Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,631
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,048
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,363
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,322
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,834
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,947
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,917
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,181
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,968
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,747
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,687
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,889
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,205
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,631
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,075
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,962
17 Industrial Provision co., ltd 39,701
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,709
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,617
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,956
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,895
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,247
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,661
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,375
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,891
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,885
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,258
28 AVERA CO., LTD. 22,951
29 เลิศบุศย์ 21,975
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,743
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,637
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,245
33 แมชชีนเทค 20,239
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,496
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,460
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,208
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,884
38 SAMWHA THAILAND 18,656
39 วอยก้า จำกัด 18,311
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,887
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,734
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,663
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,650
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,583
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,511
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,507
47 Systems integrator 17,075
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,025
49 Advanced Technology Equipment 16,841
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,808
13/07/2557 12:12 น. , อ่าน 11,111 ครั้ง
Bookmark and Share
เรื่องเล่า Power SRC
โดย : Admin

ท่านทราบไหมว่า   SCR  ที่เห็นนี้ราคาตัวละเท่าไหร่ ?
.

(ดูเฉลยด้านล่าง)

 

     หากพูดถึงเรื่อง SRC   ผมเชื่อว่าหลายๆท่านคงได้สัมผัสและคุ้นเคย โดยเฉพาะ SRC ขนาดเล็กๆขนาดประมาณเท่าๆกับเม็ดถัว หรือ ไม่ก็ขนาดเท่ากับประมาณหัวน๊อต หรือหากใหญ่ขึ้นไปหน่อยก็ขนาดประมาณเท่าแบตเตอร์รี่ไฟฉาย     แต่ถ้าเป็นขนาดใหญ่ๆ ประมาณเท่ากับซาลาเปา ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงไม่คุ้นเคย และจินตนาการไม่ออกว่ามันเอาไปใช้อะไร

 

   สำหรับบทความนี้ ผมจะนำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังว่าไอ้เจ้า Power SCR  ขนาดใหญ่ๆประมาณนี้ มันเอาไปประยุกต์ใช้กับงานอะไร   ซึ่งผมผมจะใช้ภาพเล่าเรื่องให้ฟัง     ลองติดตามไปดูกันนะครับ


  

 

  

 

 การใช้งาน
 


ก่อนนำไปประกอบเป็นวงจรเพื่อใช้งาน   ก็ต้องนำเอาแต่ละตัวมาประกอบเข้ากับวงจรจุดชนวนก่อน (Firing circuit)

 


เมื่อประกอบแต่ละยูนิดหรือแต่ละตัวเรียบร้อยแล้ว  ก็นำมาประกอบเป็นวงจร Control  Rectifier  ซึ่งใช้ทั้งหมด 6 ยูนิตด้วยกัน


รูปวงจรภาคกำลัง ( Power) ของวงจร AC-DC Converter  หรือที่นิยมเรียกกันว่าวงจร Rectifier
*** ในอุตสาหกรรมหนักหรืองานที่ใช้มอเตอร์ขนาดใหญ่  ส่วนมากจะใช้วงจร Three Pahse Full Controled Rectifier  หรือเรียกย่อๆว่า B6C เป็นหลัก

 

ความหมายของ B6C 

B = วงจรบริดจ์เร็กติไฟร์ (ฺBridge Recitifier)
6 = จำนวนพัลส์หรือลูกคลื่นทางด้านเอาท์พุต ซึ่งถ้าเป็นวงจรเรียงกระแสแบบสามเฟสจะมีเอาท์พุท 6 คลื่นซึ่งก็จะเรียกว่า B6
C =  Control , ถ้าเป็นวงจรเรียงกระแสแบบใช้ ไดโอดตัวย่อก็จะไม่มี C ลงท้ายเพราะไม่สามารถควบคุมได้ แต่ถ้าเป็น SRC ซึ่งสามารถควบคุมได้ก็จะมี C ต่อท้าย

 

 
ตัวอย่างตู้ควบคุม SCR

 


ตัวอย่าง DC Module ของ Ross  Hill Electronics

  DC Module (ดีซี โมดูล) 
ดีซีโมดูล ซึ่งเป็นชุดควบคุมการทำงานของ SCR  โดยการส่งสัญญาณเอาท์พุทออกไปควบคุมการจุดชนวนของ SCR   ซึ่งระบบควบคุม SCR รุ่นเก่าๆ จะเป็นแบบ อะนาลอก โมดูล  

การปรับจูน ก็ต้องอาศัยการปรับค่าความต้านทานหรือใช้ decade resistor box  ปรับจูนให้ได้ค่าresistor ที่แน่นอนก่อนจากนั้นจึงทำการบัดกรีติดตั้งถาวรเข้ากับวงจร

ส่วนค่าที่ต้องปรับจูนหลักๆ จะประกอบด้วย  PID   การลิมิตกระแส/ทอร์ค การปรับค่า Dead Band   และอื่นๆ

 ***  โดยทั่วไปถ้าเป็นระบบ  DC Drives ที่มีขนาดไม่ใหญ่โตมาก ส่วนใหญ่ก็จะใช้ DC drives สำเร็จรูปที่มีทั้ง ชุดควบคุมและวงจรกำลังรวมอยู่ในแพ็คเก็จเดียวกัน    แต่ถ้าเป็นโปรเจ็คใหญ่ มอเตอร์ขนาดใหญ่มากๆ  ก็จะประกอบเป็นตู้ SCR และแยกชุดคอนโทรลออกจากกัน 

 

การประยุกต์ใช้งาน

   ระบบขับเคลื่อนดีซี ขนาดใหญ่ๆ นี้ ส่วนใหญ่จะประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนเรือสินค้า   เครนยกตู้คอนเทนเนอร์ตามท่าเรือ  มอเตอร์ขับลูกรีดในโรงรีดเหล็ก  และอุปกรณ์ในการขุดเจาะน้ำมัน เช่น Mud Pump  Top Drive และ draw work เป็นต้น

หมายเหตุ :   การขับเคลื่อนระบบดีซี  นั้นถือว่าเป็นเทคโนโลยีเก่า  แต่ก็ยังคงมีใช้อยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบหรือเครื่องจักรที่มีการติดตั้งใช้งานมานานแล้ว ซึ่งก็ยังต้องการบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านนี้อยู่พอสมควร
แต่ถ้าเป็นระบบหรือเครื่องจักรที่สร้างขึ้นมาใหม่เช่น เรื่อสินค้า  แท่นเจาะน้ำมัน  หรือเครนยกตู้ และอื่นๆ   ปัจจุบันส่วนใหญ่ลูกค้ามักจะเลือกใช้ AC drives เข้ามแทนที่
ครับ

 


ตัวอย่างเครนยกตู้สินค้า ที่ใช้ตามท่าเรือต่างๆ


Mud Pump  หรือ ปั๊มโคลนขุดเจาะที่ใช้บนแท่นเจาะน้ำมัน


การประยุกต์ใช้งานที่โรงรีดเหล็ก


การใช้ขับเคลื่อน draw work บนแท่นเจาะน้ำมัน

 

 

เฉลย :  หากพิจารณาราคาที่ติดที่ถุงจะเห็นว่า SRC นี้ราคา 250.75 USD / ตัว หรือ (250.75 * 32 =  แปดพันกว่าบาทต่อตัวครับ)

========================================================