Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,770
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,461
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,508
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,344
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,446
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,127
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,516
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,223
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,683
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,868
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,138
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,798
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,325
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,206
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,710
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,454
50 Advanced Technology Equipment 16,442
23/07/2563 14:07 น. , อ่าน 12,227 ครั้ง
Bookmark and Share
ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า Inductor
โดย : Admin

Inductor ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าคืออะไร

 

 
ตัวอย่าง อินดัคเตอร์ หรือตัวเหนี่ยวไฟฟ้าชนิดต่างๆ

 

ตัวเหนี่ยวนำ (Inductor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเหนี่ยวนำไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการสนามแม่เหล็กตัดผ่านขดลวด จะทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าในขดลวด

ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าใช้อักษรย่อ L   คือขดลวดเคลือบน้ำยาฉนวนนำมาพันบนแกนต่าง ๆ เช่นแกนเหล็ก (Iron Core) แกนอากาศ (Air core) แกนเฟอร์ไรท์ (Ferrite Core) แกนทอรอยด์ (Toroidal  Core) เป็นต้น


a) ตัวเหนี่ยวนำแบบแกนอากาศ(Air core)และสัญลักษณ์
b) แกนเฟอร์ไรท์ (Ferrite Core) และสัญลักษณ์
c) ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าแกนเหล็กและสัญลักษณ์
d) แกนทอรอยด์ (Toroidal  Core)

 
หน่วยวัดตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า


  ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าจะมีหน่วยวัดเช่น  เฮนรี่ (Henry) ใช้อักษรย่อ H  และหน่วยวัดย่อยเช่น มิลลิเฮนรี่ (Milli Henry) ใช้อักษรย่อ mH  และไมโครเฮนรี่ (Micro Henry)  ใช้อักษรย่อ uH เป็นต้น


โดยทั่วๆไป ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือตัวเหนี่ยวนำแบบค่าคงที่  (Fixed Inductor) และตัวเหนี่ยวนำแบบปรับค่าได้ (Variable  Inductor)





ชนิดของตัวเหนี่ยวนำ     

  โช้คคอลย์ ( Choke coil ) หรือขดลวดโช๊คคือตัวเหนี่ยวนำแบบคงที่ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นขดลวดเคลือบน้ำยาฉนวนนำมาพันบนแกนต่าง ๆ เช่นแกนเหล็ก (Iron Core)  แกนอากาศ (Air core)  แกนเฟอร์ไรท์ (Ferrite Core) ลักษณะการพันจะมีปลายขดลวดเพียง 2 ปลายเท่านั้น โดยทั่วไปนำมาใช้งานเช่น ป้องกันสัญญาณรบกวนความถี่วิทยุ (RF Choke) ทำเป็นโซลินอยด์ ดังรูป

 
หม้อแปลง (Transformer) คือตัวเหนี่ยวนำแบบคงที่อีกชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นขดลวดเคลือบน้ำยาฉนวนนำมาพันบนแกนเหล็ก  ลักษณะการพันจะมีขดลวด 2 ขดคือ ขดปฐมภูมิ (Primary coil) และขดทุติยภูมิ(Secondary coil)โดยทั่วไปนำมาใช้งานลด  หรือเพิ่มขนาดของแรงดันและกระแสไฟฟ้า  ดังรูป

 

 ตัวเหนี่ยวนำแบบปรับค่าได้

    หม้อแปลงไฟฟ้าแบบปรับค่าได้ คือหม้อแปลงไฟฟ้าที่สามารถปรับค่าแรงดันไฟฟ้าได้ตามความต้องการของอุปกรณ์ ดังรูป

 

 



 

การต่อตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า

การวงจรต่อตัวเหนี่ยวนำสามารต่อได้ 3 วิธีเหมือนกับการต่อวงจรตัวต้านทานไฟฟ้า คือ 

    1. การต่อแบบอนุกรม
    2. การต่อแบบขนาน
    3. การต่อแบบแบบผสม


 

ลักษณะการเสียของตัวเหนี่ยวนำ

1) ถ้าขดลวดช๊อต เมื่อวัดค่าความต้านทานด้วยโอมห์มิเตอร์ จะอ่านค่าได้ 0 โอมห์
2) ถ้าขดลวดขาด เมื่อวัดค่าความต้านทานด้วยโอมห์มิเตอร์ จะอ่านค่าได้ œ อินฟินิตี้
3) ถ้าขดลวดช๊อตข้ามขด เมื่อวัดค่าความต้านทานด้วยโอมห์มิเตอร์ระหว่างขดไฟเข้าและขดไฟออก จะอ่านค่าได้  0 โอมห์
4) ถ้าขดลวดช๊อตรอบ เมื่อวัดค่าความต้านทานด้วยโอมห์มิเตอร์ จะอ่านค่าต่ำกว่าปกติ
5) ขดลวดไหม้  เกิดจากการที่โหลดเกินหรือโหลดดึงกระแสมากเกินไปและทำให้เกิดความร้อนเกินพิกัดของน้ำยาฉนวนที่เคลือบอยู่ที่ขดลวดเสียหายและใหม้ ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ขดลวดลัดวงจร
 

========================================================