Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,987
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,785
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,352
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,589
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,623
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,385
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,901
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,215
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,135
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,069
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
14/08/2565 08:44 น. , อ่าน 16,589 ครั้ง
Bookmark and Share
brushless DC motor
โดย : Admin

เรียบเรียงโดย : แอมิน สุชิน  เสือช้อย


Brushless DC motor หรือ BLDC คืออะไร



  ตัวอย่างของ Brushless Motors (BLDC Motors)  - ภาพประกอบจาก https://islproducts.com

BLDC  ปัจจุบันเป็นมอเตอร์อีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหลายๆอุปกรณ์ตั้งแต่เครื่องใช้ในครัวเรียนจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ดังรูปต่อไปนี้

 

 


มอเตอร์ดีซีไร้แปรงถ่าน หรือ BLDC  มีโครงสร้างและหลักการทำงานอย่างไร ?

Brushless DC motor  หรือเรียกอีกอย่างว่า BLDC หรือ BL  โดยทั่วแล้วจะมีชื่ออื่นๆอีกเช่น อิเลคทรอนิกส์ คอมมิวเตอร์ (electronically commutated motor, ECM หรือ EC motor)  หรือ มอเตอร์กระแสตรงแบบซิงโครนัส (synchronous DC motor )

BLDC  เป็นมอเตอร์ที่ทำงานโดยอาศัยตัวควบคุมอิเลคทรอนิกส์ หรือ electronic controller ทำหน้าที่สวิตชิ่ง หรือควบคุมการจ่ายแรงดันไฟฟ้าดีซีให้กับขดลวดสเตเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นชุดสร้างสนามแม่เหล็ก  ซึ่งคล้ายกันกับการทำงานของซิงโครนัสมอเตอร์แบบใช้แม่เหล็กถาวร (Permanent magnet synchronous motor ,PMSM)

สำหรับเหตุผลที่ได้ชื่อว่าเป็นดีซีมอเตอร์แบบไร้แปรงถ่าน ก็เนื่องจากว่ามอเตอร์ชนิดนี้มีหลักการทำงานเหมือนกับดีซีมอเตอร์ที่ใช้แปรงถ่าน แต่จะแตกต่างกันเพียงแค่วิธีการลำเรียงกระแสเข้าไปยังขดลวด  ซึ่งในส่วนของดีซีมอเตอร์แบบเดิมนั้นจะใช้แปรงถ่านในการลำเรียงกระแสเข้าไปที่(คู่ของ)ขดลวดที่อยู่บนโรเตอร์เพื่อทำให้เป็นแม่เหล็กไฟฟ้า จากนั้นก็ทำให้เกิดการดูดและผลักกันกับขั้วแม่เหล็กที่อยู่ที่สเตเตอร์และทำให้เกิดการหมุนเคลื่อนที่ 

แต่ BLDC จะใช้ อิเลคทรอนิกส์ คอนโทรล เข้ามาแทนที่แปรงถ่าน เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับขดลวดสเตเตอร์ เพื่อควบคุม ทอร์ค ทิศทางการหมุน รวมถึงการควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์

 


ประเภทของ Brushless DC motor

โดยลักษณะของโครงสร้างแล้วโรเตอร์ของมอเตอร์ชนิดนี้จะทำจากแม่เหล็กถาวรและจะหมุนเคลื่อนที่หรือวิ่งตามสนามแม่เหล็กที่เกิดจากฟิลด์หรือขดลวดสเตเตอร์หลังจากได้รับการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังขดลวด  ...ซึ่งลักษณะของโรเตอร์โดยทั่วไปก็จะมี 2 รูปแบบดังนี้

 

1. ชนิดที่โรเตอร์หรือส่วนที่หมุนเคลื่อนที่อยู่ด้านนอก หรือ โรเตอร์อยู่ด้านนอกของขวดลวดสเตเตอร์  Outer rotor type (the rotor is outside the stator)
 

ข้อดี (Advantages )
  
- ง่ายต่อการรับแรงบิดหรือทอร์คขนาดใหญ่ หรือรับทอร์คได้มากกว่า( Easy to obtain large torque.)
    - ความเร็วคงทีช่วงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสปีดหรือเปลี (
Speed is stable during constant rotation.)

 

ข้อเสีย ( Disadvantages) 
   - โรเตอร์มีขนาดใหญ่ การออกตัวหรือการเคลื่อนที่ช้า  (The rotor is large (the motion is slow) )
   -
โรเตอร์อยู่ด้านนอกมีความต้องการเรื่องมาตรการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม (The outside rotor requires appropriate safety measures. )

 

cr: https://www.nidec.com

 

 

2.ชนิดที่โรเตอร์หรือส่วนที่หมุนเคลื่อนที่อยู่ด้านใน หรือ โรเตอร์อยู่ด้านในของสเตเตอร์  Inner rotor type (the rotor is inside the stator)
 

 

ข้อดี (Advantages )
  
- โรเตอร์มีขนาดเล็กและสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ( The rotor is small and can respond quickly.)
    - คอยล์อยู่ด้านนอกและระดับการกระจายความร้อนสูง หรือระบายความร้อนได้ดีกว่า ( The coil is located on the outside and the level of heat dissipation is high.)


ข้อเสีย
( Disadvantages) 
   - การทำให้เกิดทอร์คหรือแรงบิดสุงๆ ทำได้ยาก (Difficult to obtain large torque. )
   - แม่เหล็กสามารถเสียหายได้ด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Magnets can be damaged by centrifugal force )

การควบคุมความเร็วของ BLDC

การควบคุมความเร็ว BLDC  ก็อาศัยการเปลี่ยนแปลงความเร็วของการสวิตซิ่งที่จ่ายให้กับขดลวดสเตเตอร์  ถ้ามีการสวิตซิ่งกระแสไฟฟ้าด้วยความถี่สูง ขั้วแม่เหล็กหรือสนามแม่เหล็กหมุนที่สเตเตอร์ก็จะหมุนเร็วขึ้นตามความถี่สวิตซิ่ง จากนั้นก็จะดูดหรือดึงขั้วแม่เหล็กที่อยู่ที่โรเตอร์ให้หมุนเคลื่อนที่ตามดังรูป





การควบคุมหรือการคอนโทรลของ BLDC  โดยทั่วไปจะเป็นการทำงานแบบลูปปิด หรือ Closed Loop Control โดยจะอาศัย เซ็นเซอร์ที่เรียกว่า Hall Effect IC เป็นอุปกรณ์ป้อนกลับเพื่อรายรายตำแหน่งของโรเตอร์ให้คอนโทรลเลอร์ทราบเพื่อทำการจ่ายกระแสเข้าขดลวดให้สัมพันธ์กับตำแหน่งของโรเตอร์

 

รูปแสดงบล๊อคไดอะแกรมของ BLDC , Hall Effect  และรูปคลื่นของแรงดันและกระแสที่จ่ายให้กับขดลวดสเตเตอร์


 

 

ความแตกต่างระหว่างมอเตอร์มีแปรงถ่านและมอเตอร์ไร้แปรงถ่าน




1. มอเตอร์ไร้แปรงถ่าน BLDC  จะไม่มีแปรงประกอบ ซึ่งก็จะมีขนาดกะทัดรัดกว่า แต่จะต้องใช้งานควบคู่กับอิเลคทรอนิกส์คอนโทรลเลอร์ electronice Controller  หรือ BLDC drives 

2. มอเตอร์แบบมีแปรงมีราคาถูกและใช้งานง่ายกว่า ซึ่งสามารถต่อสายโดยตรงกับแหล่งจ่าย DC และมีการควบคุมเบื้องต้น เช่น การควบคุมทิศทางการหมุน หรือ ควบคุมความเร็วสามารถทำได้ง่ายกว่า

3. BLDC โรเตอร์จะหมุนด้วยการควบคุมที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนแบบที่มีแปรงถ่านจะต้องเรียงกระแสผ่านแปรงถ่านเข้าไปยังขดลวดที่พันอยู่บนโรเตอร์

4. สายไฟ ...แบบไม่มีแปรงจะใช้สายไฟมากกว่า ส่วนแบบมีแปรงถ่านจะใช้สายไฟ 2 เส้น หรือ 4 เส้นหากมีการแยกขดลวดฟิลด์และขดลวดอาร์เมเจอร์

5. มอเตอร์ไร้แปรงถ่านมีประสิทธิภาพมากกว่า (85-90%) เนื่องจากไม่มีการสูญเสียที่แปรงถ่านและความฝืดเนื่องจากแรงเสียดทาน   ส่วนแบบที่มีแปรงถ่านจะมีประสิทธิภาพประมาณ 75-80% 

6. BLDC ไม่มีแปรงถ่าน จะไม่ทำให้เกิดประกายไฟที่แปรงถ่าน

7.BLDC การบำรุงรักษาต่ำกว่า และ แทบไม่ต้องทำการบำรุงรักษา

8. BLDC เสียงรบกวนน้อยกว่า

*** ส่วนข้อเสีย ... ชุดควบคุมใช้เทคโนโลที่สูงกว่า  หากมีปัญหาจะซ่อมค่อนข้างหากขาดความรู้ความเข้าใจในกลไกการทำงาน

 


ตัวอย่าง BLDC  แบบที่โรเตอร์อยู่ด้านนอก
 


ตัวอย่าง BLDC  ที่ใช้ในรถไฟฟ้า


ตัวอย่าง BLDC  แบบที่โรเตอร์อยู่ด้านใน

 

 

 
 

========================================================