Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,366
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,518
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,934
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,688
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,413
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,491
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,456
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,764
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,251
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,387
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,308
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,450
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,490
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,072
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,421
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,496
17 Industrial Provision co., ltd 39,162
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,320
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,240
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,384
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,800
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,156
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,904
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,521
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,460
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,890
28 AVERA CO., LTD. 22,535
29 เลิศบุศย์ 21,635
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,318
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,186
32 แมชชีนเทค 19,836
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,804
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,128
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,080
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,551
38 SAMWHA THAILAND 18,238
39 วอยก้า จำกัด 17,828
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,416
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,242
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,187
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,139
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,079
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,006
47 Systems integrator 16,656
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,576
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,398
50 Advanced Technology Equipment 16,383
12/03/2565 13:42 น. , อ่าน 13,718 ครั้ง
Bookmark and Share
Substation
โดย : Admin

สถานีไฟฟ้าย่อย Substation คืออะไร

คลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

 

สถานีไฟฟ้า (Substation) คือ สถานที่ๆ ติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการไหลของพลังงานไฟฟ้าในระบบและอุปกรณ์ปรับเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือต่ำลง มีสายส่งหรือโรงไฟฟ้าต่อเชื่อมเข้าและมีอุปกรณ์ระบบควบคุมและป้องกันติดตั้งเพื่อตัดอุปกรณ์หลักออกขณะเกิดการลัดวงจรในสายส่ง หรือในระบบจำหน่าย หรืออุปกรณ์ภายในสถานีเกิดความเสียหาย เป็นต้น

ระบบส่งกําลังไฟฟ้า (Transmission Systems) หมายถึง ระบบที่รับแรงดันไฟฟ้าจากระบบผลิตเพื่อส่งไปยังระบบจำหน่ายไฟฟ้า หรือทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างระบบผลิตกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้านั้นมีส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้

          1. สถานีไฟฟ้าย่อยแปลงแรงดันสูง หรือลานไกไฟฟ้า (Step-up Substation or Switch Yard)  
          2. สายส่งกําลังไฟฟ้าหรือเรียกสั้น ๆ ว่าสายส่ง (Transmission Line)
          3. สถานีไฟฟ้าย่อยต้นทาง (Primary Substation or Bulk Power Substation)
          4. สายส่งไฟฟ้าย่อย (Subtransmission Line)

หน้าที่และวัตถุประสงค์ของสถานีไฟฟ้า
          1. เป็นจุดเปลี่ยนระดับแรงดันไฟฟ้า
          2. เป็นจุดปรับระดับแรงดันในระบบให้คงที่ก่อนส่งไปยังระบบอื่น
          3. เป็นจุดเชื่อมระหว่างระบบสายส่ง กับ ระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าด้วยกัน และ นำพลังงานเข้าหรือ ออกจาก

ระบบ เช่นระบบสายส่ง (ระบบ 115 เควี.) กับระบบจำหน่ายแรงสูง (ระบบ 22 , 33 kV ) เป็นต้น
          4. เป็นจุดติดตั้งเครื่องมือวัด เพื่อวัดปริมาณทางไฟฟ้า
          5. เป็นจุดติดตั้งอุปกรณ์ตัดตอน, อุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ป้องกัน
          6. เป็นจุดเชื่อมโยงระบบสื่อสาร


การแบ่งประเภทของสถานีไฟฟ้าย่อย

Outdoor Substation
          Outdoor Substation จะประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงที่ติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า, เบรกเกอร์, สวิทช์ใบมีด เป็นต้น โดยจะต่อวงจรการควบคุมอุปกรณ์จากภายนอกเข้ามาภายในอาคาร เพื่อใช้ควบคุมภายในอาคาร แต่ในกรณีที่การควบคุมภายในห้องมีปัญหา เราก็สามารถควบคุมการปลด/สับอุปกรณ์ได้โดยตรงที่ตัวอุปกรณ์ สถานีไฟฟ้าย่อยแบบนี้ จะใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก แต่ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างมีราคาถูก สามารถจัดวางอุปกรณ์ได้สะดวก และระบายความร้อนได้ดี

Indoor Substation
          Indoor Substation เป็นการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงอยู่ภายในอาคาร ปัจจุบันที่ใช้อยู่คือ GIS (Gas-Insulated Substation ) ซึ่งลักษณะเด่นของมัน คือ ใช้ Gas SF6 เป็นฉนวน  อุปกรณ์ต่างๆ จะอยู่ภายใน Enclosure สถานีไฟฟ้าแบบนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ในที่ๆ เจริญ เช่น ย่านตัวเมือง หรือบริเวณชายทะเล ซึ่งมีไอน้ำเค็มเกิดเป็นคราบเกลือ ซึ่งจะทำให้เกิดการเบรกดาวน์กับอุปกรณ์ได้ง่าย

Hybrid Substaion
          Hybrid Substaion สถานีไฟฟ้าแบบนี้ จะเป็นการร่วมการติดตั้งอุปกรณ์ฉนวน SF6 และอุปกรณ์ฉนวนอากาศในสถานีเดียวกัน โดยการออกแบบจะดูที่ความเหมาะสม โดยจะพิจารณาข้อแตกต่างทางด้านคุณสมบัติของฉนวนในตำแหน่งที่ติดตั้ง โดยสามารถจำกัดข้อแตกต่างทางด้านคุณสมบัติของฉนวนในการติดตั้งแบบ Hybrid โดย
          1. ติดตั้ง Busbar และ Disconnector โดยใช้ GIS และอุปกรณ์อื่นที่ใช้วัสดุฉนวนอากาศ
          2. ติดตั้ง Busbar และ Disconnector โดยใช้ฉนวนอากาศ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ GIS เป็นวัสดุในการติดตั้งใช้งาน จะพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละสถานี

Mobile Substations
          Mobile Substations สถานีไฟฟ้าแบบนี้จะมีอุปกรณ์แปลงไฟฟ้าติดตั้งบนรถราก หรือรถตู้บรรทุก ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่ต้องใช้แทนสถานีไฟฟ้าที่เกิดความผิดปกติ และใช้ช่วยรับภาระที่เกินเกณฑ์ปกติตามฤดูกาลต่างๆ และใช้สำหรับงานก่อสร้างที่มีลักษณะชั่วคราว เพราะสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย


สรุป ทำไมต้องมีสถานีไฟฟ้า ด้วยเหตุที่โรงผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่จะสร้างไว้ในที่ห่างไกลชุมชน การส่งกระแสไฟฟ้าจากทีไกลๆ จะประสบปัญหาแรงดันไฟตก การสูญเสียสูง และส่งไฟฟ้าได้ในปริมาณน้อย ในทางตรงกันข้าม หากมีการส่ง-จ่ายไฟฟ้าด้วยแรงดันยิ่งสูง การสูญเสียก็จะยิ่งต่ำ ส่งไฟฟ้าได้ในปริมาณมาก ดังนั้น การมีสถานีไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนแรงดัน จึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งในด้านการลดการสูญเสียด้วยการเพิ่มแรงดันให้สูงมากๆ จะสามารถส่งไฟฟ้าไปได้ในระยะทางไกลๆ และได้ปริมาณมากๆ ขณะเดียวกัน เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้ามาสู่ตัวเมืองก็ต้องมีสถานีไฟฟ้า เพื่อลดแรงดันกลับลงมาให้เกิดความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้งาน เป็นต้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :-

========================================================