Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,366
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,518
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,934
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,688
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,413
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,491
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,456
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,764
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,251
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,387
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,308
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,450
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,490
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,072
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,421
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,496
17 Industrial Provision co., ltd 39,162
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,320
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,240
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,384
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,800
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,156
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,904
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,521
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,460
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,890
28 AVERA CO., LTD. 22,535
29 เลิศบุศย์ 21,635
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,318
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,186
32 แมชชีนเทค 19,836
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,804
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,128
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,080
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,551
38 SAMWHA THAILAND 18,238
39 วอยก้า จำกัด 17,828
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,416
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,242
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,187
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,139
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,079
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,006
47 Systems integrator 16,656
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,576
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,398
50 Advanced Technology Equipment 16,383
15/10/2562 18:53 น. , อ่าน 2,915 ครั้ง
Bookmark and Share
พลังและความสำคัญของเทคโนโลยีการรับสัมผัส
โดย : Admin



โดย เจมส์ เทย์เลอร์ ผู้จัดการทั่วไป ออนโรบอท เอเชียแปซิฟิก
 


 เจมส์ เทย์เลอร์

อุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์หรือ End-of-Arm Tooling (EOAT) คือหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ในขณะที่เทคโนโลยีการหยิบจับที่ยืดหยุ่นมีการพัฒนาไปอย่างมากในการหยิบและวางวัตถุต่าง ๆ เทคโนโลยีการรับสัมผัสก็ได้รับการเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมแรงกระทำ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถวางและกำหนดตำแหน่งวัตถุต่าง ๆ ได้อย่างเที่ยงตรง ความสามารถด้านการรับสัมผัสในเซ็นเซอร์รับแรงกระทำ/แรงบิดและเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุใกล้เคียงขั้นสูง ยังช่วยให้หุ่นยนต์สามารถกำหนดเป้าหมายของวัตถุอย่างเหมาะสม ผ่านการใช้แรงกระทำที่เหมาะสมได้

นับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการใช้งานที่หลากหลายของอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ ทั้งในส่วนอุปกรณ์การหยิบจับ เซ็นเซอร์ เครื่องเปลี่ยนอุปกรณ์ การควบคุมผ่านการมองเห็น ฯลฯ เพราะการผสมผสานรูปแบบการทำงานของเครื่องมือที่หลากหลายเหล่านี้ก่อให้เกิดมูลค่าที่จำเป็นของระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรม ตัวเซ็นเซอร์ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถกำหนดรูปแบบการผสมผสานอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ที่เหมาะสมในการผลิตเฉพาะทางได้ ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะพยายามใช้อุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์แบบก้านเดี่ยวเพื่อรับมือกับงานทุกประเภท เครื่องเปลี่ยนอุปกรณ์สามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ ง่ายขึ้นได้ด้วยการเปลี่ยนชนิดตัวหยิบจับได้อย่างรวดเร็ว และเซ็นเซอร์ยังช่วยให้ตัวหยิบจับสามารถกำหนดตำแหน่งเส้นทางลำเลียงที่จะไม่เกิดการชนกันได้อีกด้วย

การให้ข้อมูลแก่ผู้ถือประโยชน์เกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ถือว่ามีความสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมในการสร้างผลกำไรให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีการยอมรับอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์อย่างมาก โดยกว่า 90% ของผู้นำธุรกิจในภูมิภาคนี้เห็นพ้องว่า การใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพของการดำเนินงานอุตสาหกรรมให้ดีเยี่ยมยิ่งขึ้น

เซ็นเซอร์เสริมระบบอัตโนมัติเพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์
ระบบการทำงานร่วมกับมนุษย์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีการปรับแต่งที่ซับซ้อนเพื่อการทำงานกับวัตถุต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการกำหนดตำแหน่งของรายการวัตถุต่าง ๆ อย่างถูกต้อง การทำงานบนเส้นทางลำเลียงที่จะไม่เกิดการชนกัน การควบคุมแรงกระทำและการบริหารปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างหุ่นยนต์กับสภาพแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน โดยเทคนิคการรับสัมผัสแบบใหม่ล่าสุดในเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุใกล้เคียงและเซ็นเซอร์รับแรงกระทำ/แรงบิด ช่วยให้อุปกรณ์หยิบจับสามารถโยกย้ายวัตถุได้โดยปราศจากการชนและความเสียหาย ทั้งยังช่วยให้อุปกรณ์หยิบจับสามารถจับยึดวัตถุต่าง ๆ ได้ด้วยแรงที่เหมาะสม ดังนั้น จึงสนับสนุนการทำงานร่วมกับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี

 

เซ็นเซอร์ทำงานเหมือนกับอุปกรณ์ระบุตำแหน่ง (GPS) โดยจะทำหน้าที่นำทางระบบอัตโนมัติเพื่อให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ในรูปแบบใหม่ เซ็นเซอร์จะเป็นเสมือนอินเตอร์เฟซระหว่างวัตถุและสภาพแวดล้อม เพื่อมอบการตอบสนองบนพื้นฐานของผลลัพธ์งานที่ถูกกำหนดมา ซึ่งการทำงานในรูปแบบนี้พบได้มากในระบบอุตสาหกรรมหลากหลายสาขา ซึ่งทั้งกำลังการผลิตและคุณภาพของสินค้า ไปจนถึงความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย ล้วนขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเซ็นเซอร์บนอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ทั้งสิ้น เซ็นเซอร์ของออนโรบอตมาพร้อมกับชุดควบคุมแรงกระทำ โดยทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จะทำงานส่งเสริมกันและกัน จึงสามารถนำไปใช้งานได้อย่างง่ายดายและลดต้นทุนในธุรกิจ

ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่การใช้งานในอุตสาหกรรมมีอัตราเพิ่มมากขึ้น และอุปสงค์ต่อการออกแบบและเทคนิคของเซ็นเซอร์รูปแบบใหม่ก็กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รายรับต่อปีทั่วโลกจากการจำหน่ายเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุใกล้เคียง (Proximity Sensors) มีมูลค่ามากกว่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปลายปี ค.ศ. 2017 จากข้อมูลของ Persistence Market Research  โดยคาดการณ์ว่า ตลาดเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุใกล้เคียง (Proximity Sensors) และเซ็นเซอร์ตรวจจับระยะทาง (Displacement Sensor) ในเอเชียแปซิฟิกจะมีมูลค่าสูงถึง 1.8 พันล้านดอลลาร์ภายในปี ค.ศ. 2020 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (Compound Annual Growth Rate - CAGR) ราว 10.2%  เนื่องจากภูมิภาคนี้กำลังเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 


เซ็นเซอร์ขั้นสูงที่เปลี่ยนโฉมระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรมสมัยใหม่

เซ็นเซอร์ช่วยตรวจจับตัวแปรต่าง ๆ เช่น แสง อุณหภูมิ และจุดการชนปะทะ ซึ่งนี่ถือเป็นหน้าที่การทำงานที่สำคัญที่ช่วยให้งานของระบบอัตโนมัติประสบความสำเร็จ และเนื่องจากมันมีความสำคัญมาก เซ็นเซอร์จึงถูกนำไปใช้งานในหลายรูปแบบกับระบบอัตโนมัติเพื่ออุตสาหกรรมในปัจจุบัน เนื่องจากคุณสมบัติของมันมีความหลากหลายและสารพัดประโยชน์มาก ธุรกิจจึงสามารถเลือกใช้งานทั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิ เซ็นเซอร์ตรวจจับแรงดัน เซ็นเซอร์ระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาค (MEMS Sensor) เซ็นเซอร์ตรวจจับแรงบิด เซ็นเซอร์ตรวจจับตำแหน่งและวัตถุใกล้เคียง และเซ็นเซอร์ตรวจจับการเปล่งแสง และอื่น ๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน

เทคโนโลยีรับสัมผัสที่เป็นนวัตกรรมใหม่เหล่านี้ ทำให้งานที่เคยเป็นไปไม่ได้ในอดีตกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์หยิบจับรุ่นเก็คโกของออนโรบอต (OnRobot’s Gecko Gripper) ซึ่งใช้เซ็นเซอร์ขนาดเล็กมากที่ได้แรงบันดาลใจจากพื้นฐานทางชีววิทยา มาช่วยในการหยิบจับวัตถุรูปทรงแบนได้มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการใช้ไฟฟ้าสถิตในปัจจุบัน

เซ็นเซอร์ต้องทำงานได้อย่างไร้ที่ติเนื่องจากมันเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ตลอดกระบวนการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเซ็นเซอร์ต้องทำหน้าที่แยกแยะระหว่างการเคลื่อนไหวหรือข้อมูลที่ถูกและผิด เพื่อให้อุปกรณ์หยิบจับสามารถตอบสนองได้ตามที่กำหนด

อุปกรณ์หยิบจับอัจฉริยะของออนโรบอต OnRobot’s RG2-FT ซึ่งเปิดตัวที่งาน 2018 International Manufacturing Technology Show มีการติดตั้งเซ็นเซอร์รับแรงกระทำ/แรงบิดและเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุใกล้เคียงแบบ 6 แกน ทำให้มันสามารถควบคุมทั้งตัวมันเองและหุ่นยนต์ให้ทำงานตามที่มนุษย์ผู้ควบคุมต้องการได้แม้จะไม่ได้ตั้งโปรแกรมกำหนดค่าตัวแปรที่แน่นอนไว้ล่วงหน้าก็ตาม ซึ่งก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริงระหว่างมนุษย์ผู้ปฏิบัติงานและการสนับสนุนจากหุ่นยนต์ผู้เป็นเสมือนเพื่อนร่วมงาน

                                                                                              

เซ็นเซอร์ตรวจจับแรงบิดแบบ 6 แกนของออนโรบอต (OnRobot 6-axis force torque sensors) มีการตรวจสอบแรงกระทำและแรงบิดอย่างแม่นยำของทั้ง 6 ทิศทาง ซึ่งทำให้สามารถควบคุมการทำงานร่วมกับมนุษย์ที่ยากและซับซ้อนได้อย่างเที่ยงตรง อาทิ การประกอบชิ้นส่วน การขัดเงา การขัดกระดาษทราย โดยยังมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ HEX ซึ่งรวบรวมการทำงานพิเศษต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้สามารถผสานเข้าสู่กระบวนการทำงานได้อย่างง่ายดาย

การทำงานร่วมกับมนุษย์ อาทิ การตกแต่งพื้นผิว กลายเป็นงานที่ง่ายดายขึ้นด้วยการใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับแรงกระทำและแรงบิด (F/T) เพราะมันช่วยให้หุ่นยนต์สามารถตรวจดูแนวเส้นและส่วนโค้งที่ซับซ้อนได้ทุกรูปแบบ จึงมอบชิ้นงานที่มีคุณภาพสมบูรณ์ ซึ่งหุ่นยนต์แบบเดิม ๆ ไม่สามารถทำได้

เซ็นเซอร์ตรวจจับแรงกระทำและแรงบิด (F/T) ของออนโรบอต มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมกับการทำงานที่ต้องใช้ความอดทนสูง โดยเฉพาะการรับมือกับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ ยกตัวอย่างเช่น การสอดลิ่มลงในหัวมอเตอร์ที่ต้องกำหนดทิศทางอย่างเหมาะสมและต้องการความแม่นยำสูง นอกจากนี้ การทำงานอื่น ๆ เช่น การขัดเงาและการขัดกระดาษทราย จำเป็นต้องใช้แรงที่สม่ำเสมอกระทำบนพื้นผิว เซ็นเซอร์ที่มีการตั้งค่าแรงกระทำและแรงบิด จึงมีประสิทธิภาพสูงในการทำงานประเภทนี้ทั้งกับเฟอร์นิเจอร์ การต่อเรือ และอุตสาหกรรมอากาศยาน

เซ็นเซอร์ช่วยสร้างความเติบโตแก่ธุรกิจได้อย่างไร
เซ็นเซอร์มอบความยืดหยุ่นในการทำงานแก่ธุรกิจเพื่อให้การทำงานร่วมกับมนุษย์ดำเนินไปแบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีเซ็นเซอร์อัจฉริยะยังช่วยให้ธุรกิจสามารถรวบรวมข้อมูลที่แตกต่างกันและจัดให้อยู่ในหลักการเดียวกันแบบเรียลไทม์ เพื่อให้กลายเป็นข้อมูลที่ใช้งานได้และช่วยให้งานของระบบอัตโนมัติมีประสิทธิภาพสูงสุด


ด้วยการเพิ่มหน้าที่การรับสัมผัสและการรับรู้ผ่านเซ็นเซอร์ ธุรกิจก็สามารถลดภาระงานของมนุษย์ให้น้อยลงได้โดยการลดขั้นตอนงานที่ต้องทำซ้ำๆ ที่อาจเกิดข้อผิดพลาด ดังนั้น จึงช่วยลดต้นทุนของระบบอัตโนมัติและต้นทุนการผลิตได้ สิ่งนี้นับว่ามีความสำคัญการในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งจะช่วยดึงดูดความต้องการด้านการผลิตจากทั่วโลก การใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ เช่น เซ็นเซอร์ในหุ่นยนต์ ถูกคาดการณ์ว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจต่อปีของภูมิภาคจาก 220 พันล้านดอลลาร์ ไปเป็น 625 พันล้านดอลลาร์ได้ภายในปี ค.ศ. 2030 จากข้อมูลของ McKinsey Global Institute

นักพัฒนาอุปกรณ์ปลายแขนหุ่นยนต์ยังคงทำงานเพื่อยกระดับประสิทธิภาพของระบบรับสัมผัสอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์เพื่อการรับรู้กำลังถูกนำมาใช้เพื่อการดึงข้อมูลภาพถ่ายจากกล้องถ่ายรูป เพื่อทำให้อุปกรณ์หยิบจับของหุ่นยนต์รู้ทิศทางการเข้าถึงตัววัตถุได้อย่างดีที่สุด เมื่อนวัตกรรมนี้และอื่น ๆ ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ระบบการรับสัมผัสและเทคโนโลยีอื่น ๆ จะช่วยให้หุ่นยนต์สามารถเรียนรู้และกระทำผ่านการสังเกตการณ์ และท้ายที่สุด หน้าที่การทำงานเหล่านี้จะถูกสร้างมาพร้อมใช้งานและสามารถทำงานได้ด้วยการกดปุ่มเพียงครั้งเดียว

การพัฒนาระบบการรับสัมผัสและความพยายามทั้งหมดเพื่อเพิ่มความสามารถของระบบอัตโนมัติเพื่อธุรกิจ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่เทคโนโลยีการหยิบจับและการรับสัมผัสอัจฉริยะในทุกวันนี้ก็แสดงให้เราเห็นแล้วว่า การขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ด้วยเครื่องยนต์นั้นมาได้ไกลเพียงใด

 

 

1) https://www.sensorsmag.com/components/proximity-sensors-cozy-into-comfortable-market-position 
2) https://www.alliedmarketresearch.com/asia-pacific-proximity-and-displacement-sensor-market
3) https://www.mckinsey.com/~/media/McKinsey/Featured%20Insights/Asia%20Pacific/Three%20paths%20to%20sustained%20economic%20growth%20in%20Southeast%20Asia/MGI%20SE%20Asia_Executive%20summary_November%202014.ashx

 

========================================================