Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,989
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,785
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,511
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,354
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,362
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,593
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,132
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,526
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,624
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,449
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,385
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,894
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,800
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,902
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,480
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,304
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,216
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,135
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
30/07/2555 07:37 น. , อ่าน 7,135 ครั้ง
Bookmark and Share
สิ่งที่ควรทำ-ไม่ควรทำสำหรับผู้สมัครงาน
โดย : Admin

             ที่มา:  คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์
โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์     
ประชาชาติธุรกิจ 1 ส.ค.2555

 

 

 

 

ผมหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาคุยกันเพราะเห็นว่าเป็นช่วงของการรับปริญญาในหลายสถาบัน หลังจากนี้บัณฑิตใหม่จะต้องเข้าสู่โลกของการทำงาน ซึ่งหลายคนต้องไปสมัครงาน และในที่สุดต้องพบกับด่านสุดท้ายคือการสัมภาษณ์ เลยอยากจะให้ข้อแนะนำสำหรับน้อง ๆ ที่จะไปสัมภาษณ์ว่าควรหรือไม่ควรทำอะไรบ้างดังนี้ครับ

ควร

1.ศึกษาข้อมูลขององค์กรที่เราจะไปสัมภาษณ์ในเบื้องต้นก่อน เพราะหลายครั้งที่ผู้สมัครงานไปถามผู้สัมภาษณ์ว่าที่บริษัทนี้ทำธุรกิจอะไร ? แหมจะมาสัมภาษณ์ทั้งทีไม่ยอมทำการบ้านหาข้อมูลมาอย่างนี้แล้วจะให้กรรมการสัมภาษณ์ เขาจะคิดยังไงล่ะครับ

เคยได้ยินคำว่า "รู้เขา...รู้เรา" ใช่มั้ยครับ

2.ไปถึงสถานที่สัมภาษณ์ก่อนเวลา อันนี้สำคัญนะครับ เพราะถ้าไปสายจะทำให้เสียความน่าเชื่อถือไปไม่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้สมัครรายอื่นที่เขาไปก่อนเวลา และหากมีความจำเป็นกะทันหัน ไม่สามารถไปสัมภาษณ์ได้ตามที่นัดหมาย ควรรีบโทรศัพท์ติดต่อกับฝ่ายบุคคลที่นัดเราทันที

ไม่ใช่รอให้เขาโทร.มาตามนะครับ เรื่องนี้มักจะเจอบ่อยสำหรับผู้สมัครงานในยุคนี้ คือไปตามนัดไม่ได้ก็ไม่ติดต่ออะไรมาเลย ที WhatsApp หรือโทร.คุยกับแฟนยังมีเวลา แต่พอเรื่องนี้กลับไม่ยอมติดต่อกลับซะงั้น

3.แต่งกายให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจขององค์กรนั้น ๆ ซึ่งผู้สมัครงานต้องหาข้อมูลทำการบ้านไปก่อน เช่น ไปสัมภาษณ์กับธนาคาร หรือบริษัทที่ต้องการความน่าเชื่อถือ ก็ควรจะต้องผูกเนกไท เป็นต้น

4.แสดงภาษากาย การพูด และใช้

น้ำเสียงที่แสดงให้เห็นว่าเรากระตือรือร้นสนใจในงานที่มาสมัคร พูดจาฉะฉานชัดถ้อยชัดคำ ยิ้มแย้มแจ่มใสแสดงความมั่นใจในตัวเองอย่างมีเหตุมีผล รู้จักซักถามในเนื้อหาของงานในตำแหน่งที่

สมัคร เพื่อแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าเราสนใจในงานนั้น และต้องการจะทำงานจริง ๆ

5.ปิดโทรศัพท์ หลายครั้งที่ผู้สมัครเสียคะแนนเพราะเรื่องนี้แหละครับ ปิดโทรศัพท์ในช่วงเวลาสัมภาษณ์คงจะไม่ทำให้ถึงกับไม่มีสมาธิในการสัมภาษณ์ จริงไหมครับ

ไม่ควร

1.ไม่ยกมือไหว้ทักทายกรรมการสัมภาษณ์ เป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่ผมมักจะพบ คือผู้สมัครงานจะผงกหัวทักทายกรรมการสัมภาษณ์ แทนที่จะใช้วัฒนธรรมไทย ๆ ที่รู้จักกันทั่วโลกคือการไหว้ ถ้าท่านเป็นกรรมการสัมภาษณ์จะรู้สึกยังไงครับ แถมถ้าตำแหน่งงานนี้ต้องเป็นตำแหน่งที่จะต้องติดต่อกับลูกค้ารายใหญ่ ๆ (ที่เป็นคนไทย) ด้วยจะเหมาะหรือไม่

2.ซักถามวนเวียนแต่เรื่องเงินเดือนหรือสวัสดิการ ปกติผู้สมัครงานจะเขียนอัตราเงินเดือนที่ต้องการลงไปในใบสมัครอยู่แล้ว (ซึ่งควรจะต้องใส่เงินเดือนที่ต้องการลงไป ไม่ควรทิ้งว่างไว้นะครับ) ซึ่งกรรมการสัมภาษณ์เขาจะรู้อยู่แล้ว ผมมักจะพบว่ามีผู้สมัครงานจำนวนไม่น้อยไม่สอบถามเรื่องงานมากนัก แต่ถามว่าจะได้เงินเดือนเท่าไหร่ สวัสดิการมีอะไรบ้าง

ลองคิดดูสิครับ ในเมื่อกรรมการสัมภาษณ์ยังสัมภาษณ์ผู้สมัครงานรายอื่น ๆ ยังไม่เสร็จ และก็ยังไม่รู้ว่าท่านจะได้รับการคัดเลือกเป็นพนักงานหรือไม่ การถามเรื่องเงินเดือนจะมีประโยชน์อะไรล่ะครับ ?

แต่ถ้าท่านผ่านการคัดเลือก และทางบริษัทเขาตกลงรับเราเข้าทำงานแล้ว ยังไงฝ่ายบุคคลเขาจะต้องติดต่อกลับมาแล้วเจรจาเรื่องเงินเดือน สวัสดิการอีกครั้งอยู่ดี ซึ่งตอนนี้แหละที่ผู้สมัครจะได้เคลียร์กันให้ชัดเจนจะดีกว่า

ดังนั้น สู้เอาเวลาไปถามเรื่องงาน เพื่อให้กรรมการสัมภาษณ์เขาเห็นว่าเราเป็นคนที่เอาเรื่องงานมาก่อนเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวไม่ดีกว่าหรือครับ เพราะองค์กรต้องการคนที่ Give ก่อน Take ครับ

3.พูดคุยอวดอ้างสรรพคุณจนเกินจริง ผู้สมัครหลายคนชอบพูดคุยความสามารถด้านต่าง ๆ ของตัวเองจนดูเว่อร์ในสายตาของกรรมการสัมภาษณ์ หรือบางคน

พูดอวดเครือข่ายสายสัมพันธ์คอนเน็กชั่นว่ารู้จักคนใหญ่คนโต ซึ่งเป็นเรื่องไม่ควรทำครับ

4.ถ่อมตัวจนเกินเหตุ คือผู้สมัครงานบางคนถ่อมตัวจนเกินไป เช่น กรรมการสัมภาษณ์ถามว่า สมัยเรียนหนังสือคุณทำกิจกรรมอะไรบ้าง ก็ตอบว่า "ผมเป็นประธานชมรม...ครับ แต่ก็เป็นชมรมเล็ก ๆ

ที่ไม่ค่อยเป็นที่สนใจของนักศึกษาในสถาบันสักเท่าไหร่..." เลยดูเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง หรือมั่นใจในคุณค่าของงานที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่ไปเลย

5.รู้แต่เรื่องในตำราเรียนเพียงอย่างเดียว ในเรื่องนี้หมายถึงผู้สมัครงานโดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาหลาย ๆ คนที่ผมพบมาจะตอบคำถามได้แต่เฉพาะเรื่องที่เรียนมาเท่านั้น แต่พอถามเรื่องความรู้รอบตัว เช่น

"เมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 คุณคิดว่าจะมีผลกระทบอะไรกับประเทศไทยบ้าง ?"

หลายคนก็อึ้ง ถึงกับไปไม่เป็นเลยทีเดียว แถมอาจจะยังถามกลับมาอีกว่า "AEC แปลว่าอะไร" เสียอีก ดังนั้นจำเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้รอบตัว

เช่น เรื่องของเศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง, ต่างประเทศ, เทคโนโลยี, ศิลปวัฒนธรรม, การเกษตร ฯลฯ เอาไว้ด้วย เรียกว่าถ้าใครอ่านมาก สนใจหาความรู้รอบตัวใส่ตัวมาก ก็จะสามารถพูดคุยกับกรรมการสัมภาษณ์ได้รอบด้านกว่าคนอื่น

จากที่ผมบอกมาในเบื้องต้น คงพอเป็นแนวทางให้กับนิสิตนักศึกษาใหม่ที่กำลังจะจบการศึกษาได้ข้อคิดในการ

เตรียมตัวก่อนที่จะไปสัมภาษณ์กันแล้ว

ขอให้โชคดีและประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานนะครับ

 

========================================================