Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,321
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,503
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,915
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,658
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,393
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,474
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,442
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,748
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,206
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,367
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,287
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,435
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,460
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,052
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,390
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,479
17 Industrial Provision co., ltd 39,149
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,302
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,223
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,551
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,369
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,780
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,130
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,881
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,506
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,441
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,872
28 AVERA CO., LTD. 22,522
29 เลิศบุศย์ 21,620
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,299
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,170
32 แมชชีนเทค 19,820
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,784
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,114
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,068
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,724
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,532
38 SAMWHA THAILAND 18,222
39 วอยก้า จำกัด 17,807
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,402
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,266
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,229
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,160
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,111
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,065
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 16,983
47 Systems integrator 16,639
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,564
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,380
50 Advanced Technology Equipment 16,366
24/12/2559 21:22 น. , อ่าน 5,298 ครั้ง
Bookmark and Share
อาชีวศึกษา “ระบบคู่ขนาน”
โดย : Admin

ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกล่าสุดปี 2016-2017 ของ The Times Higher Education มหาวิทยาลัยในเยอรมนีไม่ติดอันดับ 20 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งๆ ที่เยอรมันได้ชื่อว่าเป็นประเทศนักคิดและนักกวี มหาวิทยาลัยที่มีชื่อ เช่น University of Munich อยู่อันดับที่ 29 ส่วน University of Heidelberg มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของเยอรมัน ที่ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 1386 อยู่อันดับที่ 43 สูงกว่า University of Hong Kong ที่อยู่อันดับที่ 44
 

แต่ผลของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดังกล่าว ทำให้เกิดข้อเท็จจริง 2 อย่างที่ขัดแย้งกัน ในการวัดคุณภาพของสถาบันการศึกษาชั้นสูง มหาวิทยาลัยของเยอรมัน อาจเป็นมหาวิทยาลัยชั้น 2 แต่เยอรมันกลับเป็นประเทศที่ทั่วโลกอิจฉา เพราะสามารถผลิต “ทรัพยากรมนุษย์” ที่มีคุณภาพมากที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ ทาง World Economic Forum ก็จัดให้เยอรมันเป็นประเทศชั้นนำด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่นเดียวกันกับสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ สวีเดน ฟินแลนด์ และฮอลแลนด์

เคล็ดลับความสำเร็จของเยอรมันในฐานะมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นประเทศที่มีแรงงานคุณภาพสูง แต่อยู่ที่ว่าเยอรมันสร้างสิ่งนี้ขึ้นมาได้อย่างไร แม้การศึกษาทั่วๆ ไปจะอยู่ในระดับธรรมดาๆ ไม่มีสถาบันการศึกษาระดับสูงที่เป็นซูเปอร์สตาร์ แบบเดียวกับทีมฟุตบอลเยอรมันที่ชนะเลิศฟุตบอลโลกปี 2014 ก็ไม่มีซูเปอร์สตาร์หรือนักเตะที่ค่าตัวแพงสุดในโลก แต่ความสำเร็จของเยอรมันอาจมาจากสิ่งที่เรียกว่าทีมเวิร์ก คือผู้เล่นแต่ละคนหรือองค์กรแต่ละองค์กร แสดงบทบาทของตัวเองในการเป็นส่วนหนึ่งของทีมหรือสถาบันที่ใหญ่ขึ้น จนในที่สุดกลายเป็นประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านอุตสาหกรรม

ความมหัศจรรย์

 โลกในยุคอุตสาหกรรมนั้น กุญแจสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจประกอบด้วยทุนทางกายภาพ อันได้แก่ บรรดาโรงงานการผลิตต่างๆ และทุนทรัพยากรมนุษย์ ที่ทำงานในโรงงานดังกล่าว เยอรมันเป็นประเทศที่มีธรรมเนียมตกทอดมาหลายร้อยปี ในเรื่องที่คนเข้าสู่วัยทำงาน จะมีการฝึกงานตามโรงงานการผลิต เมื่อธรรมเนียมดั่งเดิมนี้ถูกนำไปรวมอยู่ในระบบอาชีวศึกษาสมัยใหม่ ก็คือการศึกษาในห้องเรียนผสมกับการฝึกงานตามโรงงาน คนเยอรมันจึงเรียกสิ่งนี้ว่า การศึกษา “ระบบคู่ขนาน” (dual system)

การศึกษาเพื่อผลิตแรงงานให้มีทักษะระดับกลาง (middle skill) นับวันจะเป็นเรื่องที่สำคัญ และตลาดเองก็มีความต้องการมากขึ้น ประเทศที่กำลังย่างเข้าสู่สังคมคนสูงอายุ แรงงานมีฝีมือระดับกลางก็จะเกษียณอายุการทำงานเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน แต่หลายประเทศมีปัญหาเรื่องการผลิตแรงงานที่มีทักษะ เพราะขาดการวางระบบแบบบูรณการ สถาบันฝึกฝนแรงงานก็มีอยู่แบบกระจัดกระจาย ขาดการวางระบบที่ชัดเจน

 และส่วนใหญ่ปล่อยให้เป็นเรื่องการดำเนินงานของเอกชน ทำให้คนที่ต้องการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะตัวเองต้องแบกรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง บริษัทเอกชนก็ไม่ต้องการมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการฝึกงานของนักเรียนอาชีวะ เพราะกลัวว่า ลงทุนไปแล้ว เมื่อจบการฝึกงานออกไป แรงงานใหม่ๆ อาจจะไปทำงานกับบริษัทอื่นที่ไม่ได้ลงทุนในเรื่องนี้
 

แต่เยอรมันกลับไม่ประสบปัญหาแบบเดียวกันนี้ เพราะรัฐบาลกลางและท้องถิ่นให้เงินสนับสนุนอาชีวศึกษา “ระบบคู่ขนาน” ดังกล่าว ในความเป็นจริง การลงทุนของรัฐบาลในเรื่องการฝึกแรงงานเยาวชนให้มีคุณภาพนั้น เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน ก็สามารถคืนทุนกลับมาได้แล้ว เพราะแรงงานมีฝีมือรุ่นใหม่ๆ จะสามารถผลิตสินค้าและบริการได้แบบเดียวกับที่คนงานรุ่นเก่าๆ ในขณะที่ค่าแรงของคนงานรุ่นใหม่ๆ ก็จะถูกกว่า

 

 เมื่อเยอรมันพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งที่ประเทศนี้มีเหลืออยู่ในเวลานั้นอาจจะมีแค่ทรัพยากรมนุษย์เท่านั้น โครงสร้างพื้นฐานและโรงงานการผลิตอุตสาหกรรมต่างๆ ล้วนถูกทำลายจนหมด การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วหลังสงครามจึงเป็นเรื่องความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง การฟื้นตัวดังกล่าวหมายถึงการมีโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมา ทำให้แรงงานมีฝีมือของเยอรมันมีโอกาสได้เข้ามาทำงาน เพราะความรู้ของคนเยอรมันในเรื่องการผลิตด้านอุตสาหกรรมไม่ได้ถูกทำลายไปด้วย

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมันหลังสงครามอาศัยสถานการณ์จากภายนอกเข้ามาช่วยกอบกู้ แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปของสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกว่า แผนการมาร์แชลล์ ที่มีมูลค่าในปัจจุบันเท่ากับ 120 พันล้านดอลลาร์

 และเยอรมันได้ส่วนแบ่งประมาณ 11% มีส่วนอย่างมากที่ทำให้เยอรมันมีเงินใช้ลงทุนสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมาใหม่ เช่น การผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ในครัวเรือน และสินค้าทุนต่างๆ พวกวิศวกรและผู้จัดการรุ่นเก่าๆ ที่เคยทำงานในโรงงานการผลิตอาวุธของพวกนาซีสามารถหันเหไปทำงานในโรงงานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าบริโภคต่างๆ

ในเวลาเดียวกัน บริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของเยอรมัน ก็มีบทบาทสำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงคราม บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ Volkswagen คือตัวอย่างอุตสาหกรรมเยอรมันที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทั้งในยุคก่อนและหลังสงคราม คำว่า Volkswagen แปลว่า “รถยนต์ของประชาชน” เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นมาครั้งแรกในปี 1938 ซึ่งอยู่ในสมัยของนาซี พวกนาซีต้องการให้ Volkswagen เป็นรถยนต์ที่ขายในราคาที่คนเยอรมันทั่วไปสามารถซื้อได้ และเป็นรถยนต์ที่ง่ายในการดูแลรักษา การผลิตรถยนต์ Volkswagen จึงใช้ชิ้นส่วนในการผลิตให้น้อยสุด และใช้วิธีการผลิตแบบจำนวนมาก

แม้ว่าในที่สุด พวกนาซีจะพ่ายแพ้สงคราม แต่รถ Volkswagen สามารถอยู่รอดมาได้ กลายเป็นอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่มีส่วนสร้างความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของเยอรมันที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลก
 

 เมื่อมีการยุติการผลิตในปี 2003 รถ Volkswagen รุ่นโด่งดังที่มีชื่อเป็นทางการว่า Volkswagen Type 1 และมีชื่อเล่นว่า Beetle หรือรถรุ่น “เต่า” กลายเป็นรถยนต์รุ่นเดียวในโลก ที่ผลิตออกมาจำหน่ายเป็นเวลานานถึง 65 ปี และมีการผลิตออกมาจำนวนมากสุดถึง 21 ล้านคัน

 

อาชีวศึกษา “ระบบคู่ขนาน”

ในประเทศอุตสาหกรรมนั้น การลงทุนเพื่อผลิตแรงงานให้มีทักษะถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาและการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม เพราะเหตุนี้ ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ จึงมีคำพูดที่เรียกว่า “การก่อรูปของทรัพยากรมนุษย์” วงการวิชาการต่างๆ ล้วนยอมรับว่าเยอรมันเป็นประเทศที่มีระบบการฝึกฝนทางวิชาชีพที่พัฒนาสมบูรณ์มากที่สุด Michael Porter ในหนังสือ The Comparative Advantage of Nations ก็เขียนไว้ว่า เยอรมันมีระบบการฝึกงานที่พัฒนาอย่างดีและโดดเด่น

คนงานอุตสาหกรรมของเยอรมันก็เหมือนกับคนงานอุตสาหกรรมในประเทศอื่นๆ คือไม่ได้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย แต่ลักษณะที่คล้ายตรงกันก็มีเพียงแค่นี้เอง คนงานเยอรมันมีความได้เปรียบตรงที่ผ่านการฝึกฝนเรียนรู้จากระบบการศึกษาที่เป็นทางการ โรงเรียนหรือวิทยาลัยอาชีวะของเยอรมันมีลักษณะการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ทางปฏิบัติและมุ่งสู่งานอาชีพ เยอรมันมีวิทยาลัยอาชีวะทั้งหมด 1,559 แห่ง วิทยาลัยอาชีวะจึงมีอยู่ในแทบทุกเมือง ในปี 2013 มีคนที่เข้าเรียนในสถาบันอาชีวะทั้งหมด 1.4 ล้านคน และมีหลักสูตรการเรียนที่ได้รับใบรับรองวุฒิการศึกษาถึง 342 วิชาชีพ

ในประเทศอื่นๆ นั้น การศึกษาด้านวิชาชีพหรืออาชีวะมีสภาพเหมือนเด็กที่เก็บมาเลี้ยง ความสนใจของเยาวชนที่จะมาเรียนสายอาชีวะก็ไม่มาก ตรงข้ามกับเยอรมัน นักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรมัธยมสามัญ เลือกเรียนต่อทางสายอาชีวะถึง 55% มีบริษัทเกือบ 5 แสนบริษัทหรือ 23% ของทั้งหมด เข้าร่วมในโครงการฝึกงานของนักเรียนจากวิทยาลัยอาชีวะ บริษัท Mercedes-Benz รับนักเรียนมาฝึกงานปีหนึ่ง 2 พันคน

 

ระบบการศึกษาอาชีวะแบบคู่ขนานของเยอรมัน ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น และบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ ในปี 2010 รัฐบาลเยอรมันหมดเงินไป 7 พันล้านยูโร สำหรับการศึกษาด้านอาชีวะและการฝึกงาน นักเรียนที่จบจากโรงเรียนมัธยมสามัญสามารถเข้าเรียนต่อในระบบการศึกษาสายอาชีวะดังกล่าว ที่ใช้เวลา 3-4 ปี ครึ่งหนึ่งของเวลาเรียนในสัปดาห์ จะฝึกงานกับบริษัท และอีกครึ่งหนึ่งของสัปดาห์ เรียนในห้องเรียน การฝึกงานกับบริษัทต่างๆ ทำให้นักศึกษาอาชีวะของเยอรมันได้เรียนรู้งานเฉพาะด้าน

ระบบการศึกษา “แบบคู่ขนาน” ทำให้คนงานของเยอรมันได้รับการฝึกฝนในภาคปฏิบัติเฉพาะด้าน ที่มากกว่าคนงานประเทศอื่นๆ ส่วนการเรียนรู้ด้านทฤษฎีก็จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะให้สูงขึ้น ทำให้คนงานสามารถทำงานด้านการผลิตสินค้าที่จะมีคุณภาพและความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารของ Zeiss บริษัทที่ผลิตอุปกรณ์สายตา บอกว่า Zeiss ไม่สามารถย้ายการผลิตไปประเทศอื่นๆ เพราะประเทศเหล่านั้นขาดแรงงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแบบเยอรมัน

ปัจจุบัน การศึกษาด้านอาชีวะ “ระบบคู่ขนาน” ของเยอรมันได้รับความสนใจมากจากประเทศต่างๆ ความสำเร็จของการผลิตแรงงานมีฝีมือจากระบบการศึกษาแบบคู่ขนานคือการทำให้เยาวชนที่ไม่ได้มุ่งการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยสามารถเข้าสู่การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านแรงงาน เยาวชนที่ผ่านการศึกษาด้านวิชาชีพในระบบดังกล่าวหมายถึงโอกาสการมีงานทำระยะยาว ประเทศที่มีอาชีวศึกษาแบบฝึกงานกับบริษัทต่างๆ เช่น เยอรมัน ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ จะมีการว่างงานของแรงงานเยาวชนที่ต่ำ คือ 7-8% ขณะที่สเปนและกรีซมีมากกว่า 40%

ในปี 2012 สถานทูตเยอรมันในสหรัฐฯ ประกาศแผนรณรงค์ที่จะให้สหรัฐฯ นำเอาระบบการฝึกฝนแรงงานแบบคู่ขนานของเยอรมันมาใช้ เพราะมีบริษัทเยอรมันหลายร้อยบริษัทที่เข้ามาลงทุนในสหรัฐฯ แต่ต้องประสบปัญหาที่ไม่สามารถหาแรงงานมีคุณภาพตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยายธุรกิจ แต่ปัญหาแบบนี้ไม่เกิดขึ้นในเยอรมัน ผู้บริหาร Volkswagen ที่ดูแลเรื่องการฝึกอบรมแรงงานกล่าวว่า ในประเทศอื่นๆ นั้น แรงงานที่หาได้ล้วนผ่านการศึกษาแบบระบบสามัญ

เยอรมันเป็นประเทศที่ผ่านความเจ็บปวดมามากจากความผิดพลาดในอดีต เป็นต้นเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คนทั่วโลกเสียชีวิตไปมากกว่า 60 ล้านคน เมื่อธุรกิจล้มละลาย การกอบกู้ถือเป็นงานที่ยากลำบาก แต่การล้มละลายของประเทศอย่างเช่นเยอรมันหลังสงคราม เรียกว่าเป็นภารกิจที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าจะเป็นไปได้ เส้นทางการฟื้นฟูก็จะยาวไกลมากกว่าประเทศอื่นๆแต่คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ทำให้เยอรมันสามารถลุกขึ้นมาและก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

 

ที่มา: ไทยพับลิก้า, www.thaipublica.org”
โดย :ปรีดี บุญซื่อ      11 ตุลาคม 2016

========================================================