Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,723
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,117
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,410
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,406
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,868
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,981
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,954
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,212
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,076
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,774
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,719
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,921
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,254
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,746
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,106
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,997
17 Industrial Provision co., ltd 39,795
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,744
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,651
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,985
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,926
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,271
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,689
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,422
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,923
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,918
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,286
28 AVERA CO., LTD. 23,039
29 เลิศบุศย์ 22,010
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,770
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,667
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,275
33 แมชชีนเทค 20,266
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,526
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,491
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,240
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,912
38 SAMWHA THAILAND 18,688
39 วอยก้า จำกัด 18,349
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,923
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,764
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,691
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,679
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,618
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,543
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,539
47 Systems integrator 17,103
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,050
49 Advanced Technology Equipment 16,878
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,844
18/07/2563 11:13 น. , อ่าน 58,315 ครั้ง
Bookmark and Share
ไตรแอก(TRIAC) คืออะไร
โดย : Admin

ไตรแอก(TRIAC) คืออะไร

 

 


ไตรแอค (TRIAC) ย่อมาจาก  Triode for Alternating Current  ป็นอุปกรณ์จำพวกสารกึ่งตัวนำในกลุ่มของไทริสเตอร์ มีลักษณะ โครงสร้างภายในคล้ายกับไดแอค แต่มีขาเกตเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ขา  ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไข ข้อบกพร่องของ SCR ซึ่งไม่สามารถนำกระแสในซีกลบของไฟฟ้าสลับได้


ไตรแอก (Triac) จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนกับสวิตช์ไฟฟ้าสำหรับกระแสสลับ แต่มีข้อดีกว่าสวิตช์ธรรมดา คือจำนวนการปิด – เปิดวงจร และความเร็วของการปิด-เปิดวงจร ซึ่งไตรแอคจะทำการปิด-เปิดได้เร็วกว่าสวิตช์ธรรมดาหลายเท่า  จึงทำให้สามารถควบคุมกำลังงานได้เป็นอย่างดี



โครงสร้างของไตรแอค  Triac construction

เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำที่มีขั้วต่อ 3 ขั้วหรือ 3 ขา คล้ายกับ SCR  โดยแต่ละขั้วมีชื่อเรียกดังนี้

   - ขาแอโนด 1 (A1,Anode1) เรียกว่า ขาเทอร์มินอล 1 (Main terminal 1) MT1
   - ขาแอโนด 2 (A2,
Anode2) เรียกว่า ขาเทอร์มินอล 2 (Main terminal 2) MT2
   - ขาเกท (Gate) G

 



 

การทำงานของไตรแอค

ไตรแอคสามารถทำงานได้ทั้งแรงดันช่วงบวกและแรงดันช่วงลบ การนำกระแสของไตรแอคจะขึ้นอยู่กับแรงดันที่ป้อนกระตุ้นขา G และแรงดันที่จ่ายให้ขา A2 และ A1 การจ่ายไบอัสให้ตัวไตรแอค สามารถแบ่งได้เป็น 4 สภาวะดังนี้

 

1.สภาวะที่ 1 หรือควอนแดรนด์ที่ 1 model 1 

จ่ายแรงดันบวกให้ขา A2 จ่ายแรงดันลบให้ขา A1 และ  จ่ายแรงดันบวกกระตุ้นขา G จะเกิดการนำกระแสในตัวไตรแอคดังรูป

ทิศทางการไหลของกระแสทั้งสองจะไหลในทิศทางเดียวกัน หรือกระแสไหลเสริมกัน ทำให้ IA ไหลมากขึ้น 

 2.สภาวะที่ 2 หรือควอนแดรนด์ที่ 2

จ่ายแรงดันบวกให้ขา A2 และจ่ายแรงดันลบให้ขา A1 แต่กระตุ้นหรือทริกที่ขา G ด้วยแรงดันลบ  ซึ่งจะเกิดการนำกระแสในตัวไตรแอคดังรูป
ส่วนทิศทางการไหลของกระแสทั้งสองจะไหลในทิศทางตรงกันข้ามกัน หรือกระแสไหลหักล้างกัน ทำให้ IA ไหลน้อยลง 

 3.สภาวะที่ 3 หรือควอนแดรนด์ที่ 3

จ่ายแรงดันลบให้ขา A2 และจ่ายแรงดันบวกให้ขา A1  แต่     จ่ายแรงดันลบกระตุ้นขา G จะเกิดการนำกระแสในตัวไตรแอคดังรูป

ทิศทางการไหลของกระแสทั้งสองจะไหลในทิศทางเดียวกัน หรือกระแสไหลเสริมกัน ทำให้ IA ไหลมากขึ้น 

  3.สภาวะที่ 3 หรือควอนแดรนด์ที่ 4

จ่ายแรงดันลบให้ขา A2 จ่ายแรงดันบวกให้ขา A1 แต่     จ่ายแรงดันบวกกระตุ้นขา G จะเกิดการนำกระแสในตัวไตรแอคดังรูป

ทิศทางการไหลของ กระแสทั้งสองจะไหลในทิศทางสวนทาง หรือกระแสไหลหักล้างกัน ทำให้ IA ไหลน้อยลง

 

 


คุณสมบัติเฉพาะของไตรแอค

1. โดยปกติถ้าไม่มีสัญญาณทริกที่เกต ไตรแอคจะไม่ทำงานโดย จะมีลักษณะเหมือนกับสวิตช์ที่ถูกเปิดวงจร

2. ถ้าในกรณีที่ MT2 และ MT1 ถูกป้อนด้วยแรงดันบวกและลบตามลำดับไตรแอคจะถูกกระตุ้นให้ทำงานได้โดยการป้อนสัญญาณพัลส์เพียงสั้น ๆ ที่เกตของมัน โดยจะมีแรงดันตกคร่อมตัวมัน มีค่าประมาณ 1 หรือ 2 โวลท์เท่านั้น และเมื่อไตรแอเคริ่มทำงานแล้ว ก็จะสามารถคงสภาพการทำงานอยู่เช่นนั้นต่อไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ยังมีกระแสไหลผ่านตัวมันอย่างต่อเนื่อง

3. การจะทำให้ไตรแอคหยุดนำกระแส ....ไตรแอคเมื่อนำกระแสแล้วจะไม่จำเป็นต้องคงค้างแรงดันที่จ่ายกระตุ้นขา G เพราะไตรแอค  จะนำกระแสต่อเนื่องได้เหมือนกับ SCR   การจะหยุดนำกระแสทำได้ 2 วิธีเหมือน SCR คือ
  
     1- ตัดแหล่งจ่ายแรงดัน VAC ที่ป้อนให้ขา A2 และขา A1 ของไตรแอคออกชั่วขณะ

     2- ลดปริมาณกระแสที่ไหลผ่านตัวมันลงให้มีค่าต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้ง (holding current) ของมัน

 ***  ในกรณีที่ใช้ไตรแอคในการจ่ายกระแส AC การหยุดทำงานจะเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ เมื่อแรงดันของไฟสลับเข้าใกล้จุดตัดศูนย์ที่เกิดขึ้นทุกๆครึ่งคลื่นซึ่งจะทำให้กระแสลดลงเป็นศูนย์


Triac I-V Characteristics Curves

 


4. ไตรแอคถูกกระตุ้นให้ทำงานได้ ทั้งสัญญาณแบบบวกและลบที่ป้อนให้แก่ขาเกต โดยไม่คำนึงถึงขั้วที่ต่ออยู่ที่ MT1 และ MT2

5. ไตรแอคสามารถทนการกระชากของกระแสได้สูง  ยกตัวเช่นโดย ไตรแอคที่ทนกระแสพิกัดปกติได้ 10 แอมแปร์ (rms) ก็สามารถทนการกระชากของกระแสในช่วงหนึ่ง คาบเวลาของไฟ 60 เฮิรตซ์ได้สูงถึง 100 แอมแปร์ เป็นต้น


การควบคุมเฟสของไตรแอค 

ไตรแอคสามารถนำกระแสในไฟสลับ ได้ 2 ซีก คือทั้งซีกบวกและซีกลบ  ในการควบคุมไฟสลับสามารถทำได้กับ ไฟสลับ 1 เฟส และ 3 เฟส

สำหรับการควบคุมแรงดันไฟสลับชนิดเฟสเดียว ถ้าใช้ไตรแอคควบคุมก็จะใช้เพียงไตรแอคตัวเดียว แต่ถ้าใช้ SCR  ก็จะต้องใช้ 2 ตัว ดังรูป


ตัวอย่างการใช้ SCR ควบคุมไฟฟ้ากระแสสลับ หรือเรียกว่า เฟสคอนโทรล (AC phase Control )
ซึ่งต้องใช้ SCR สองตัวต่อแบบ back to back


ตัวอย่างการใช้ Triac ในวงจรควบคุมแรงดันเอซี เฟสคอนโทรล (AC phase Control ) ใช้ไตรแอคเพียงตัวเดียว
 


การประยุกต์ใช้งาน


โดยทั่วไปไตรแอคไปใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ทำเป็นวงจรควบคุมการทำงานเป็นสวิตซ์ต่อแรงดันไฟสลับ  เช่นควบคุมการตัดต่อกระแสของฮีตเตอร์  ควบคุมความเร็วมอเตอร์แบบ 1 เฟส และควบคุมหลอดไฟเพื่อปรับแสงสว่าง  ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานกับกระแสสูง ๆ ดังนั้นสิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่งก็คือเรื่องของการระบายความร้อน


ตัวอย่าง โชลิตสเตทรีเลย์ที่พัฒนาจากไตรแอค ใช้สำหรับควบคุมฮีตเตอร์ ควบคุมระบบทำความร้อนในอุตสาหกรรม



ตัวอย่างไตรแอคที่ใช้ในวงจรหรี่ไฟ หรือ dimmer

========================================================