Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,631
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,048
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,363
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,322
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,834
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,947
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,916
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,181
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,968
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,747
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,686
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,889
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,205
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,631
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,075
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,962
17 Industrial Provision co., ltd 39,701
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,709
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,617
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,956
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,895
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,247
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,661
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,375
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,891
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,885
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,258
28 AVERA CO., LTD. 22,951
29 เลิศบุศย์ 21,975
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,743
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,637
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,245
33 แมชชีนเทค 20,239
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,496
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,460
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,208
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,884
38 SAMWHA THAILAND 18,656
39 วอยก้า จำกัด 18,311
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,887
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,734
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,663
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,650
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,583
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,511
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,507
47 Systems integrator 17,075
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,025
49 Advanced Technology Equipment 16,840
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,808
11/04/2557 18:42 น. , อ่าน 9,525 ครั้ง
Bookmark and Share
วิศวกรอาเซียนและวิศวกรเอเปค (1)
โดย : Admin

 

 

 

ธงชัย พรรณสวัสดิ์
ศาสตราจารย์กิตติคุณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และอดีตกรรมการสภาวิศวกร 2 สมัย

 

 

                เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าหมู่ประเทศอาเซียนจะต้องเปิดประตูการค้าและบริการให้แก่กันและกันตามข้อตกลงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในอีกไม่ถึง 2 ปีข้างหน้า  อาชีพวิศวกรรมก็เป็นงานบริการส่วนหนึ่งที่แต่ละประเทศต้องเปิดให้ส่งวิศวกรชาติ หนึ่งเข้าไปทำงานในอีกประเทศหนึ่งได้อย่างเสรีกว่าเดิม  ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีผลกระทบไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งไม่ว่าจะไปในทางบวกหรือ ลบก็ตาม
วิศวกร APEC กับ ACPE



                ก่อนที่จะลงไปในรายละเอียดเราต้องทำความรู้จักกับคำศัพท์ก่อนสองคำ นั่นคือ APEC และ ACPE สำหรับ APEC หรือ Asia-Pacific Economic Cooperation นั้นเป็นความพยายามที่จะให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอ เซีย-แปซิฟิก  ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือการอนุญาตให้วิศวกรในประเทศภาคีหนึ่งเข้าไปทำงานวิศวกรรม ในอีกประเทศภาคีได้ วิศวกรประเภทนี้เราเรียกว่า‘วิศวกรเอเปค’ ซึ่งปัจจุบันได้มีการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการไว้แล้วที่สภาวิศวกรจำนวน หลายร้อยคน พร้อมที่จะออกไปปฏิบัติงานได้  ทั้งนี้โดยสภาวิศวกรเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่คัดกรองผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะ สมก่อนที่จะให้ใบอนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรเอเปค



                ปัญหาคือ ความพยายามในการดำเนินงานให้เกิดความร่วมมือของ APEC นี้ยังเป็นแค่ความพยายาม  ยังไปไม่ถึงขั้นการลงนามข้อตกลงผูกพันระหว่างกันและกัน วิศวกรเอเปคที่ได้ ขึ้นทะเบียนไว้แล้วจึงเป็นวิศวกรเอเปคแต่เพียงในนาม(ซึ่งอาจฟังดูโก้)  แต่ยังไม่สามารถออกไปปฏิบัติงานข้ามประเทศได้จริง ระบบวิศวกรเอเปคจึงไม่มีผลใดๆ ต่อประเทศภาคีใดๆ ในภาวะปัจจุบัน

                วิศวกรข้ามชาติอีกประเภทหนึ่งเป็นกรณี ส่งวิศวกรต่างด้าวเข้าไปทำงานเฉพาะในประเทศในหมู่อาเซียนด้วยกันตามข้อตกลง ของ AEC  วิศวกรประเภทนี้เราเรียกว่า ACPE ซึ่งย่อมาจาก Asean Chartered Professional Engineer หรือ‘วิศวกรวิชาชีพตามกฎบัตรอาเซียน’  หรือเรียกกันสั้นๆว่า‘วิศวกรอาเซียน’ วิศวกร ประเภทหลังนี้สามารถเดินทางไปประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้อย่างเป็นทางการใน หมู่ภาคีประเทศอาเซียน  เพราะได้มีการลงนามในข้อตกลงกันแล้วอย่างเป็นทางการ   สำหรับประเทศไทยได้มีการลงนามตั้งแต่สมัย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ACPE

                ACPE หรือวิศวกรอาเซียนสามารถเดินทางเข้าไปทำงานวิศวกรรมในประเทศภาคีได้  กล่าวคือ วิศวกรไทยไปมาเลเซียได้  วิศวกรมาเลเซียไปบรูไนได้  วิศวกรบรูไนไปอินโดนีเซียได้  วิศวกรอินโดนีเซียไปพม่าได้   ดังนั้นวิศวกรพม่าและเขมรก็ต้องมาทำงานวิชาชีพทางวิศวกรรมในประเทศไทยได้ เช่นกัน  คือมีทั้งการส่งออกและนำเข้างานบริการทางวิศวกรรมของทุกประเทศภาคี



                แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าวิศวกรต่างด้าวเหล่านี้มีความรู้และประสบการณ์มากพอ  หากเป็นวิศวกรจากเขมรหรือลาวมา ทำงานในไทยเราจะเชื่อในความสามารถของเขาได้หรือไม่อย่างไร และหากเป็นวิศวกร มาเลเซียหรือสิงคโปร์ความเชื่อใจนั้นจะมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไรหรือไม่

                เนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าวิศวกร ต่างชาติที่จะมาทำงานในประเทศเรานั้นมีความสามารถมากพอหรือไม่  ซึ่งต่างประเทศเขาก็ต้องคิดเช่นนั้นกับวิศวกรไทยเช่นกัน ประเทศภาคีอาเซียน จึงได้จัดให้มีการเตรียมการแบบยอมรับซึ่งกันและกัน  ในรูปแบบที่เรียกว่า Mutual Recognition Arrangement หรือ MRA  (โปรดสังเกตว่าไม่ใช่‘ข้อตกลง’หรือ Agreement ที่ฝ่ายทางการไทยยังแปลและนำมาใช้อย่างผิดๆ อยู่) โดยให้แต่ละประเทศภาคีจัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของวิศวกรของ ตัวเองว่าใช้การได้ดีก่อนส่งออกนอกประเทศ เพื่อที่จะไปขออนุมัติขึ้นทะเบียนเป็นทางการอีกครั้งจากคณะกรรมการ ACPE ร่วมของทุกประเทศ(เรียกว่า ACPECC หรือ ACPE Coordinating Committee)  โดยคาดหวังว่าต่างคนต่างจะทำหน้าที่เข้มงวดในการคัดกรอง  ไม่ปล่อยให้วิศวกรที่ด้อยคุณภาพสามารถขึ้นทะเบียนวิศวกรอาเซียนได้ เพราะหาก เป็นเช่นนั้นระบบทั้งหมดก็จะพังทลายสิ้นทันที

                สำหรับประเทศไทย  สภาวิศวกรซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลการปฏิบัติวิชาชีพของวิศวกรทุกคนในประเทศ  เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ทำหน้าที่คัดกรองนี้  ทั้งนี้  มีข้อสังเกตอันเป็นที่น่าแปลกใจว่าประเทศไทยมีการขึ้นทะเบียนวิศวกรเอเปค (ซึ่งไม่มีผลทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ) อยู่หลายร้อยคน  แต่กลับยังไม่มีการขึ้นทะเบียนวิศวกรอาเซียนแม้แต่คนเดียวทั้งๆ ที่ขณะนี้มีข้อผูกพันกันและกันตามข้อตกลง AEC แล้ว  ใน ขณะที่สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มีการขึ้นทะเบียนวิศวกรอาเซียนแล้วหลายร้อยคนในแต่ละประเทศ  เรียกว่าพร้อมบุกไทยแล้วหากกฎระเบียบอื่นๆ ในไทยเรียบร้อย  ซึ่งจากข้อตกลง AEC  ทุกประเทศมีภารกิจที่ต้องปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบให้ส่งวิศวกรข้ามประเทศ (คือเข้ามาในไทยด้วย) ให้ได้เร็วที่สุด  ปัจจุบันสภาวิศวกรได้จัดทำร่างระเบียบว่าด้วยการออกใบอนุญาตวิศวกรอาเซียน ของไทยเสร็จเรียบร้อยแล้ว  คาดว่าจะขึ้นทะเบียนออกใบอนุญาตวิศวกรอาเซียนของไทยได้เรือนพันภายในครึ่งปี หน้า  เพื่อเตรียมพร้อมส่งวิศวกรไทยออกไปบุกไปในประเทศภาคีอาเซียนเช่นกัน

จำนวนวิศวกรวิชาชีพอาเซียนที่ได้รับการรับรองจาก ACPECC แล้ว ในประเทศต่างๆ ณ พ.ย. 2556

วิศวกร AEC

 

พาสปอร์ตกับวีซ่าในบริบทวิศวกรต่างด้าว

                ในการเดินทางไปต่างประเทศ  ทุกคนต้องมีหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่คัดกรองคนของตัวเอง (หรือคนไทยในกรณีของประเทศไทย)ว่ามีคุณสมบัติดีพอที่เมื่อไปยังประเทศคนอื่น แล้ว จะไม่ไปทำให้ประเทศอื่นนั้นเสียหายไม่ว่าเรื่องใดๆ  พูดง่ายๆ คือกระทรวงการต่างประเทศแต่ละประเทศมีหน้าที่การันตีคนของประเทศตนเองนั่น เอง


                ใบขึ้นทะเบียนหรือใบอนุญาตเป็น วิศวกรอาเซียนก็เปรียบเสมือนเป็นพาสปอร์ตพิเศษอีกใบสำหรับวิศวกรที่ต้องการ เดินทางไปทำงานวิชาชีพในต่างประเทศ  และสภาวิศวกร(ไทย) ทำหน้าที่เสมือนเป็นกระทรวงการต่างประเทศ (ของไทย)    ดังนั้นหากวิศวกรไทยต้องการไปทำงานต่างประเทศก็จำต้องมีพาสปอร์ตปกติหนึ่ง เล่มและพาสปอร์ตพิเศษ (ใบอนุญาตวิศวกรอาเซียน) อีกหนึ่งเล่ม  จึงจะเดินทางได้


                แต่การมีพาสปอร์ตแล้วก็ไม่ได้หมายความ ว่าจะเข้าประเทศอื่นได้โดยอัตโนมัติถ้าเขาไม่ให้เข้า หลักปฏิบัติทั่วไปคือ ประเทศเจ้าของบ้านจะขอตรวจดูเอกสารอีกครั้ง รวมทั้งฐานะทางการเงินและอื่นๆ ของแต่ละคนก่อนที่จะตัดสินว่าจะยินยอมให้เข้าประเทศหรือไม่  ซึ่งเอกสารนี้ก็คือวีซ่านั่นเอง



                ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอาเซียนก็ เช่นกัน  นอกจากจะมีใบอนุญาตวิศวกรอาเซียนแล้ว วิศวกรแต่ละคนยังจำต้องมีวีซ่าพิเศษ อีกฉบับออกโดยประเทศเจ้าของบ้าน (Host Country)ที่เราจะเข้าไปทำงาน เช่น ลาว ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์  จึงจะเข้าไปปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศเจ้าของบ้านนั้นๆ ได้ วีซ่าพิเศษนี้เรียกว่า RFPEหรือ Registered Foreign Professional Engineer  หรือ ‘วิศวกรวิชาชีพต่างด้าวขึ้นทะเบียน’  ซึ่งสภาวิศวกร (ไทย) อีกเช่นกันที่จะเป็นหน่วยงานออกวีซ่าพิเศษหรือ RFPE ให้กับวิศวกรต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในไทย  หากวิศวกรผู้หนึ่งต้องการไปทำงานในหลายประเทศก็ต้องขอเป็น RFPE ในประเทศนั้นๆ ทุกประเทศโดยใช้ใบอนุญาตวิศวกรอาเซียน ACPE ของตนเพียงใบเดียว

                เมื่อมีเอกสารทั้งหมดสองชิ้นนี้แล้ว  วิศวกรหรือบริษัท‘ท้องถิ่น’ที่เราจะไปทำงานด้วยจึงจะสามารถเดินเรื่องไปที่กระทรวงแรงงานและกระทรวงพาณิชย์ (หากต้องการไปเปิดบริษัทและทำธุรกิจที่ประเทศนั้นๆ)ต่อไป
สรุปคือ  วิศวกรอาเซียนหากประสงค์จะไปทำงานในประเทศภาคีอาเซียน  ต้องมีเอกสาร 4 ชิ้น คือ หนังสือเดินทาง (ปกติ)  ใบอนุญาตวิศวกรอาเซียน(รับรองโดยประเทศต้นทาง และออกโดยกรรมการประสานงาน ACPECC)  วีซ่าปกติ (ยกเว้นบางประเทศที่ยอมให้เข้าได้โดยไม่ต้องมีวีซ่า)  และวีซ่าพิเศษหรือใบอนุญาต RFPE (ซึ่งต้องขอและได้รับจากประเทศปลายทางก่อนเดินทางไปปฏิบัติงานวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศปลายทางนั้นๆ)



ความรับผิดชอบของวิศวกรต่างด้าว RFPE

                ตามกฎหมายแล้วไม่ว่าในประเทศใด  วิศวกรวิชาชีพเมื่อออกแบบและลงนามในแบบแปลน  ถือได้ว่าวิศวกรผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบเต็มตัว(ที่บางคนกล่าวว่าขาข้าง หนึ่งไปอยู่ในตะรางแล้ว)  เช่น  หากมีการก่อสร้างและ ตึกพัง มีผู้เสียชีวิตหรือทรัพย์สินเสียหาย  วิศวกรผู้นั้นต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับแพทย์ที่เมื่อรักษาคนไข้และคนไข้เสียชีวิต แพทย์ผู้นั้นก็ต้องรับผิดชอบเช่นกัน ซึ่งหากจะไม่ต้องรับโทษก็ต้องมีการ พิสูจน์ว่ามิใช่เป็นความผิดของตน
หากวิศวกรหรือแพทย์ผู้นั้นเป็นวิศวกรไทยหรือนายแพทย์ไทย ที่ปฏิบัติงานและมีที่พักเป็นหลักแหล่งอยู่ในไทย การติดตามตัวมาให้รับผิด ชอบก็เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก แต่หากเป็นวิศวกรต่างด้าว RFPE ที่สามารถกลับไปประเทศของตนเมื่อไรก็ได้  ในกรณีเช่นนี้เราจะติดตามตัวมาให้แสดงความรับผิดชอบได้อย่างไร


                ทุกประเทศที่ลงนามในข้อตกลงอนุญาตให้นำ เข้าวิศวกรต่างด้าวมาทำงานในประเทศตน ต่างเห็นปัญหานี้  จึงได้ร่วมกันกำหนดให้วิศวกรต่างด้าว RFPE ไม่สามารถปฏิบัติวิชาชีพเป็นอิสระได้ด้วยตนเอง แต่จะต้องให้วิศวกรท้องถิ่นหรือ วิศวกรของประเทศเจ้าบ้าน (Host) เป็นผู้รับรองเสียก่อน วิศวกรอาเซียนที่มีใบอนุญาต ACPE ผู้นั้นจึงจะสามารถไปขอขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรต่างด้าว RFPE ได้  แต่ทั้งนี้วิศวกรต่างด้าว RFPE ไม่สามารถลงนามเป็นผู้รับผิดชอบในแบบแปลนที่ต้องยื่นอย่างเป็นทางการต่อทาง การได้ ด้วยอุปสรรคและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมาในภายหลังได้ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ข้างต้น  รวมทั้งจะต้องทำงานแบบมีวิศวกรท้องถิ่นร่วมทำงานประกบอยู่ด้วยเสมอ

========================================================