Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 173,722
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 172,605
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,012
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 171,571
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 169,495
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 168,527
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 167,521
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 166,700
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 158,921
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 157,496
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 157,337
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 156,531
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 66,431
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 61,061
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 48,513
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 42,640
17 Industrial Provision co., ltd 38,305
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 37,401
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 35,348
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 33,343
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 32,550
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 30,894
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 30,295
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 29,945
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 26,783
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 25,697
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,210
28 AVERA CO., LTD. 21,838
29 เลิศบุศย์ 21,035
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 19,581
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 19,494
32 แมชชีนเทค 19,213
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,043
34 มากิโน (ประเทศไทย) 18,497
35 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 18,469
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,062
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 17,905
38 SAMWHA THAILAND 17,599
39 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 16,762
40 วอยก้า จำกัด 16,690
41 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 16,620
42 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 16,620
43 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 16,495
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 16,420
45 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 16,399
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 16,104
47 Systems integrator 15,972
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 15,876
49 Advanced Technology Equipment 15,694
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 15,661
21/04/2563 05:50 น. , อ่าน 4,459 ครั้ง
Bookmark and Share
RS485 คืออะไร
โดย : Admin

RS485 คืออะไร ทำงานอย่างไร

 

 

RS485 ( Recommended Standard no. 485) คือมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลดิจิตอลแบบอนุกรม (serial communication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1998 โดยความร่วมมือของ TIA (Telecommunications Industry Association) และ EIA (Electronic Industries Association) มาตรฐาน RS485 ถูกใช้อย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถส่งสัญญาณได้ไกลและยังสามารถส่งพร้อมๆกันได้หลายจุด
 

ปกติแล้ว EIA จะตั้งชื่อมาตรฐานของตัวเองโดยการใช้คำนำหน้าว่า "RS" (Recommended Standard) แต่เนื่องจากมาตรฐานนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน คือ TIA และ EIA ทั้งสองหน่วยงานจึงตกลงเปลี่ยนจากคำว่า "RS" เป็น "TIA/EIA" แทนอย่างเป็นทางการ เพื่อระบุถึงแหล่งที่มาของมาตรฐานอย่างชัดเจน โดยต่อมาทาง EIA ก็ได้ยกเลิกมาตรฐานนี้และมาตรฐาน RS485 นี้ก็ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันโดย TIA ทำให้มาตรฐาน RS485 ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "TIA-485" อย่างเป็นทางการ แต่สุดท้ายเพราะความเคยชินทำให้วิศวกรทั่วโลกยังเรียกมาตรฐานการสื่อสารนี้ว่า RS485 เหมือนเดิม

 

 

หลักการทำงานของ RS485

มาตรฐาน RS485 เป็นมาตรฐานที่รับ/ส่งข้อมูลในแบบที่เรียกว่า Half duplex คือสามารถรับและส่งข้อมูลได้ทีละอย่างเท่านั้นไม่สามารถทำทั้งสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน ถ้าจะให้พูดแล้วเห็นภาพก็คงคล้ายๆลักษณะของวิทยุสื่อสารที่ต้องคอยสลับกันพูดทีละครั้ง



 

สำหรับการรับ/ส่งข้อมูลดิจิตอลแบบ RS485 นั้น จะส่งข้อมูลโดยใช้สายไฟเพียงแค่ 2 เส้นคือ A และ B เป็นตัวบอกค่ารหัสดิจิตอล(Digital code) โดยใช้ความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้ว A และ B เป็นตัวบอกดังนี้

  • เมื่อ Va - Vb ได้แรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า -200 mV คือสัญญาณดิจิตอลเป็น 1

  • เมื่อ Va - Vb ได้แรงดันไฟฟ้ามากกว่า +200 mV คือสัญญาณดิจิตอลเป็น 0


 

หลักการทำงานของ RS485 แบบ NETWORK

มาตรฐาน RS485 สามารถเชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลแบบเครือข่าย (Network) โดยมีอุปกรณ์ในเครือข่ายได้สูงสุดถึง 32 ตัว ซึ่งในเครือข่ายนั้น จะต้องมีอุปกรณ์อยู่ 1 ตัว ทำหน้าที่คอยจัดคิวการสื่อสารในเครือข่าย ซึ่งเราจะเรียกอุปกรณ์ตัวนี้ว่า "Master" และอุปกรณ์ส่วนที่เหลือเราจะเรียกว่า Slave


โดยที่ Slave แต่ละตัวจะมีหมายเลข Address ของตัวเอง และเมื่อตัว Master ต้องการสั้งการตัว Slave ตัว Master จะส่งชุดคำสั่งพร้อมระบุหมายเลข Address ไปยังอุปกรณ์ Slave ทุกตัว เมื่ออุปกรณ์ Slave ได้รับคำสั่งและคำสั่งนั้นมีหมายเลข Address ตรงกับตัวเอง อุปกรณ์ Slave ถึงจะทำตามคำสั่งของ Master เป็นลำดับไป

จำนวนอุปกรณ์สูงสุดในเครือข่าย RS485
นี่เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ผู้ใช้หน้าใหม่สงสัยมากที่สุดในโลก หากตามมาตรฐานแล้ว เครือข่าย RS485 สามารถมีอุปกรณ์ในระบบได้สูงสุด 32 ตัว เมื่ออุปกรณ์เหล่านั้นมีความต้านทานไฟฟ้าภายใน 12 kΩ  แต่ปัจจุบันการออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนาจนมีความต้านทานไฟฟ้าภายในที่สูงมาก (ในหลัก MΩ) ซึงทำให้เครือข่าย RS485 สามารถมีอุปกรณ์ในระบบได้สูงสุดถึง 256 ตัว นอกจากนี้เครือข่าย RS485 ยังสามารถใช้ตัวขยายสัญญาณ (Repeater) สำหรับเพิ่มอุปกรณ์ในเครือข่ายได้ถึงหลายพันตัวและครอบคุมระยะหลายกิโลเมตรกันเลยทีเดียว


ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของ RS485
ตารางนี้เป็นตารางการเปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆของ RS485, RS232, RS423 และ RS422

 


ข้อดีของสัญญาณ RS485

เป็นที่ทราบกันดีว่า RS485 เป็นมาตรฐานที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อลบจุดด้อยของมาตรฐานรุ่นเก่าๆ อย่าง RS232 RS422 RS423 เป็นต้น ซึ่งข้อดีหลักๆของมาตรฐาน RS485 มีดังนี้

สามารถส่งสัญญาณได้ไกล
RS485 สามารถส่งสัญญาณได้ไกลสูงสุดถึง 1,200 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นระยะทางที่ไกลมาก เพียงพอต่อการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแน่นอนและจะเห็นได้ชัดว่าระยะการส่งสัญญาณได้ถูกพัฒนาขึ้นมากจนทิ้งห่างมาตรฐานรุ่นเก่าอย่าง RS232 ที่สามารถส่งสัญญาณได้เพียง 15 เมตร เท่านั้น

สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายได้
นอกจากจะส่งสัญญาณได้ไกลแล้ว RS485 ยังสามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย (Network) แบบ Multipoint ได้ด้วย ซึ่งสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ในระบบได้สูงสุดถึง 32 ตัว ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของสัญญาณ RS485 เลยทีเดียว

ประหยัดงบประมาณในการเดินสาย
มาตรฐาน RS485 เป็นมาตรฐานที่ใช้สายไฟเพียง 2 เส้นในการรับส่งข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานรุ่นเก่าที่สามารถส่งสัญญาณในระยะเท่ากันอย่าง RS422 ที่ต้องใช้สายไฟถึง 4 เส้นในการรับส่งข้อมูล ซึ่งราคาสายเคเบิลแบบ 2 แกน จะถูกกว่าสายเคเบิลแบบ 4 แกน ถึงเกือบครึ่ง ในความเป็นจริงแล้วเรื่องงบประมาณถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของ RS485 เลยทีเดียว
 

ข้อเสียของสัญญาณ RS485
ถึงแม้ RS485 จะเป็นมาตรฐานที่ถูกพัฒนาขึ้นจนลบข้อด้อยที่มีอยู่ในมาตรฐานเก่าๆไปมากแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียอยู่เลย โดยข้อเสียหลักๆของ RS485 มีดังนี้

ต้องใช้ตัวแปลงสัญญาณในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่นั้นไม่มี port เชื่อมต่อสัญญาณ RS485 โดยตรง จะมีก็แต่ USB หรือ RS232 เท่านั้น ฉนั้นหากเราจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ใช้ RS485 กับคอมพิวเตอร์นั้น เราต้องเสียงบประมาณเพิ่มขึ้นในการซื้อตัวแปลงสัญญาณ (Converter) เพื่อแปลงสัญญาณจาก RS485 เป็น USB หรือ RS232 ในการเชื่อมต่อนั้นเอง

ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
ถึงแม้ RS485 จะถูกพัฒนาด้านความเร็วในการรับส่งข้อมูลขึ้นมากแล้วก็ตามเมื่อเทียบกับมาตรฐานเก่า แต่ก็ยังมีความล่าช้าอยู่เมื่อเชื่อมต่อในลักษณะเครือข่ายจำนวนมากๆ



Cr:  https://www.omi.co.th



นายเอ็นจิเนียร์ขอสงวนสิทธิ์รับรองความถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูล


 ลิงค์ช่องยูทุปของ 9engineer.com => คลิก=> technology talk
 
ขอกำลังใจจากเพื่อนๆสมาชิกช่วยสนับสนุนด้วยการกดซับสไคร์ กดกระดิ่งติดตาม กดไลค์และกดแชร์ด้วยครับ

2 June 2023
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS