Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,983
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,577
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,988
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,771
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,462
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,551
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,508
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,345
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,447
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,358
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,510
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,585
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,128
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,517
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,224
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,373
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,297
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,621
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,439
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,851
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,957
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,581
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,946
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,684
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,379
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,245
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,869
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,185
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,138
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,798
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,602
38 SAMWHA THAILAND 18,291
39 วอยก้า จำกัด 17,897
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,476
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,325
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,301
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,237
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,207
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,132
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,066
47 Systems integrator 16,710
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,629
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,454
50 Advanced Technology Equipment 16,442
25/10/2556 13:39 น. , อ่าน 10,681 ครั้ง
Bookmark and Share
เรโซแนนซ์ในระบบไฟฟ้าคืออะไร? อันตรายจริงหรือ?
โดย : Admin

 “ เรโซแนนซ์ ”

      วิศวกรไฟฟ้าอิเล็ทรอนิกส์ทุกท่านคงคุ้นเคยกับคำนี้ อาจจากวิชาเรียนวงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ว่ามีประโยชน์ในการเลือกกรองความถี่ที่ต้องการหรือเป็นการกำหนดความถี่ของการทำงานของวงจร

   แต่ถ้าเป็นท่านที่เกี่ยวข้องกับการดูแลระบบไฟฟ้าคงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เรโซแนนซ์กับระบบไฟฟ้าของตัวเองเป็นแน่ เพราะการเกิดเรโซแนนซ์ในระบบไฟฟ้ากำลังแต่ละครั้งจะสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับระบบอย่างแน่นอนไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว ซึ่งหากถ้าโชคดีอุปกรณ์ป้องกันที่ติดตั้งในระบบสามารถหยุดการทำงานได้ทันก็สามารถป้องกันความเสียหายรุนแรงเฉพาะหน้าได้

    แต่ที่แน่ๆ ก็คือ จะเกิด Down time ขึ้นในขณะนั้นเป็นเหตุให้การผลิตหรือธุรกิจของท่านต้องหยุดการผลิตชั่วคราวเพื่อหาสาเหตุของความผิดปกตินั้น โชคดีและโชคร้ายที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อมๆกันก็คือ โชคดีอุปกรณ์ป้องกันสามารถทำงานได้ทันจึงไม่เกิดความเสียหายร้ายแรง แต่โชคร้ายที่จะตามมาก็คือหลังจากท่านไม่พบความผิดปกติใดๆ

   ในระบบและตัดสินใจสับเบรกเกอร์เพื่อเริ่มการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบอีกครั้งหนึ่งนั้นอุปกรณ์ป้องกันหรือเบรกเกอร์ก็จะตัดการทำงานอีก หากท่านยังพยายามจ่ายกระแสเข้าระบบให้ได้โชคร้ายที่สุดหรืออันตรายและความเสียหายจะเกิดกับระบบไฟฟ้าของท่านอย่างแน่นอน อย่างนั้นแล้วเราจะทำอย่างไรกันดี เรามีคำตอบให้ท่านแน่นอนแต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับที่มาที่ไปของปรากฏการณ์เรโซแนนซ์ในระบบไฟฟ้ากันก่อนที่จะหาทางกำจัดมันหรือป้องกันไม่ให้เกิดกับระบบไฟฟ้าที่ท่านดูแลอยู่ 


เรโซแนนซ์แบบขนาน (Parallel Resonance)

รูปที่ 1(a) การติดตั้ง Capacitor Bank ที่ตำแหน่งใกล้หม้อแปลงและแหล่งกระแสฮาร์มอนิก
รูปที่ 1(b) วงจรสมมูลย์ของอิมพีแดนซ์แหล่งจ่าย (Xsource) หม้อแปลง (XT) และ Capacitor Bank (XC)



รูปที่ 1(a) แสดงผลจากการที่เราติดตั้ง Capacitor Bank เข้าไปในระบบไฟฟ้าโดยมีการติดตั้งใกล้กับหม้อแปลงที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบ วงจรสมมูลย์ในรูป 1(b) แสดงวงจรสมมูลย์ของหม้อแปลงและ Capacitor Bank ที่กลายเป็นวงจรเรโซแนนซ์แบบขนานโดยมีแหล่งกำเนิดกระแสฮาร์มอนิก (Ih) ที่เกิดจาก Non-linear loaded ที่ใช้งานในระบบ

รูปที่ 2 อิมพีแดนซ์และการตอบสนองความถี่ที่ฮาร์มอนิกอันดับต่างๆ
ของวงจรเรโซแนนซ์แบบขนานเมื่อขนาด kVar ของ Capacitor Bank เพิ่มขึ้น



รูปที่ 2 แสดงอิมพีแดนซ์และการตอบสนองความถี่ที่ฮาร์มอนิกอันดับต่างๆ ของวงจรเรโซแนนซ์แบบขนานเมื่อขนาด kVar ของ Capacitor Bank เพิ่มขึ้น โดยจะสังเกตได้ว่าถ้าเราไม่ได้ติดตั้ง Capacitor Bank เข้าไปอิมพีแดนซ์ของระบบจะเพิ่มขึ้นเป็นเชิงเส้นเมื่อความถี่สูงขึ้น (No Capacitance) และเมื่อเราใส่ Capacitor Bank เข้าไปในระบบก็จะเกิดการตอบสนองแบบเรโซแนนซ์ขนานและเมื่อเพิ่มขนาด kVar ของ Capacitor Bank สูงขึ้นความถี่เรโซแนนซ์ก็จะลดลงดังแสดงในรูป สิ่งที่เป็นปัญหากับระบบไฟฟ้าของเราจากรูปนี้ก็คือ ถ้ากระแสฮาร์มอนิกที่เกิดจากโหลดที่ใช้งานในระบบเกิดตรงกับจุดเรโซแนนซ์ของวงจร จะเกิดการขยายแรงดันที่ความถี่ของฮาร์มอนิกอันดับนั้นๆ อันเป็นผลให้แรงดันที่หม้อแปลงเกิด THDv และแรงดันยอดคลื่นสูงซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่ออุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ได้รับแรงดันนี้ และแรงดันที่ตัว Capacitor Bank เองก็มีโอกาศสูงเกินพิกัดทำงานอันเป็นสาเหตุให้เสียหายรุนแรงหรือระเบิดได้


รูปที่ 3 ภาพแรงดันและกระแส Capacitor Bank ขณเกิด Parallel Resonance



เรโซแนนซ์แบบอนุกรม (Series Resonance)

(a)
(b)
 
รูปที่ 4(a) การติดตั้ง Capacitor Bank ที่ตำแหน่งใกล้โหลดและแหล่งกระแสฮาร์มอนิกที่มาจากหลายแหล่ง
รูปที่ 4(b) วงจรสมมูลย์ของอิมพีแดนซ์แหล่งจ่าย (Xsource) หม้อแปลง (XT) และ Capacitor Bank (XC) ที่ทำให้เกิดวงจรเรโซแนนซ์แบบอนุกรม


รูปที่ 4(a) แสดงสาเหตุการเกิดเรโซแนนซ์แบบอนุกรมในระบบและ 4(b) แสดงวงจรสมมูลย์ โดยปกติแล้วเรโซแนนซ์แบบอนุกรมจะเกิดร่วมกับแบบขนาน โดยการเกิดเรโซแนนซ์แบบอนุกรมนี้จะทำให้ขยายกระแสฮาร์มอนิกอันดับที่ตรงกับความถี่เรโซแนนซ์ซึ่งจะทำให้เกิดกระแสไหลสูงมากในตัว Capacitor Bank และเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายของ Capacitor Bank สายตัวนำ และอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ได้ อย่างที่กล่าวไปแล้วการเกิดเรโซแนนซ์แบบนี้จะมีทั้งกระแสและแรงดันสูงนอกจากนั้นจุดเรโซแนนซ์ของระบบก็จะมีหลายจุดด้วยทำให้เวลาตรวจวัดจะพบกระแสฮาร์มอนิกที่อันดับต่างๆ เยอะมากในระบบดังแสดงตัวอย่างผลการตรวจวัดในรูปที่ 5

 

รูปที่ 5 ตัวอย่างรูปคลื่นแรงดันและกระแสที่ Capacitor Bank ขณะเกิดการเรโซแนนซ์ทั้งแบบขนานและอนุกรมพร้อมกัน

 

 

บทความนี้ร่วมเผยแพร่ความรู้ โดยบริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด

นายเอ็นจิเนียร์ขอขอบคุณอย่างสูงด้วยใจจริง

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการศึกษาบทความเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ www.pq-team.com

========================================================