Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,366
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,518
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,935
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,688
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,413
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,491
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,456
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,764
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,252
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,387
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,308
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,450
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,491
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,072
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,421
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,496
17 Industrial Provision co., ltd 39,162
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,320
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,240
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,384
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,800
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,156
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,906
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,522
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,462
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,890
28 AVERA CO., LTD. 22,535
29 เลิศบุศย์ 21,636
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,319
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,187
32 แมชชีนเทค 19,836
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,805
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,128
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,081
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,743
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,551
38 SAMWHA THAILAND 18,239
39 วอยก้า จำกัด 17,829
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,416
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,242
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,187
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,140
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,079
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,007
47 Systems integrator 16,656
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,577
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,398
50 Advanced Technology Equipment 16,383
25/04/2557 08:19 น. , อ่าน 10,771 ครั้ง
Bookmark and Share
กล่องดำที่อยู่ในเครื่องบินมันคืออะไร ?
โดย : Admin

กล่องดำที่อยู่ในเครื่องบินมันคืออะไร ?



ผังตำแหน่งส่วนประกอบของระบบบันทึกข้อมูลการบิน

นำข้อมูลมาจาก http://www.thaiair.info ครับ

    เมื่อใด ก็ตามที่เกิดอากาศยานอุบัติเหตุ สองสิ่งแรกที่หน่วยกู้ภัยต้องรีบค้นหาคือ ผู้รอดชีวิตและอุปกรณ์บันทึกข้อมูลการบิน หรือที่เรียกกันว่า "กล่องดำ (Black Box)
เครื่องบินโดยทั่วไปจะต้องปฏิบัติตามกฎด้านการบิน ในการติดตั้ง "
กล่องดำ" สองชนิดสำหรับบันทึกข้อมูลการบินเพื่อช่วยจำลองเหตุการณ์ก่อนหน้าที่จะเกิดอุบัติเหตุ โดย
กล่องดำ 2 ชนิดนั้นมี ดังนี้

        
เครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน (The Cockpit Voice Recorder - CVR)

1. กล่องที่ชื่อว่า Cockpit Voice Recorder (CVR) โดย เครื่อง CVR จะบันทึกเสียงพูดของนักบิน รวมทั้งเสียงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในห้องนักบิน โดยรับเสียงจากไมโครโฟนของนักบิน และไมโครโฟนที่ติดตั้งไว้ในแผงอุปกรณ์ด้านบนระหว่างนักบินทั้งสอง เสียงที่เกิดขึ้นในห้องนักบินทั้งหมดเช่น เสียงเครื่องยนต์ สัญญาณเตือน เสียงการเคลื่อนไหวของฐานล้อ เสียงการกดหรือว่าปลดสวิตช์ต่างๆ เสียงการโต้ตอบการจราจรทางอากาศ การแจ้งข่าวอากาศ และการสนทนาระหว่างนักบินกับพนักงานภาคพื้นหรือลูกเรือ จะถูกบันทึกไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน โดยจะนำไปพิจารณาประกอบกับค่าอื่นๆ เช่น รอบเครื่องยนต์ ระบบที่ผิดปกติ ความเร็ว และเวลา ณ เหตุการณ์ นั้นๆ เครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบินแบบแถบแม่เหล็ก จะบันทึกเสียงได้ในช่วงเวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นจะขึ้นรอบการบันทึกใหม่ ในขณะที่เครื่องบันทึกแบบหน่วยความจำ สามารถบันทึกได้รอบละประมาณสองชั่วโมง

 


เครื่องบันทึกข้อมูลการบิน (The Flight Data Recorder - FDR)

 

2. กล่องที่ชื่อว่า Flight Data Recorder - FDR โดย เครื่อง FDR จะบันทึกสภาวะต่างๆ ในระหว่างปฏิบัติการบิน ตามกฎระเบียบสำหรับอากาศยานรุ่นใหม่ๆ จะต้องมีการตรวจบันทึกข้อมูลที่สำคัญอย่างน้อย 11 ถึง 29 ประเภท ตามขนาดเครื่องบิน เช่น เวลา ระยะสูง ความเร็ว ทิศทาง และท่าทางของเครื่องบิน นอกจากนี้ FDR บาง


    เครื่องสามารถบันทึกสถานะต่างๆ ได้อีกมากกว่า 700 ลักษณะ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการสอบสวน รายการที่ถูกตรวจบันทึกพื้นฐานได้แก่ เวลา ระยะสูง ความเร็ว อัตราเร่งตามแนวดิ่ง ทิศทาง ตำแหน่งคันบังคับและอุปกรณ์บังคับการบินอื่นๆ ตำแหน่งของแพนหางระดับ อัตราการไหลของเชื้อเพลิง ด้วยข้อมูลที่อ่านได้จาก FDR จะทำให้คณะผู้สอบสวนอุบัติเหตุสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวของการบินได้ เจ้าหน้าที่สอบสวนสามารถมองเห็นภาพท่าทางเครื่องบิน ค่าที่อ่านได้จากเครื่องวัด การใช้เครื่องยนต์ และ ลักษณะอาการต่างๆ ของการบิน ภาพเคลื่อนไหวนี้ทำให้คณะผู้สอบสวน ทราบเหตุการณ์สุดท้ายของการบินก่อนเกิดอุบัติเหตุ

 

    แม้ อุปกรณ์ทั้งสองจะถูกเรียกว่า "กล่องดำ" แต่ตัวกล่องจริงจะมีสีแสดสะดุดตา และมีแถบสะท้อนแสงติดอยู่ เพื่อช่วยให้สังเกตง่าย เหตุที่เรียกว่า "กล่องดำ" อาจจะเป็น -เพราะ อุปกรณ์นี้มีสีดำในรุ่นแรกๆ หรือเรียกตามสภาพที่ดำเกรียม หลังจากถูกเผาไหม้

    เมื่อเกิดอากาศยานอุบัติเหตุ อุปกรณ์ที่จะต้องคงสภาพมากที่สุดคือส่วน Crash-Serviable Memory Unit (CSMU) ของ CVR และ FDR แม้ตัวกล่องและส่วนประกอบอื่นๆ จะเสียหาย ดังนั้นอุปกรณ์นี้จะต้องได้รับการออกแบบให้ทนความร้อน, แรงกระแทก และแรงกด โดยผ่านการทดสอบต่อไปนี้

 

- ยิงอุปกรณ์นี้ให้กระทบเป้าอลูมิเนียมเพื่อให้เกิดแรงกระแทก 3,400 G (แรงโน้มถ่วงของโลก = 1 G)
- ทดสอบความทนต่อการเจาะ โดยปล่อยก้อนน้ำหนักขนาด 500 ปอนด์ (227 กิโลกรัม) ที่มีเข็มเหล็กขนาด 0.25 นิ้ว อยู่ด้านล่าง   ให้กระทบลงบน  
  CSMU จากความสูง 10 ฟุต (3 เมตร)
- ทดสอบด้วยแรงกด 5,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 5 นาที บนทุกด้านของ CSMU
- เผาด้วยความร้อน 2,000 oF (1,100 oC) นาน 1 ชั่วโมง
- แช่ในน้ำเค็มนาน 24 ชั่วโมง
- แช่น้ำนาน 30 วัน
- ทดสอบความทนทานต่อของเหลวอื่นๆ เช่น เชื้อเพลิงเครื่องบิน, นำมันหล่อลื่น และสารเคมีดับเพลิง

 

    
สภาพกล่องดำหลังเกิดอุบัติเหตุ

 

    เครื่องบันทึกแต่ละเครื่องจะต้องประกอบด้วยเครื่องแจ้งตำแหน่งใต้น้ำ (Underwater Locator Beacon - ULB) หรือเรียกว่า "pinger" เพื่อที่ช่วยการค้นหาในกรณี อุบัติเหตุเหนือน้ำ pinger จะทำงานเมื่อจมน้ำโดยจะส่งคลื่นเสียงความถี่ 37.5 kHz อุปกรณ์นี้สามารถส่งสัญญาณได้จากความลึกถึง 14,000 ฟุต หน่วยกู้ภัยจะใช้ - อุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า Pinger Locator System (PLS) ลากไปในน้ำเพื่อรับสัญญาณจาก "pinger" เพื่อค้นหาตำแหน่งของ "กล่องดำ"


    เมื่อพบกล่องดำแล้ว เจ้าหน้าที่จะขนส่งอย่างระมัดระวัง เพื่อนำไปเข้ากระบวนการตรวจสอบ โดยคงสภาวะเดิมให้มากที่สุด หากค้นพบในน้ำเครื่องบันทึก
จะถูกส่งไปใน-ถังบรรจุพร้อมกับน้ำ เพราะหากเครื่องบันทึกแห้งลง ข้อมูลอาจสูญเสียไปได้


    ด้วยอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ที่สลับซับซ้อน 
ข้อมูลที่บันทึกไว้จะได้รับการแปลงรูปแบบให้สามารถเข้าใจง่าย เพื่อนำไปประกอบกับหลักฐานอื่นๆ ในการพิจารณาสาเหตุที่แท้ จริงต่อไป หากเครื่องบันทึกไม่เสียหายมากนัก ผู้สอบสวนเพียงต่อเครื่องบันทึกเข้ากับเครื่องอ่าน ก็จะทราบข้อมูลได้ภายในสองสามนาที แต่บ่อยครั้งพบว่าเครื่องบันทึก-ที่ ค้นหาได้จากซากเครื่องบินจะบุบสลายและถูกเผาไหม้ ในกรณีเช่นนี้ แผงหน่วยความจำจะถูกถอดออกมาทำความสะอาด และเชื่อมโยงเข้ากับเครื่องบันทึกอีกเครื่องหนึ่งที่มี Software พิเศษที่สามารถถ่ายเทข้อมูลได้ โดยไม่มีการเขียนทับหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล

========================================================