Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,580
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,989
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,775
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,463
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,509
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,345
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,448
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,130
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,519
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,375
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,958
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,583
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,949
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,684
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,381
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,899
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,477
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,328
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,302
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,240
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,209
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,133
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,067
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,455
50 Advanced Technology Equipment 16,443
13/10/2564 17:33 น. , อ่าน 4,031 ครั้ง
Bookmark and Share
INDUCTION HEATING
โดย : Admin

การให้ความร้อนโดยการเหนี่ยวนำ  INDUCTION  HEATING

 




 


หลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี
     
     การให้ความร้อนโดยการเหนี่ยวนำเป็นวิธีการหนึ่งในการถ่ายทอดพลังงานหลักการทำงานจะคล้ายกับ
หม้อแลงไฟฟ้า เป็นการให้กระแสไฟฟ้าสลับไหลผ่านขดลวดและก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก เมื่อใส่ชิ้นเหล็กเข้าไปในสนามแม่เหล็กนี้ จะทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น และทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในโลหะนั้น โดยทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะมีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน
ขดลวด เนื่องจากว่าโลหะทุกชนิดมีค่าความต้านทานไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่ไหลในโลหะจึงทำให้เกิดความร้อนขึ้น ความร้อนที่เกิดขึ้น คือ พลังงานไฟฟ้าที่ถูกถ่ายทอดออกไปเป็นความร้อนในชิ้นโลหะนั่นเอง


ประเภทของการใช้งาน

    การให้ความร้อนโดยการเหนี่ยวนำสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานอุตสาหกรรมโลหะในหลายกระบวนการ ได้แก่ การให้ความร้อนแก่ชิ้นโลหะ การเคลือบแข็ง การปรับสภาพโลหะ ฯลฯ


ประโยชน์ของเทคโนโลยี

     - เป็นเทคโนโลยีที่มีระยะเวลาเริ่มทำงานสั้น ไม่เสียเวลาในการทำให้ความร้อนสูงถึงจุดใช้งานได้
     - ระยะเวลาในการให้ความร้อนสั้นโดยใช้เวลาไม่กี่วินาทีในการให้ความร้อนช่วยรักษาความแข็งแรง
และความละเอียดของโครงสร้าง
     - ใช้ปริมาณพลังงานน้อยเมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิง
     - ลดพื้นที่ในการทำงาน สามารถทดแทนเตาเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ได้
     - ลดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงประเภทอื่น


Induction heat สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเลือกใช้


ในนการพิจารณาเลือกใช้ induction heat มาใช้งาน มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณา คุณสมบัติทางแม่เหล็ก (การซึมผ่านสัมพัทธ์), คุณสมบัติทางไฟฟ้า (ความต้านทาน) และคุณสมบัติทางความร้อน (การนำไฟฟ้า) ของชิ้นส่วนที่ต้องการให้ความร้อน ชนิดของโลหะ รูปทรงและความต้านทานของโลหะ  ที่ถือเป็นโหลดของระบบที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต้องเลือกขนาดของ induction heat ให้เหมาะสม  และมี"ช่วงความต้านทาน" ซึ่งควรกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

ปัจจัยหลัก ๆ  ในการเลือกเครื่องทำความร้อนเหนี่ยวนำคือ

  - พลังงานระบบ
  - ความถี่ของระบบ
  - การออกแบบของขดลวดเหนี่ยวนำ

พลังงานระบบ:  คือพลังของการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กที่จากสร้างความเข้มข้นของพลังงานที่ส่งไปที่ชิ้นงานเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดความร้อนต่อพื้นผิวโลหะใด ๆ พลังงานที่สูงขึ้นจะสร้างความร้อนได้รวดเร็ว จะช่วยให้เวลาในการทำงานของเครื่อง induction heat สั้นลง ความร้อนของอุปกรณ์ภายในก็จะไม่ร้อนมาก ช่วยให้เครื่องทนทานต่อการใช้งานด้วย

 

ความถี่ของระบบ:

ในการเหนี่ยวนำความร้อนไปที่ชิ้นงาน ความถี่ของ induction heat มีผลต่อการเจาะความร้อนไปยังศูนย์กลาง / แกนกลาง(การซึมผ่านสัมพัทธ์)และพื้นผิวของโลหะ ความถี่ต่ำ คาบเวลาของความถี่ยาวกว่า ก็จะเหนี่ยวนำความร้อนเข้าไปจากพื้นผิวโลหะได้ลึกกว่าความถี่ที่สูงขึ้นนั่นเอง  ทีนี้เรามาดูกันว่า ความถี่แต่ละความถี่ สามารถสร้างความร้อนซึมซาบเข้าไปในพื้นผิวได้เท่าใหร่ (ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาการใช้เครื่องมาก ๆ )

         - ความถี่ต่ำกว่า 10 kHz ได้ความลึก(ประมาณ): 0.090–0.200 นิ้ว
         - ความถี่ต่ำกว่า 30 kHz ได้ความลึก(ประมาณ): 0.080–0.120 นิ้ว
         - ความถี่ต่ำกว่า 100 kHz ได้ความลึก(ประมาณ): 0.050–0.080 นิ้ว
         - ความถี่ต่ำกว่า 450 kHz ได้ความลึก(ประมาณ): 0.030–0.040 นิ้ว


ความถี่ของระบบโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นช่วง ๆ ให้เหมาะสมกับงานดังนี้

         - เครื่อง Induction heat ความถี่กลาง - 1 kHz ถึง 20 kHz
         - เครื่องInduction heat ความถี่สูง - 30 kHz ถึง 80 kHz
         - เครื่องInduction heat ความถี่สูงพิเศษ - 100 kHz ถึง 500 kHz
     
    หลังจากที่เราทราบว่า แต่ละความถี่ สามารถสร้างความร้อนได้ลึกเข้าไปในชิ้นงานขนาดใหน เราก็พอจะเลือกได้ว่า งานของเราต้องเลือกใช้ความถี่เท่าใหร่ เช่น งานหลอมโลหะ ต้องเลือกใช้ความถี่กลางถึงต่ำ งานชุบแข็ง ต้อง  พิจารณาว่า ต้องการความลึกของการชุบเท่าใหร่ หากชิ้นงานหนา ควรเลือกความถี่กลาง แต่ถ้าชิ้นงานบางมาก ควรเลือกความถี่สูงพิเศษ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
 
หลังจากเลือกความถี่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องเลือกถัดไปคือ ขนาดพลังงานที่ต้องการใช้ ซึ่งสัมพันธิ์กับเวลาที่ต้องการทำความร้อน ในแต่ละ process มีข้อจำกัดเรื่องเวลาไม่เท่ากัน หากต้องการความเร็วสูง พลังงานที่ใช้ก็จะต้องมากกว่านั่นเอง
 
อีกเรื่องที่ต้องคำนึงถึงของการเลือกขนาดเครื่อง induction heat คือ ขนาดและรูปร่างของชิ้นงาน ชิ้นงานที่มีมวลมากกว่า จะตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กได้ใวกว่าชิ้นงานที่มีมวลน้อยกว่า ดังนั้น ถ้าชิ้นงานของท่านมีมวลน้อย  เป็นท่อกลวงก็จะต้องเลือกเครื่องที่มีพลังงานสูง ๆ ใว้ก่อน  ไม่งั้นงานอาจจะไม่ success ตามที่คาดหวังใว้ก็ได้  

========================================================