Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,985
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,990
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,782
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,350
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,588
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,384
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,214
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,134
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,630
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
06/05/2563 07:36 น. , อ่าน 14,991 ครั้ง
Bookmark and Share
การช่อมพัดลมตั้งโต๊ะ
โดย : Admin

หลักการทำงาน การบำรุงรักษา และการซ่อมบำรุง

 
พัดลมไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากจะช่วยคลายความร้อนจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวแล้ว หลักการของพัดลมไฟฟ้ายังเป็นส่วนหนึ่งของระบบระบายความร้อน ที่ถูกใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จนถึงระบบระบบความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

 

 

การทำงานของพัดลมตั้งโต๊ะ
พัดลมจะทำงานได้เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ และเมื่อกดปุ่มเลือกให้ลมแรงหรือเร็วตามที่ผู้ใช้ต้องการ กระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ตัวมอเตอร์ ทำให้แกนมอเตอร์หมุน ใบพัดที่ติดอยู่กับแกนก็จะหมุนตามไปด้วยจึงเกิดเป็นลมพัดออกมา

 

 

 

เมื่อกดสวิทซ์เบอร์ 1 กระแสไฟฟ้าไหลจากสาย ไลท์ผ่านฟิวส์ไหลเข้าแคปสตาร์ทออกมาเข้าขดลวดสตาร์ท  L 1      เมื่อกระแสไหลออกจากขดลวด L1 ไหลไปผ่านสวิทซ์ S1 (สวิทซ์เบอร์ 1 ) ไปครบวงจรที่นิวตรอน ในจังหวะนี่เองที่ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน มอเตอร์จะเริ่มหมุนไปเรื่อยๆจนถึงประมาณ 70% จึงเริ่มอยุดการทำงาน กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านขดลวด MAIN COIL ( ขดรัน ) ไหลผ่านผ่าน L3 และ L2 ผ่านสวิทซ์ S1 ไปครบวงจรที่นิวตรอน พัดลมจึงหมุนต่อเนื่องไปที่ความเร็วเบอร์ 1 ซึ่งเป็นความเร็วที่ช้าที่สุด (เนื่องจากกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวด MAIN COIL L3 และ L2 ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานมากที่สุด กระแสจึงไหลได้น้อย ความเร็วในการหมุนจึงน้อยลงไปด้วย )

 



 

เมื่อกดเบอร์2   กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขดลวด MAIN COIL และ L3 ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานน้อยกว่าการกดเลือกที่เบอร์ 1   กระแสจึงไหลได้มากขึ้นซึ่งความเร็วในการหมุนก็เพิ่มไปด้วย

และเมื่อกดสวิทซ์เบอร์3   กระแสจะไหลผ่านเฉพาะขดลวด MAIN COIL เพียงอย่างเดียว ทำให้ขดลวดชุดนี้มีความต้านทานน้อยที่สุดกระแสจึงไหลได้มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเบอร์ 1 และเบอร์ 2  ความเร็วในการหมุนจึงมากที่สุด


อ้างอิง  https://pantip.com/topic/35372340



 

การบำรุงรักษาเเละข้อควรระวัง


การบำรุงรักษาพัดลมตั้งโต๊ะ 

หมั่นทำความสะอาดตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะใบพัด และตะแกรงครอบใบพัด อย่าให้ฝุ่นละอองเกาะจับ และดูแลให้มีสภาพดีอยู่เสมอ อย่าให้แตกหักหรือชำรุด หรือโค้งงอผิดส่วน จะทำให้ลมที่ออกมามีความแรงหรือความเร็วลดลง

หมั่นทำความสะอาดช่องลมบริเวณฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบายความร้อนของมอเตอร์ อย่าให้มีคราบน้ำมันหรือฝุ่นละอองเกาะจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของมอเตอร์ลดลง และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

ทำความสะอาดมอเตอร์พัดลม เนื่องจากฝุ่นละอองมีโอกาสเข้าไปในมอเตอร์พร้อมกับลมได้ ถ้ามีรูหยอดน้ำมันก็ควรหยอดน้ำมันทุก ๆ 6 เดือน ถ้าพัดลมสั่นเนื่องจากความไม่สมดุลควรแก้ไขทันที เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ บูช เสียเร็วขึ้น


วิธีการบำรุงรักษาที่เหมาะสมและถูกวิธีในแต่ละกรณี

1.กรณีที่ไม่สกปรกมาก ให้ถอดตะแกรงแล้วใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำบิดให้หมาด ๆ  เช็ดตะแกรงด้านนอกและด้านในของพัดลม

 




2.ถ้าฝุ่นละอองและหยากไย่เกาะ มีคราบน้ำมันหรือความชื้นมาก ให้ใช้แปรงทำความสะอาด

 

 

 

 

3.กรณีที่มีฝุ่นเกาะอยู่ในที่ลึก ผ้าและแปรงปัดออกไม่หมด หรือมีชิ้นส่วนปิดบังให้ใช้ลูกยางเป่า




 

4.กรณีที่สกปรกมาก  ควรถอดชิ้นส่วนทั้งหมดออกตั้งแต่ฝาตะแกรงครอบด้านนอก ปุ่มยึดใบพัดกับแกน ใบพัด ฝาตะแกรงครอบด้านใน นำไปล้างในอ่างน้ำหรือถังน้ำ แล้วแช่น้ำในผงซักฟอก น้ำยาเช็ดทำความสะอาด ล้างด้วยน้ำสะอาด นำผึ่งให้แห้งแล้วประกอบเข้าที่เดิม

 
 

 



ข้อควรระวังในการใช้พัดลมตั้งโต๊ะ

- ดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้ง ก่อนถอดประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆของพัดลม
- ไม่ควรตั้งพัดลมในที่ที่เปียกน้ำ หรือในที่ที่มีอุณหภูมิสูงมาก ๆ เช่น ในบริเวณที่ใกล้เตาไฟ
- ขณะที่ใบพัดลมกำลังหมุนห้ามใช้นิ้วมือหรือสิ่งของต่าง ๆ แหย่เข้าไปในตะแกรงพัดลม


วิธีใช้พัดลมเพื่อให้ประหยัดพลังงาน

- ควรใช้พัดลมตั้งพื้นหรือตั้งโต๊ะแทนพัดลมติดเพดานเพราะจะกินไฟน้อยกว่าพัดลมติดเพดาประมาณครึ่งหนึ่ง
- อย่าเปิดพัดลมทิ้งไว้เมื่อไม่มีคนอยู่
- เมื่อเลิกใช้แล้วควรปิดพัดลมและถอดปลั๊กออก
- ปรับระดับความเร็วลมพอสมควร
- เลือกขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- ควรเปิดหน้าต่างใช้ลมธรรมชาติแทนถ้าทำได้


การประกอบชิ้นส่วนของพัดลมตั้งโต๊ะ

      สิ่งที่ถอดมาทีหลังให้นำใส่เข้าก่อน สังเกตสัญลักษณ์พวกลูกศร ปุ่มล็อกต่าง ๆ ให้ดี ดังภาพประกอบ

 
อ้างอิง http://119.46.166.126/self_all/selfaccess7/m1/527/lesson3/lesson.php

 

 

 


อาการ สาเหตุ แนวทางแก้ไข

 

อาการ

สาเหตุ

แนวทางการแก้ไข

1.พัดลมไม่หมุน

   ·  มอเตอร์เสีย

   ·  สายไฟขาด

· ให้เปลี่ยนแกนใหม่ แล้วก็เปลี่ยนบุชหน้าหลัง
· เปลี่ยนสายไฟ AC

2.พัดลมหมุนช้า

  · Capacitorเสื่อมสภาพ

· เปลี่ยนตัว Capacitor ที่ทำงานกับมอเตอร์

3.มอเตอร์ของพัดลมมีเสียงดัง

· บุชหลวม ทำให้พัดลมมีอาการสั่น

· แกะบุชออกและทำความสะอาด

4.อาการฝืด

· แกนและบุชมีระยะเวลาการใช้งานที่นานแล้วมันจึงมีอาการสึกจนฝืด

· ควรเปลี่ยนทั้งแกนและบุช วิธีเช็คดูลองเอาน้ำมันหยอดก่อน

 

5. ใบพัดของพัดลมแตก

· ตัวฝาเกลียวล็อคใบพัดมันคลายตัวหรือ ลวดตะแกรงฝาครอบ มีบางส่วนบิดงอ

· ซื้อใบพัดลมใหม่มาเปลี่ยน

 



 
ซ่อมแซมจุดที่ชำรุดเบื้องต้น  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ประกอบ 4 ขั้นตอน ดังนี้


ขั้นตอนที่ 1 
  - การสังเกต   ตรวจดูพัดลมที่ไม่หมุน พบว่า สายไฟเป็นรอยหักและที่ปลั๊กเสียบ  จากการสังเกตจะพบสายไฟที่ต่อภายในดูไม่แน่นขยับได้
 



ขั้นตอนที่ 2  การวิเคราะห์
  - ตำแหน่งที่สายมีรอยหักสายไฟภายในอาจหักชำรุด 


ขั้นตอนที่ 3  สร้างทางเลือกเพื่อการซ่อมแซม
   - แสดงการต่อสายไฟแบบหางหมูพร้อมการบัดกรีด้วยหัวแร้ง 

 
ขั้นตอนที่ 4  ประเมินทางเลือก
   - เมื่อพบว่าสายไฟที่ขั้วยึดปลั๊กเสียบคลายตัว ได้ทำการซ่อมแซมพันสายไฟที่ขั้วปลั๊กเสียบด้วยการใช้ไขควงขันให้แน่น   ส่วนรอยหักที่สายไฟได้ทำการซ่อมแซมต่อเชื่อมพันสายบัดกรีจนแน่น พร้อมพันสายไฟด้วยเทปแน่นสนิท
    

แสดงการซ่อมแซมบัดกรีสายไฟที่ขาดใน พร้อมพันเทปรอบรอยต่อ ป้องกันอันตรายเมื่อใช้งาน

การตรวจสอบสภาพทั่วไป ของความเร็วของพัดลมและการส่ายปรับทิศทางลม ดังนี้

การปรับความเร็วลม

    -  เริ่มต้นใช้งาน กดปุ่มใดปุ่มหนึ่ง (1 2 หรือ 3) ตามต้องการ
    -  กดปุ่มเบอร์ 0   เมื่อต้องการเลิกใช้งาน หรือหยุดการทำงาน
    - กดปุ่มเบอร์ 1   เมื่อต้องการลมอ่อน
    - กดปุ่มเบอร์ 2   เมื่อต้องการลมแรงปานกลาง
    - กดปุ่มเบอร์ 3   เมื่อต้องการลมแรง

การปรับส่ายซ้ายขวา
    - กดปุ่มควบคุมการส่ายลง พัดลมจะ ทำการส่าย
    - ดึงปุ่มควบคุมการส่ายขึ้น พัดลมจะหยุด ส่าย

 
การปรับทิศทางลม

   - สามารถปรับทิศทางลมขึ้น – ลง  ซ้าย – ขวา โดยการปรับที่ส่วนของมอเตอร์

 

 

อ้างอิง https://www.sanook.com/home/10449/ /  อ้างอิง https://pantip.com/topic/33408587

========================================================