Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,984
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,580
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,989
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,778
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,464
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,509
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,348
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,448
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,359
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,511
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,130
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,519
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,376
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,440
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,583
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,949
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,383
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,292
39 วอยก้า จำกัด 17,899
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,478
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,329
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,211
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,133
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,067
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,455
50 Advanced Technology Equipment 16,443
22/07/2563 07:52 น. , อ่าน 4,093 ครั้ง
Bookmark and Share
Soldering Iron หัวแร้งบัดกรี
โดย : Admin

หัวแร้งบัดกรี Soldering Iron

 


หัวแร้งเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในงานช่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับช่างอิเลคทรอนิกส์และช่างไฟฟ้า  ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้เชื่อมและประกอบอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเข้ากับแผ่นวงจร หรือ เชื่อมต่อ่เข้าด้วยกัน   นอกจากนั้นก็ยังมีฟังก์ชั่นรองลงมาอีกก็คือใช้เจาะรูพลาสติก ใช้เป็นเครื่องมือเกาะกลักลายไม้ด้วยความร้อนหรือแม้กระทั่งการวาดลายผ้า ฯลฯ ในกลุ่ม DIY

หัวแร้งที่ ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ หลายขนาดตามลักษณะการใช้งาน   แต่โดยส่วนมากแล้ว หัวแร้งที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปจะเป็นแบบหัวแร้งแช่ จนบางท่านอาจไม่รู้เลยว่ายังมีหัวแร้งแบบอื่นๆ อีก

 



หัวแร้งที่ใช้ในงานบัดกรีและเชื่อมประสาน Soldering Iron  จะแยกออกเป็น 2  กลุ่ม คือ กลุ่มหัวแร้งรุ่นเก่าชนิดเผาด้วยถ่านและหัวแร้งแบบใหม่ที่ไฟฟ้า และแก๊สหรือแบตเตอรี่ ชนิดที่เป็นแบบพกพา  แต่สำหรับในที่นี้จะขอแนะนำเฉพาะกลุ่มหัวแร้งกลุ่มที่สองซึ่งเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมทั่วไปเท่านั้น  ซึ่งแยกประเภทเป็นแบบต่างๆดังนี้


หัวแร้งแช่ (Soldering iron)


หัวแร้งแบบนี้ เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน  ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญของช่างอิเลคทรอนิกส์ ช่างไฟฟ้า และนักประดิษฐ์ทั่วไป ซึ่งขนาดของหัวแร้งแช่นี้ ถูกแบ่งตามกำลังวัตต์ ซึ่งหากมีกำลังวัตต์ต่ำ ความร้อนก็ต่ำ แต่หากมีกำลังวัตต์สูงความร้อนก็จะสูงตาม เช่น 60W  80W  100W  เป็นต้น

ข้อดี : ใช้งานง่ายมีกำลังวัตต์ให้เลือกซื้อมาใช้งานตามความต้องการ มีอะไหล่ขายอยู่ทั่วไปทำให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง
ข้อเสีย :  เมื่อจะนำไปใช้งานต้องรอให้ความร้อนถึงจุดใช้งานก่อน  หากจ่ายไฟเลี้ยงหรือเสียบปลั๊กทิ้งไว้นานๆ อาจทำให้ปลายของหัวแร้งเสียหายได้

 

 

หัวแร้งปืน (Soldering gun)


หัวแร้งบัดกรีแบบนี้จะรูปลักษณ์จะมีด้ามจับเหมือนปืนและมีปุ่มเร่งความร้อนเหมือนไกปืน ด้วยลักษณะพิเศษที่มีปุ่มเร่งความร้อนได้นี้เองจึงเป็นที่นิยมของช่างที่ชอบความรวดเร็ว  กดเร่งปุ๊บ ร้อนปั๊บ

การทำงานของหัวแร้งปืนนั้นจะเหมือนกับหัวแร้งแช่ แต่จะแตกต่างกันตรงที่หัวแร้งแบบนี้จะมีขดลวดความร้อนหรือฮีตเตอร์ (heater) ภายในจะมีอยู่ 2 ขด โดยจะมีขดลวดความร้อนต่ำและขดลวดความร้อนสูง  การใช้งานขึ้นอยู่กับปุ่มเร่งความร้อนที่มีลักษณะเหมือนไกปืน


***  ถ้าไม่มีการกดปุ่มนี้จะเป็นการใช้ขดลวดความร้อนต่ำ แต่เมื่อมีการกดปุ่มเร่งความร้อนจะเป็นการเปลี่ยนให้ขดลวดความร้อนสูงทำงานแทน

ข้อดี    : ใช้งานสะดวก มีปุ่มเร่งความร้อนทำให้สามารถบัดกรีในจุดที่ต้องการใช้ความร้อนสูงได้
ข้อเสีย : ถ้ามีการกดปุ่มเร่งความร้อนเป็นเวลานานเกินไป จะทำให้ด้ามจับเกิดความเสียหายได้ รวมทั้งจะมีผลต่อขดลวดความร้อนด้วย



หมายเหตุ : หัวแร้งปืนในอดีตเป็นหัวแร้งที่ให้ความร้อนจากขดลวดทองแดงใช้กำลังไฟฟ้าสูงหลัก 100 วัตต์ แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมเพราะกินไฟมากประกอบกับอุปกรณ์และลายทองแดงในสมัยนี้มีขนาดเล็กลง จึงไม่เหมาะในการนำไปใช้งานเพราะจะทำให้อุปกรณ์และลายทองแดงเสียหาย และมีราคาแพงกว่าหัวแร้งแช่ที่มีปุ่มเร่งความร้อน
 

 

หัวแร้งไร้สาย (Cordless Soldering Iron)

หัวแร้งไร้สายเป็นหัวแร้งที่เหมาะสำหรับงานนอกสถานที่ งานที่ไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ เช่น บนเสาสัญญาณสูง ๆ บนดาดฟ้า เป็นต้น

 

  หัวแร้งแก๊ส (Portable gas soldering)



หัวแร้งชนิดนี้เป็นชนิดที่ใช้แก๊สให้ความร้อนแทนการใช้ไฟฟ้า ดังนั้นจึงสะดวกสำหรับการพกพาไปใช้งานตามสภานที่ต่างๆ  หัวแร้งแก๊สจะให้ความร้อนได้สูงสุดประมาณ 1,300 องศาเซลเซียส หรือ 2,400 อา ศาฟาเรนไฮต์

หัวแรงแบบนี้สามารถปรับความร้อนได้ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่เราต้องการ โดยการใช้งานจะมีลักษณะเดียวกับเตาแก๊สในครัว กล่าวคือจะวาล์วใช้ เปิด ปรับ ปิด ปริมาณแก๊ส โดยหัวแร้งแก๊สมี 2 ลักษณะคือ หัวแร้งแก๊สแบบปากกาและแบบปืน

ข้อดี   : มีขนาดกระทัดรัด พกพาง่ายใช้งานสะดวกทุกสถานที่ สามารถใช้งานในลักษณะอื่นที่นอกจากการบัดกรีก็ได้
ข้อเสีย : การใช้หัวแร้งแก๊สนี้ ต้องใช้ความระมัดระวังพิเศษ และต้องเก็บรักษาไว้ในที่ๆ อุณหภูมิไม่สูงเกินไป โดยเฉพาะกระป๋องแก๊สสำหรับบรรจุแก๊ส


 
 *** หัวแร้งแก๊สเป็นหัวแร้งที่เหมะสำหรับงานนอกสถานที่ใช้เป็นครั้งคราว ต้องตรวจสอบก่อนใช้งานทุกครั้งเพราะอย่าลืมหัวแร้งตัวนี้ใช้แก๊ส อาจจะระเบิดได้



หัวแร้งไร้สายแบบใช้แบตเตอร์รี่ (Cordless Batteries Soldering Iron)

 


หัวแร้งที่ใช้แบตเตอรี่จะมีลักษณะคล้ายหัวแร้งแก๊ส  การนำไปใช้งานก็เหมือน ๆ กัน ต่างกันตรงที่ หัวแร้งที่ใช้แบตเตอรี่จะใช้ถ่าน AA 3 ก้อนซึ่งจะมีความปลอดภัยมากกว่าหัวแร้งแก๊ส



หัวแร้งที่ นำมาแนะนำนี้เป็นเพียงแค่บางส่วนซึ่งเป็นชนิดที่นิยมทั่วไปเท่านั้น ซึ่งไม่รวมถึงหัวแร้งบัดกรีที่ใช้ในงานเชื่อมประสานอื่นๆ เช่นหัวแร้งแบบหัวฆ้อน หรือแบบหัวแบน เป็นต้น

 

========================================================