Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,771
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,463
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,509
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,345
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,447
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,128
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,518
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,224
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,852
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,947
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,684
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,380
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,139
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,898
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,327
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,207
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,711
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,455
50 Advanced Technology Equipment 16,442
21/04/2563 07:06 น. , อ่าน 14,407 ครั้ง
Bookmark and Share
Control Valve คืออะไร
โดย : Admin

Control Valve คืออะไร มาทำความรู้จักกัน

 

วาล์วควบคุม หรือ Control Valve  เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม  โดยทั่วไปแล้วในโรงงานต่าง ๆ จะมีลูปในการควบคุมหรือ Control Loop อยู่มากมายหลายพันตัว  ซึ่งในแต่ละลูปก็จะมีการเซ็ตค่าไว้อย่างเช่น การไหล แรงดัน เลเวล  และอุณหภูมิ มันจะรับสัญญาณจากภายนอกและจะสร้างสัญญาณ  เราจึงจำเป็นที่จะต้องลดสัญญาณรบกวนเหล่านี้ด้วย Control Valve

การลดผลกระทบที่ว่ามานี้ไม่ว่าจะเป็นส่วนของเซนเซอร์  ทรานสมิตเตอร์ที่จะหน้าที่รวบรวมข้อมูลและส่งสัญญาณไปในตัวควบคุม  เพื่อที่จะนำค่าที่วัดได้ไปเทียบกับค่าที่เราเซ็ตเอาไว้  หลังจากนั้นก็จะทำการส่งสัญญาณไปยัง Final Control Element  เพื่อจะคงสภาพค่าที่ตั้งไว้     โดยอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ว่าคือวาล์วควบคุม หรือ Control Valve ซึ่งมันจะไปควบคุมการไหลของแก๊ส ไอน้ำ ของเหลว และสารเคมีต่าง ๆ

ชุดของวาล์วควบคุมทั่วไปจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆดังนี้

 

  1. ชุดบอดี้

  2. Trim Set (Plug Stem Seat Ring)

  3. Actuator

  4. Accessories



     


 

***** Control Valve เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมาก ในการแปรกระบวนการต่าง ๆ ให้ได้ค่าที่คงทีอยู่เสมอ และวาล์วควบคุมกับฟลูอิดจะสัมผัสกันโดยตรง จึงจำเป็นต้องใส่ใจในการเลือก Control Valve ให้เหมาะสมด้วย




ตัวควบคุมตำแหน่งวาล์ว (Valve Positioner)

การที่เราจะใช้วาล์วในการควบคุมการ ปิด-เปิด นั้นจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมเช่น Valve Positioner ควบคุมร่วมกันกับวาล์ว โดยใช้สัญญาณไฟฟ้าแบบบ อนาลอก 4-20 mAdc   แต่ถ้าเป้นวาล์วควบคุมบางประเภทที่ใช้การควบคุมแบบระบบพลังงานลม ก็จะต้องมีตัวแปลสัญญาณอนาลอกให้เป็นสัญญาณลมก่อนเรียกกันว่า I-To-P Converter ซึ่งเป็นอุปกรณ์แบบ Open Loop Control    แต่ข้อเสียคือในการทำงานนั้นเราจะไม่มีทางรู้แน่ชัดเลยว่าวาล์วที่ทำงานอยู่ในขณะนั้นเปิดตามตำแหน่งที่ตั้งเอาไว้จริงหรือไม่
 

ในปัจุบันการพัฒนาวาล์วแบบใหม่จะเป็นแบบป้อนกลับ (Feedback Control) การทำงานเบื้องต้นคือจะตรวจจับค่าตำแหน่งของก้านวาล์ว (Valve Positioner) ซึ่งจะมีคุณสมบัติดังนี้

- ทำให้วาล์วควบคุมทำงานตามค่าของสัญญาณควบคุมได้ถูกต้อง
- ทำให้วาล์วควบคุมทำงานตามการตอบสนองของสัญญาณได้รวดเร็วขึ้น
- ทำให้วาล์วควบคุมรักษาเสถียรภาพของกระบวนการ
- ทำให้วาล์วควบคุมทำงานตามเงื่อนไขของระบบควบคุม

 

ตัวอย่างอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่

1. Pneumatic-Pneumatic Valve Positioner (P/P Positioner)
       หลังจากที่ Pneumatic Signal Standard (3 – 15 psi) ได้รับการยอมรับให้มีการใช้งานในระบบกระบวนการอัตโนมัตินั้น Pneumatic Valve Positioner ก็ได้มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในงาน เพราะ Reliability ที่สูงและการซ่อมบำรุงรักษาที่ทำได้ง่าย โดย Pneumatic Valve Positioner จะรับสัญญาณโดยตรงมาจาก Pneumatic Controller หรือสัญญาณ 4 – 20 mA จาก DCS (Distributed Control System) และผ่านตัวแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นลม Electric-Pneumatic Converter1.1)

คุณสมบัติ

– มีโครงสร้างการทำงานที่ไม่ซับซ้อน
– มีความไวในการตอบสนองต่อสัญญาณและเสถียรภาพที่สูง สามารถทำงานได้แม้ว่าหน้างานจะมีการสั่นสะเทือน
– ง่ายในการซ่อมบำรุงรักษา เนื่องจากมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน
– สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานระหว่าง Direct/Reverse action ได้โดยไม่จำเป็นต้องไปยุ่งเกี่ยวกับหัว Actuator
– สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่อันตรายได้ เนื่องจากอุปกรณ์ทำจากวัสดุที่ทนการกัดกร่อน
– สามารถทำการปรับเปลี่ยน Characteristics ระหว่าง สัญญาณ กับ Valve Travel ได้ง่ายไม่ว่าจะเปลี่ยนเป็น Linear, Equal Percentage หรือ Quick-Opening โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนที่ตัววาล์วควบคุม
 

โครงสร้างและการทำงานพื้นฐาน
สัญญาณลมที่รับมาจากอุปกรณ์ควบคุม จะทำหน้าที่ผลักให้แผ่นไดอะแฟรมของ Pilot Valve เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อน Pilot stem

 

2. Analog Electro-Pneumatic ValvePositioner (E/P Positioner)

ในช่วงปี 1970 สัญญาณไฟฟ้าถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้เป็นสัญญาณมาตรฐาน โดยที่สัญญาณ 4 – 20 mA เป็นมาตรฐานสากลสำหรับสัญญาณไฟฟ้า ตัวควบคุม (Controller) ส่วนใหญ่ (รวมถึง DCS) จะส่งสัญญาณ 4 – 20 mA ไปที่วาล์วควบคุม โดยที่ตัว Valve Positioner จะรับสัญญาณมาและแปลงเป็นพลังงานลมที่จะไปขับเคลื่อนตัวหัว Actuator ต่อไป

ในปี 1984 ตั้งแต่เริ่มมีการพัฒนาตัวอุปกรณ์ Transmitter ให้ควบคุมการทำงานด้วยไมโครโปรเซสเซอร์นั้น อุปกรณ์ที่อยู่ในระบบควบคุมก็เริ่มมีการใช้งานด้วยไมโครโปรเซสเซอร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงตัว Valve Positioner

โดยหลักการทำงานจะอยู่ในระบบดิจิตอลซึ่งมีความสะดวกในการใช้งานเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการปรับเทียบและสอบเทียบซึ่งจะประกอบไปด้วยโครงสร้างที่เป็นทั้ง Hardware และ Software โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. SVP Function Block Diagram
2. GAP PID Control Algorithm
3. Auto Setup
 

โครงสร้างที่เป็นทางด้าน Hardware

1. Pneumatic Circuit EPM/Pilot Relay/Auto Manual Switch
2. VTD (Valve Travel Detector)
3. Electronic Module
4. Reversing Relay

 

 

อ้างอิง

1. Practical Handbook of Control Valves – Azbil Corporation

2. Control Valve วาล์วควบคุม – รศ.ประสิทธิ์ จุลเสรีวงศ์, ศรีนคร นนทนาคร

 

========================================================