมเอาทรานซิสเตอร์แบบไบโพล 2 ตัวแบบเดียวกัน มาเชื่อมต่อแบบ tandem (มักจะเรียกว่า คู่ดาร์ลิงตัน; darlington pair) ให้เป็นอุปกรณ์ตัวเดียวกัน   โดยใช้หลักเอาวงจรขยายกระแสซ้อนวงจรขยายกระแส  โดยวิธีการนำเอาอัตราการขยายกระแสที่ได้จากทรานซิสเตอร์ตัวแรกมาเป็นสัญญาณไบอัสให้กับกับโดยทรานซิสเตอร์ตัวที่สองอีกทอดหนึ่ง   ซึ่งก็จะทำให้มีอัตราขยาย (gain) รวม(beta หรือ hFE) ที่สูงมากและกินเนื้อที่น้อยกว่าการใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัวแยกวงจรออกจากกันถึงแม้จะเชื่อมต่อแบบเดียวกัน   (แต่อย่างไรก็ตามการใช้ทรานซิสเตอร์แยกกันสองตัวในวงจรจริงยังพบได้ทั่วไป แม้ว่าจะมีอุปกรณ์รวมในชิ้นเดียวกันแบบนี้แล้วก็ตาม)


****  การจัดทำทรานซิสเตอร์แบบนี้ เป็นผลงานการคิดค้นของซิดนีย์ ดาร์ลิงตัน (Sidney Darlington) แนวคิดในการเชื่อมต่อทรานซิสเตอร์ 2 หรือ 3 ตัวมาเป็นชิปตัวเดียวกันนั้นเขาได้จดสิทธิบัตรเอาไว้แล้ว แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงแนวคิดการจับรวมทรานซิสเตอร์จำนวนใดๆ มาไว้บนชิปเดียวกัน ซึ่งในกรณีนั้นถือว่าครอบคลุมหลักการไอซีสมัยใหม่ทั้งหมด


สำหรับการจัดวงจรทรานซิสเตอร์ที่คล้ายกันนี้ โดยมีการใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ที่มีชนิดต่างกัน (คือ NPN กับ PNP) จะเรียกว่าคู่ Sziklai pair หรือบางครั้งก็เรียกว่าคู่ดาร์ลิงตันพิเศษ (Darlington pair)


คุณสมบัติของวงจร

ทรานซิสเตอร์แบบคู่ดาร์ลิงตันนั้นทำงานเหมือนทรานซิสเตอร์ตัวเดียวที่มีอัตราขยายกระแสสูงมาก อัตราขยายรวมของทรานซิสเตอร์แบบดาร์ลิงตันนั้น เท่ากับผลคูณของอัตราขยายของทรานซิสเตอร์แต่ละตัวดังนี้

    β Darlington = β 1 × β 2 

ในปัจจุบันอุปกรณ์สมัยใหม่โดยทั่วไปจะมีอัตราขยายสูงถึง 1,000 หรือมากกว่านี้ ดังนั้นเมื่อมีการารนำวงจรขยายแบบดาร์ลิงตันมาใช้งานแทนก็จะทำให้มีความต้องการกระแสเบสที่มีค่าน้อยน้อยมากเมื่อเทียบกับวงจรขยายแบบเดิมๆที่ใช้ทรานซิสเตอร์สองตัวมาแยกต่อเพื่อทำให้เกิดการทำงานเหมือนกับวงจรดาร์ลิงตัน

 ส่วนลักษณะของอุปกรณ์รวมวงจรทั่วๆไปนั้นจะประกอบด้วย  3 ขา คือ B, C และ E  ดังรูปแสดงในตัวอย่าง




สำหรับแรงดันเบส-อีมิตเตอร์นั้นก็สูงกว่า โดยมีค่ารวมเท่ากับผลรวมของแรงดันเบส-อีมิตเตอร์ทั้ง 2 ดังนี้

    V BE = V BE1 + V BE2

ข้อด้อยของการต่อแบบดาร์ลิงตัน

จากหลักการที่กล่าวมา  การจะให้วงจรนี้ทำงานได้นั้น ก็จะต้องมีแรงดันประมาณ 0.6 โวลต์ตกคร่อมระหว่างขาเบสและอีมิตเตอของทรานซิสเตอร์ทั้งสอง 2  ที่ต่อเป็นแบบอนุกรมกัน     ดังนั้นมันจึงจะต้องใช้แรงดันมากกว่า 1.2 โวลต์เพื่อจะทำให้วงจรนี้ทำงาน นอกจากเมื่อวงจรนี้ทำงานและจ่ายกระแสไฟฟ้าสูงๆหรือเต็มพิกัด ก็จะมีแรงดันไฟฟ้าอิ่มตัวเท่ากับ 0.6 โวลต์   ซึ่งก็จะทำให้เกิดการสูญเสียกำลังเป็นความร้อนมาก

ข้อด้อยอีกอย่างหนึ่งของทรานซิสเตอร์แบบคู่ดาร์ลิงตัน ก็คือความเร็วในการสวิตช์จะช้า เนื่องมาจาก ทรานซิสเตอร์ตัวแรกไม่สามารถจ่ายกระแสได้อย่างรวดเร็วไปยังขาเบสของทรานซิสเตอร์ตัวที่สอง 

ส่วนช่วงการออฟหรือหยุดการทำงานหรือปิดสวิตซ์ก็จะช้าด้วย   ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวก็มักจะใช้ตัวต้านทานค่าราว 200 โอห์มทำการต่อระหว่างขาเบาและอีมิตเตอร์ของทรานซิสเตอร์ตัวที่สอง ซึ่งก็ทำให้ใช้ทรานซิสเตอร์ดาร์ลิงตันนี้จึงมักจะมีตัวต้านทานแบบนี้รวมอยู่ด้วย

นอกจากนี้แล้ว มันยังมีการเปลี่ยนเฟสที่มากกว่าทรานซิสเตอร์เดี่ยวๆ และด้วยเหตุนี้จึงไม่มีเสถียรภาพกับแรงดันป้อนกลับแบบลบเป็นอย่างมาก

ในปัจจุบันทรานซิสเตอร์แบบคู่ดาร์ลิงตันนั้นมักจะทำจำหน่ายเป็นอุปกรณ์สำเร็จเป็นแพจเกจสำเร็จรูป  แต่เราอาจสร้างคู่ดาร์ลิงตันขึ้นเองก็ได้ โดยใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ให้ Q1  อาจเป็นทรานซิสเตอร์กำลังต่ำ และ Q2 เป็นแบบกำลังสูง กระแสคอลเลกเตอร์สูงสุด หรือ IC(max) สำหรับคู่ดาร์ลิงตันนี้จะเท่ากับ IC(max) ของ Q2



ทรานซิสเตอร์ดาร์ลิงตันที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป คือเบอร์ 2N6282 ซึ่งมีอัตราขยายกระแส 2,400 ที่กระแสคอลเลกเตอร์ 10 แอมแปร์ และมีรีซิสเตอร์สำหรับปิดสวิตช์ด้วย


 
ตัวอย่างการใช้งานวงจรดาร์ลิงตันในการควบคุมความเร็วของดีซีมอเตอร์



ตัวอย่างวงจรดาร์ลิงตัน ที่ต่อวงจรโดยใช้เซ็นเซอร์แสงเป็นตัวควบคุมการทำงาน และนำเอาท์พุทไปขับรีเลย์

 



นายเอ็นจิเนียร์ขอสงวนสิทธิ์รับรองความถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูล


 ลิงค์ช่องยูทุปของ 9engineer.com => คลิก=> technology talk
 
ขอกำลังใจจากเพื่อนๆสมาชิกช่วยสนับสนุนด้วยการกดซับสไคร์ กดกระดิ่งติดตาม กดไลค์และกดแชร์ด้วยครับ

6 June 2023
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS