Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,987
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,785
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,354
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,590
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,623
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,385
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,902
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,480
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,215
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,135
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,069
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
11/04/2557 18:55 น. , อ่าน 8,816 ครั้ง
Bookmark and Share
วิศวกรอาเซียนและวิศวกรเอเปค (2)
โดย : Admin

 

วิศวกรอาเซียนและวิศวกรเอเปค: ไทยจะก้าวไปอย่างไร (2)

 

ธงชัย พรรณสวัสดิ์
ศาสตราจารย์กิติคุณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และอดีตกรรมการสภาวิศวกร 2 สมัย

 

ในบทความตอนแรก ได้อธิบายว่าวิศวกรแต่ละชาติในกลุ่มประเทศอาเซียนจะขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรอา เซียน หรือ ASEAN Chartered Professional Engineer (ACPE) และได้ใบอนุญาตเป็นวิศวกรต่างด้าวจดทะเบียน หรือ Registered Foreign Professional Engineer (RFPE) ตามข้อตกลงของ AEC ได้อย่างไร

(หมายเหตุ: วิศวกร RFPE ไม่สามารถทำงานวิศวกรรมเป็นเอกเทศในต่างประเทศได้ จะต้องทำงานร่วมกับหรือภายใต้วิศวกรวิชาชีพท้องถิ่นเสมอ)

มาในตอนนี้จะชี้ให้เห็นว่าการนี้มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร และไทยได้หรือเสียเปรียบหรือไม่ และอย่างไร

 

ปัญหาที่ตามม    ณ ตรงนี้มีข้อสังเกตอยู่ 4 ข้อ คือ

1) วิศวกรผู้หนึ่ง สมมติว่าเป็นวิศวกรไทย (ACPE) จะไม่สามารถเดินทางไปทำงานเป็นวิศวกรต่างด้าว RFPE ในประเทศกลุ่มอาเซียนได้เลยหากไม่รู้จักวิศวกรท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ มาก่อน และวิศวกรไทยปกติธรรมดาๆ คนหนึ่งที่ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานต่างประเทศจะไปมีโอกาสรู้จักวิศวกร ต่างชาติได้อย่างไร โอกาสที่เปิดสำหรับการไปทำงานในต่างประเทศจึงตกอยู่กับวิศวกรเพียงไม่กี่ ร้อยคนที่ทำงานอยู่แล้วกับบริษัทไทย ทั้งบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาและบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ได้ไปทำงานในต่าง ประเทศมาก่อนแล้ว ทั้งๆ ที่จำนวนวิศวกรไทยในประเทศมีทั้งสิ้นเกือบหนึ่งแสนห้าหมื่นคน (150,000 คน) ความเท่าเทียมในโอกาสได้ประโยชน์จากข้อตกลง AEC นี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องถกเถียงกันต่อไปว่าจะทำเช่นไร

 

2) หากมองในอีกมุมหนึ่งคือมุมกลับกัน แทนที่จะมองในรูปการส่งออกวิศวกรไทยไปต่างประเทศ วิศวกรต่างชาติก็จะสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ตามข้อผูกมัดในข้อตกลง ระหว่างประเทศที่ไทยได้ลงนามไว้แล้วเช่นกัน และด้วยภาษาอังกฤษของวิศวกรไทยที่อ่อนด้อยกว่าวิศวกรจากอีกหลายประเทศ วิศวกรไทยก็จะมีโอกาสถูกแย่งงานไปได้มากหากเปิดเสรีกันจริงๆ ประเด็นที่มีปัญหาตามมาอีกมากมายนี้ ใครจะเป็นผู้ดูแล

 

3) เมื่อวิศวกรต่างด้าว RFPE จากต่างประเทศเข้ามาไทย วิศวกรผู้นั้นย่อมมีสิทธิพาครอบครัวและผู้ติดตามตามมาพักอาศัย อันรวมไปถึงแม้กระทั่งการมีบุตรเกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งแน่นอนย่อมมีสิทธิที่จะขอเป็นคนไทย มีสัญชาติไทย ปัญหาสังคมแบบนี้เราคิดรองรับกันไว้แล้วหรือยัง และควรเป็นหน้าที่ของใคร กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน หรือกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า อาจมีการขยายจากอาเซียน 10 ประเทศ เป็นอาเซียน +3 และอาเซียน +6 ซึ่งอาจหมายรวมถึงบางประเทศที่ผู้คนในประเทศนั้นอยากมาทำงานในเมืองไทย ในขณะที่วิศวกรไทยไม่ค่อยอยากไปประเทศนั้น นั่นหมายความว่า การถ่ายเทบุคคลากรและครอบครัวของเขา จะเป็นในลักษณะถ่ายและเทไปด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้านหนึ่ง มากกว่าจะเป็นการถ่ายเทแบบได้ดุล

 

4) หากวิศวกรต่างด้าว RFPE ไม่สามารถลงนามเป็นผู้รับผิดชอบงานวิชาชีพวิศวกรรมได้ในการทำงานในต่าง ประเทศ แต่ต้องให้วิศวกรท้องถิ่นเป็นผู้ลงนามรับผิดชอบแบบเต็มๆ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว วิศวกรต่างด้าวจะเป็นวิศวกรวิชาชีพ (ในความหมายที่ต้องรับผิดชอบในงานวิชาชีพของตน) ไม่ได้เลย และจะมีประโยชน์อันใดที่จะนำเข้าวิศวกรต่างด้าว RFPE มาไทย หรือส่งวิศวกรไทยไปต่างประเทศ ยกเว้นเอามาเป็นลูกมือนั่งคำนวณออกแบบ แต่ไม่ต้องลงนามและรับผิดชอบใดๆ ซึ่งหากได้วิศวกรต่างด้าวที่มาจากชาติที่มีค่าครองชีพไม่สูง อัตราเงินเดือนไม่มาก เขาก็จะมาแย่งอาชีพวิศวกรไทย อันทำให้เกิดปัญหาสังคมอีกรูปแบบหนึ่งตามมา และก็เช่นกัน ปัญหานี้มีคนคิดและหามาตรการรองรับแล้วหรือยัง

 

อุปสรรคที่พอมองเห็น

หากมองในมุมส่งออกวิศวกรไทยไปทำงานในต่างประเทศ วิศวกรไทยผู้นั้นเมื่อได้ใบอนุญาตเป็นวิศวกรต่างด้าว RFPE ในประเทศนั้นๆ แล้ว วิศวกรไทยยังมีอุปสรรคที่พอมองเห็นอยู่อีก 3 ประการ คือ

1) หากวิศวกรท้องถิ่นเป็นคนขี้ฉ้อ หรือเป็นวิศวกรที่ไม่เก่งจริง วิศวกรท้องถิ่นผู้นั้นอาจโดนถอนใบอนุญาต ซึ่งนั่นก็หมายความว่าวิศวกรไทยผู้ซึ่งเป็นวิศวกรต่างด้าว RFPE ในประเทศนั้น จะไม่มีสิทธิทำงานในประเทศนั้นๆ และตกงานทันทีโดยอัตโนมัติ เพราะวิศวกรท้องถิ่นที่รับรองวิศวกรไทยมาแต่แรกหมดสิทธิที่จะไปรับรองใคร แล้ว

 

2) วิศวกรท้องถิ่นอาจถือความได้เปรียบที่วิศวกรไทยต้องได้รับการรับรองจากเขามา เอาเปรียบในเรื่องอัตราค่าจ้าง ฯลฯ ได้เสมอ ซึ่งนั่นรวมไปถึงว่าวิศวกรไทยจะไปทะเลาะเบาะแว้งกับวิศวกรท้องถิ่นไม่ได้เลย แม้แต่น้อย ทั้งนี้หากเป็นวิศวกรต่างด้าวมาทำงานในไทยปัญหานี้ก็เหมือนกัน ต่างกันเพียงการสลับขั้วของผู้ได้และเสียประโยชน์

 

3) การไปทำงานในต่างประเทศ แต่ละประเทศจะมีกฎกติกาหรือกฎเกณฑ์ข้อกำหนดในการออกแบบไม่เหมือนกัน บางประเทศอาจใช้มาตรฐานอังกฤษ บางประเทศใช้อเมริกัน หรือญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งเยอรมัน หรือจีน การที่มีประสบการณ์ออกแบบโดยกฎเกณฑ์ไทย อาจใช้ไม่ได้ในประเทศเหล่านั้น และอาจต้องใช้เวลาในการศึกษาและปรับความคิดอีกมากพอสมควร

 

วิศวกร AEC

 

ข้อเสียเปรียบของไทย

ประเทศไทยมีกฎระเบียบอยู่ข้อหนึ่งที่คนทั่วไปหรือแม้กระทั่งวิศวกรไทยเอง ก็ตามไม่รู้ว่ามี นั่นคือ คนที่จะมาขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศไทยนั้นไม่จำ เป็นต้องเป็นวิศวกรหรือผู้จบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ปัจจุบันมีหลักฐานว่ามีคนไทยที่จบการศึกษาเพียงระดับประถม 4 สามารถขอและได้ใบอนุญาตเป็นวิศวกรวิชาชีพในไทย หลักการพื้นฐานของกฎเกณฑ์ข้อนี้คือ ประเทศไทยต้องการให้โอกาสผู้ที่มีทักษะและความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมในสาขาหนึ่งๆ ‘ในระดับหนึ่งๆ’ สามารถเป็นวิศวกรวิชาชีพโดยมีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยวิศวกรประเภทนี้ สภาวิศวกรกำหนดให้เรียกว่า ‘ภาคีวิศวกรพิเศษ’ (ซึ่งในความเห็นของผู้เขียน น่าจะเรียกว่า ‘ภาคีวิศวกรสมทบ’มากกว่า เพราะคำว่า‘พิเศษ’ฟังดูราวกับว่าวิศวกรพิเศษผู้นั้นเก่งกว่าวิศวกรปกติเสีย ด้วยซ้ำ ซึ่งไม่น่าจะจริง

ปัจจุบันก็ได้มีวิศวกรต่างชาติที่ได้เข้ามาทำงานในประเทศไทย ได้อาศัยช่องทางนี้ขอใบอนุญาตทำงานวิศวกรรมได้อย่างถูกกฎหมายในไทยมาเป็น เวลานับเป็นหลายสิบปีมาแล้ว และวิศวกรต่างชาติเหล่านั้นมาจากหลากหลายประเทศที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในกลุ่ม อาเซียนเสียด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าหากมองในแง่มุมนี้เราได้เปิดประเทศมานานมากแล้ว

 

การแบ่งสาขางานวิศวกรรม

ปัญหาคือ งานทางวิศวกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายสิบสาขา ขึ้นอยู่กับว่าจะลงละเอียดมากเพียงใด แต่ในประเทศไทยเรากำหนดไว้ในกฎหมายหรือ พ.ร.บ.สภาวิศวกรเพียง 7 สาขา ได้แก่ โยธา ไฟฟ้า เครื่องกล อุตสาหการ เหมืองแร่ สิ่งแวดล้อม และเคมี ในขณะที่บางประเทศกำหนดไว้ถึงยี่สิบสาขา ส่วนที่ไทยไม่มีก็เช่น วิศวกรรมปิโตรเคมี วิศวกรรมการเกษตร วิศวกรรม (การป้องกัน) น้ำท่วม วิศวกรรมนาวี วิศวกรรมอุโมงค์ ฯลฯ ซึ่งนั่นหมายความว่า หากมีงานโครงการเกี่ยวกับวิศวกรรมนาวีขึ้นในไทย วิศวกรต่างชาติจะสามารถเข้ามาปฏิบัติวิชาชีพในไทยได้ทันทีโดยอิสระและ อัตโนมัติ เพราะถือว่าสภาวิศวกรหรือประเทศไทยไม่ได้กำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม

ในขณะเดียวกัน หากมีโครงการวิศวกรรมนาวีขึ้นในประเทศอาเซียนหนึ่งที่เขากำหนดให้วิชาชีพนี้ เป็นวิชาชีพควบคุม วิศวกรไทยที่แม้จะได้ใบอนุญาตเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียนหรือ ACPE ก็ไม่สามารถไปทำงานด้านวิศวกรรมนาวีในประเทศนั้นได้ เพราะสภาวิศวกรไม่สามารถออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพประเภทนี้ได้ด้วยเหตุที่ ยังไม่ใช่วิศวกรรมที่อยู่ในขอบข่ายของการควบคุมตามข้อบังคับของสภา

 

วิศวกร (ไทย)

สภาวิศวกร (ไทย) ได้พยายามแก้ปัญหานี้โดยกำลังดำเนินการขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกข้อบังคับเพิ่มเติม ให้สภาวิศวกร (ไทย) สามารถประกาศควบคุมวิศวกรสาขาใหม่ๆ เหล่านี้เพิ่มเติม ซึ่งเมื่อได้ประกาศข้อบังคับนี้แล้ว สภาวิศวกร (ไทย) จึงจะสามารถออกใบอนุญาต ACPE เป็นกรณีสำหรับไปทำงานในต่างประเทศ แต่มีข้อสังเกตที่ออกพิลึกพิลั่นอยู่ว่าใบอนุญาตใหม่นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ใน ไทย เพราะเป็นสาขาที่สภาวิศวกรมิได้บังคับให้ควบคุม แต่ไพล่ไปจำเป็นในต่างประเทศ

ในทางตรงข้าม หากประเทศในกลุ่มอาเซียนประเทศหนึ่งไม่ควบคุมวิศวกรรมสาขาสิ่งแวดล้อม เช่น สิงคโปร์ แต่เมื่อวิศวกรสิงคโปร์ได้ใบอนุญาตเป็นวิศวกรอาเซียน ACPE ในสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรผู้นั้นก็สามารถมาปฏิบัติงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมในไทยได้โดยอาศัยช่อง โหว่ ‘ภาคีวิศวกรพิเศษ’ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น หรือแม้กระทั่งสภาวิศวกรสิงคโปร์ก็อาจออกใบอนุญาต ACPE สาขาสิ่งแวดล้อมเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเขาทำได้โดยใช้อำนาจบริหารของสภาวิศวกรของสิงคโปร์เขาเอง

 

ณ สภาพปัจจุบันประเทศไทยจึงเสียเปรียบทั้งในการส่งออกและนำเข้าวิศวกร

ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน เห็นว่าสภาวิศวกร (ไทย) ไม่ควรอาศัยกระบวนการทางนิตินัย (ตามตัวหนังสือ) ไปพึ่งอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในการออกข้อบังคับประกาศควบคุมวิศวกรรมบางสาขาเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะสำหรับ การส่งวิศวกรไทย ACPE ไปต่างประเทศ หากควรใช้อำนาจทางบริหารของกรรมการสภาวิศวกรออกเป็นระเบียบ (ซึ่งด้อยศักดิ์กว่าข้อบังคับ) ของสภาวิศวกรเอง ซึ่งเป็นอำนาจทางการบริหาร รวมทั้งทำได้ทันทีและเร็วกว่าไปผ่านกระบวนการทางกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งสามารถปรับให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา มิใช่ต้องไปผ่านกระทรวงมหาดไทยทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มลดการ ประกาศควบคุมสาขาต่างๆ ด้วยวิธีการที่เสนอนี้จะก่อให้เกิดความคล่องตัว สะดวก และเป็นประโยชน์ต่อวิศวกรไทยและประเทศไทยได้มากกว่ามาก

ทั้งนี้ การประกาศเป็นกรณีพิเศษสำหรับสาขาวิศวกรรมที่เจาะจงใช้สำหรับการไปทำงานใน ต่างประเทศก็มิได้ใช้บังคับวิศวกรไทยในประเทศอยู่แล้ว รวมทั้งมิได้เป็นการรอนสิทธิผู้ใดอยู่แล้ว จึงไม่น่าจะก่อให้เกิดปัญหาทางลบแก่ประเทศไทยแต่อย่างใด

 

วิศวกรต่างด้าว ตกลงดีหรือไม่ดี

การที่จะบอกว่าดีหรือไม่ดี ต้องมองในสองมุม คือ การส่งออกวิศวกรไทยไปต่างประเทศ และการนำเข้าวิศวกรต่างด้าวมาไทยซึ่งอาจมาแย่งงานวิศวกรไทยและมีปัญหาทาง สังคมอื่นๆ ตามมา เช่น คนไทยตกงาน หรือเขามาสร้างครอบครัวที่เกิดในไทยและได้สัญชาติไทย ฯลฯ ซึ่งแน่นอนที่ประเทศอื่นๆ เขาก็ต้องมองในลักษณะนี้เช่นกัน และแต่ละประเทศก็พยายามสร้างกำแพงที่มองไม่เห็นและพยายามกีดกันไม่ให้วิศวกร ต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศตนอย่างง่ายๆ ในขณะที่พยายามเต็มกำลังที่จะส่งวิศวกรของตนไปต่างประเทศ ซึ่งหลายประเทศได้มีการอบรมวิศวกรกันแล้วทั้งในเรื่องภาษาอังกฤษ ภาษาท้องถิ่น เช่น พม่า ลาว เขมร (อันเป็นแหล่งลงทุนขนาดใหญ่ในอนาคตอันใกล้) สภาพทางสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่น อันรวมไปถึงศาสนา หรือแม้กระทั่งอาหารการกิน และความเป็นอยู่ของประเทศในกลุ่มอาเซียน

ตรงนี้ อยากให้ข้อสังเกตว่าพวกเราในประชาคมอาเซียนมีการแลกเปลี่ยนงานบริการด้าน ต่างๆ มาเป็นเวลานานแล้ว มีแรงงานข้ามชาติมานานแล้ว และเป็น AEC มานานแล้วในทางปฏิบัติ ณ ปัจจุบันก็ได้มีการส่งออก-นำเข้าวิศวกรต่างด้าวมาเป็นเวลานานแล้วเช่นกัน เพียงแต่วิศวกรต่างด้าวนั้นมาหรือไปทำงานแบบไม่เป็นทางการ (แม้อาจจะผิดกฎหมาย พ.ร.บ.วิศวกรของแต่ละประเทศ) โดยให้วิศวกรท้องถิ่นเป็นผู้ลงนามรับผิดชอบแทน การที่มีการออกใบอนุญาตวิศวกรอาเซียน (Asean Chartered Professional Engineer: ACPE) และใบอนุญาตวิศวกรต่างด้าว (Registered Foreign Professional Engineer: RFPE) จึงดูจะไม่มีผลในทางปฏิบัติมากนัก รวมทั้งยุ่งยากกว่าเดิมที่ต้องผ่านกระบวนการขออนุญาตมากมายหลายขั้นตอนด้วย ซ้ำ คือต้องพิสูจน์ว่าเป็นผู้ชำนาญการอย่างสูงในงานวิศวกรรม ซึ่งต้องผ่านการคัดกรองเป็นพิเศษจากสภาวิศวกรของแต่ละประเทศต้นทาง ก่อนไปขอการรับรองและประกาศอย่างเป็นทางการจากกรรมการระดับอาเซียน จากนั้นจึงเอาใบอนุญาตนี้ไปขอทำงานเป็นวิศวกรต่างด้าวในประเทศที่ตนเองอยาก ไปทำงานซึ่งจะได้หรือไม่ได้ก็ไม่มีการรับประกันใดๆ ทั้งสิ้น

 

นอกจากนี้ หากเป็นโครงการระหว่างประเทศ โดยเฉพาะงานประเภทโครงการเงินกู้ เจ้าของเงินกู้ก็มักบังคับให้ต้องส่งวิศวกรประเทศตนไปปฏิบัติงานในประเทศ นั้นๆ โดยกำหนดไว้ในสัญญากู้ เพื่อไปพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนอยู่แล้ว และประเทศผู้กู้ในบางกรณีก็อำนวยความสะดวกให้ส่งวิศวกรต่างด้าวมาทำงานใน ประเทศตนด้วยซ้ำ เพราะประเทศตนยังขาดแคลนวิศวกรชำนาญการ ซึ่งหากฝืนใช้วิศวกรท้องถิ่นของตนโดยลำพัง โครงการนั้นอาจจะออกมาวิบัติหรือล้มเหลวในขั้นสุดท้าย ซึ่งไม่เป็นผลดีใดๆ ต่อทั้งประเทศผู้กู้และผู้ให้กู้

ประเทศไทยก็เคยตกอยู่ในสภาพนี้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว

 

สรุป

ในความเห็นของผู้เขียน ยังไม่เห็นข้อดีหรือข้อได้เปรียบ ไม่ว่าในทางธุรกิจ การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ การประกอบวิชาชีพ หรือเชิงวิศวกรรม รวมทั้งปัญหาทางสังคม กับการที่รัฐบาลแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ไปลงนามข้อตกลง และ ‘บังคับ’ ให้ภาคปฏิบัติต้องมีการส่งออก-นำเข้าวิศวรต่างด้าวตามกฎเกณฑ์ใหม่ที่ยุ่งยาก และซับซ้อนกว่าเดิมนี้

 

ข้อสังเกต

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แม้จะได้เขียนโยงเฉพาะงานวิศวกรรม แต่งานบริการอื่นๆ เช่น บัญชี สถาปัตยกรรม แพทย์ พยาบาล ฯลฯ ที่กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตกลงจะแลกเปลี่ยนให้ส่งคนไปทำงานข้ามประเทศ ได้นั้น ก็คงมีหลักเกณฑ์พาสปอร์ตและวีซ่าพิเศษที่ว่านี้ไม่ต่างกัน นักวิชาชีพในงานบริการสาขาอื่นๆ ดังกล่าวจึงสามารถนำความเข้าใจนี้ไปใช้ปฏิบัติการได้เช่นกัน

หมายเหตุ:บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาวิศวกรหรือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่อย่างใด

 

 

========================================================