Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,366
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,517
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,934
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,688
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,413
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,491
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,455
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,764
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,251
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,387
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,308
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,450
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,490
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,072
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,420
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,496
17 Industrial Provision co., ltd 39,162
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,320
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,240
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,384
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,800
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,156
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,904
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,521
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,460
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,890
28 AVERA CO., LTD. 22,535
29 เลิศบุศย์ 21,635
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,318
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,186
32 แมชชีนเทค 19,835
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,804
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,128
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,080
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,550
38 SAMWHA THAILAND 18,238
39 วอยก้า จำกัด 17,828
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,416
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,242
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,187
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,139
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,079
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,005
47 Systems integrator 16,656
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,576
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,398
50 Advanced Technology Equipment 16,383
15/11/2553 21:21 น. , อ่าน 18,966 ครั้ง
Bookmark and Share
คุณควรทำตัวอย่างไรเพื่อไม่ให้ถูก 'ฟ้าผ่า' ?
โดย : Admin

     บัญชา ธนบุญสมบัติ 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 

 

 



ในช่วงเวลาที่มีฝนฟ้าคะนอง ไม่ว่าจะเป็นช่วงหน้าร้อนซึ่งมี พายุฤดูร้อน หรือหน้าฝนซึ่งมีฝนตกชุก สิ่งที่น่ากลัวซึ่งมาพร้อมกับฝนฟ้าคะนองก็คือ ฟ้าผ่า จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเราควรจะเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับฟ้าผ่าและการทำตัวให้ถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกฟ้าผ่า

 

 

      แม้ว่าคุณจะไม่ได้ไปแตะต้องกับอะไรก็ตามที่ถูกฟ้าผ่าโดยตรง ถ้าคุณอยู่ใกล้สิ่งนั้นเกินไป หรืออยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม คุณก็อาจเป็นอันตรายได้อีกเช่นกัน!

 

 

เปิดโปงความจริงเกี่ยวกับฟ้าผ่า

  ฟ้าผ่าเกิดจากการที่ประจุไฟฟ้าวิ่งจากก้อนเมฆลงมาที่พื้นดิน (หรือกลับกันก็ได้) ประจุไฟฟ้าอาจจะวิ่งอยู่ในก้อนเมฆ หรือวิ่งจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่งที่เรียกว่า ฟ้าแลบ
แต่เป็นไปได้อีกเหมือนกันที่ประจุไฟฟ้าอาจวิ่งจากก้อนเมฆตรงดิ่งไปยังปีกของเครื่องบินที่คุณนั่งอยู่ (ในกรณีนี้ก็สวดมนต์กันเองว่าอย่าให้เครื่องยนต์มีอันเป็นไปนะครับ)

     

           เราลองมาดูกรณีที่ฟ้าผ่าจากเมฆสู่พื้นกันดีกว่า เพราะเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ หลักการสำคัญมีอยู่ว่า สายฟ้ามักจะฟาดเปรี้ยงลงมายังจุดที่สูงที่สุดในบริเวณหนึ่ง ๆ  ความจริงสายฟ้ามีโอกาสที่จะจะฟาดลงไปยังจุดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่จุดที่สูงที่สุดด้วยเช่นกัน แต่ยิ่งสูง โอกาสถูกหวยก็ยิ่งมาก



ฟ้าผ่าต้นไม้สูงเนื่องจากอยู่โดดเด่นในบริเวณที่โล่ง
 


ประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ จุดที่สายฟ้าฟาดนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นโลหะหรือตัวนำไฟฟ้าชั้นดีก็ได้  ฟ้าผ่ายอดต้นไม้สูงก็มีถมไป ในกลางทุ่งโล่งซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ไม่กี่ต้น สายฟ้ามักจะผ่าลงไปที่ต้นไม้ใหญ่ที่สูงที่สุด หรือในที่ ๆ มีบ้านเรือนอยู่ ฟ้าก็มักจะผ่าจุดที่สูงที่สุดของบ้าน ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้วิศวกรก็ติดตั้งสายล่อฟ้าในส่วนที่สูงที่สุดของอาคาร

แต่เรื่องที่น่าฉงนและต้องรู้เอาไว้ก็คือ แม้ว่าสายฟ้าจะไม่ฟาดถูกตัวคุณจัง ๆ มันก็สามารถทำอันตรายคุณได้!  เอ๊ะ! ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?
 

สมมติว่าคุณหลบอยู่ใต้ต้นไม้ที่ถูกฟ้าผ่า แล้วเผลอไปแตะต้องส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ ก็แน่นอนว่าไฟฟ้าจะวิ่งเข้าตัวคุณ คล้าย ๆ กับตอนที่คุณถูกตู้เย็นหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าดูดนั่นล่ะครับ เรื่องนี้ตรงไปตรงมา

แต่ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้ไปแตะต้องกับอะไรก็ตามที่ถูกฟ้าผ่าโดยตรง ถ้าคุณอยู่ใกล้สิ่งนั้นเกินไป หรืออยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม คุณก็อาจเป็นอันตรายได้อีกเช่นกัน! อันตรายจากฟ้าผ่าแบบนี้มี 2 ลักษณะดังนี้
   


กรณีที่ 1 - Side Flash
 : 

  กระแสไฟฟ้าที่วิ่งลงมาตามลำต้นของต้นไม้ที่ถูกฟ้าผ่าอาจจะเปลี่ยนใจกระโดดเข้าหาคุณ ดังนั้นจึงไม่เหมาะแน่ถ้าคุณคิดจะยืนหลบฝนฟ้าคะนองอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือโครงสร้างอื่น ๆ เช่น ศาลากลางสวนที่ตั้งอยู่โทนโท่โดยไม่มีสายล่อฟ้า ลักษณะนี้นักวิชาการจะบอกว่า อันตรายเกิดจาก ไซด์แฟลช (side flash) ซึ่งผมขอแปลหลวม ๆ ว่า ‘ไฟฟ้าแลบจากด้านข้าง’ ก็แล้วกัน

Side Flash - แม้ชายหนุ่มเคราะห์ร้ายจะไม่ได้แตะส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่ถูกฟ้าผ่าโดยตรงเลยก็ตาม แต่กระแสไฟฟ้าก็อาจจะกระโดดเข้าจู่โจมเขาจากด้านข้างได้

 

กรณีที่ 2 - Step Voltage : ในกรณีที่เจ้าวัวยืนอยู่ใกล้ ๆ ต้นไม้ที่ถูกฟ้าผ่านั้น ไฟฟ้าที่วิ่งลงมาตามต้นจะไหลออกสู่พื้นดินโดยรอบในแนวรัศมี ดังนั้น ไฟฟ้าที่ไหลมาตามพื้นก็จะวิ่งเข้าทาง 2 ขาหน้าของวัว ผ่านลำตัว และออกไปทาง 2 ขาหลัง ครบวงจรพอดี!

สัตว์ที่อยู่ในทุ่งโล่งนั้นตายเพราะสาเหตุนี้มานักต่อนักแล้ว (ไม่ได้ตายเพราะ กระดิ่งผูกคอโลหะเป็นตัวล่อสายฟ้า อย่างที่เป็นข่าวเมื่อไม่นานมานี้ ในบ้านเรานี่แหละ)  สำหรับลักษณะนี้เรียกว่า อันตรายเกิดจาก ความต่างศักย์ต่างกันในแต่ละจุด (step voltage) หรือ กระแสที่ไหลมาตามพื้น (ground current) ก็ได้

 

Step Voltage - วัวเคราะห์ร้ายอาจถูกไฟฟ้าทำอันตรายได้ แม้ว่าจะไม่ได้ถูกฟ้าผ่าโดยตรงก็ตาม
(ภาพจากหนังสือ The Flying Circus of Physics with Answers เขียนโดย Jearl Walker หน้า 164)

 

คุณควรทำตัวอย่างไร ในสภาวการณ์ที่อาจเกิดฟ้าผ่า?

ถ้าคุณอยู่ในที่โล่ง และหาที่หลบได้ : 

  • รีบหาที่หลบที่ปลอดภัย เช่น อาคารขนาดใหญ่ หรือรถยนต์ที่ปิดกระจกมิดชิด แต่อย่าอยู่ใกล้ผนังอาคาร และอย่าแตะตัวถังรถ เป็นอันขาด

  • ที่สำคัญ อย่ายืนหลบใต้ต้นไม้สูงเป็นอันขาด (ยกเว้นว่าคุณอยากรู้ว่า “ไซด์แฟลช” นั้นเป็นยังไง!)

ถ้าคุณอยู่ในที่โล่ง และหาที่หลบไม่ได้ : 

  • ให้ “หมอบนั่งยอง ๆ เท้าชิดกัน” หมอบนั่งเพื่อให้ตัวอยู่ต่ำที่สุด ส่วนเท้าชิดก็เพื่อลดพื้นที่สัมผัสพื้นให้น้อยเข้าไว้ ดังภาพซ้ายมือ (สังเกตว่า คนในภาพเขย่งปลายเท้าด้วย เพื่อให้พื้นที่สัมผัสน้อยที่สุด)  แต่ถ้าทนเมื่อยไม่ไหว ก็ลองภาพขวามือก็ได้ 

 

  • ที่สำคัญคือ อย่านอนหมอบกับพื้น เพราะท่านอนทำให้คุณมีจุดสัมผัสพื้นหลายจุด (ลองทำดูจะเข้าใจ) ซึ่งหากเกิดฟ้าผ่าลงมาใกล้ๆ คุณ กระแสไฟฟ้าอาจจะวิ่งมาตามพื้น เข้าทางจุดหนึ่ง แล้วออกอีกจุดหนึ่ง แต่ระหว่างทางอาจเลี้ยวแวะเข้าสู่หัวใจ หรือไขสันหลังของคุณได้นะ ...จะบอกให้! ;-P

ถ้าคุณอยู่ในบ้านหรืออาคาร : 

  • ให้อยู่ห่าง ๆ ประตูและหน้าต่าง แล้วถอดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นออกให้หมด  อย่าลืมดึงสายอากาศของโทรทัศน์ออกด้วย เพราะสายฟ้าอาจผ่าลงที่เสาอากาศบนหลังคาบ้าน แล้ววิ่งเข้าสู่โทรทัศน์ของคุณได้


ขณะอยู่ในบ้าน อย่าใช้โทรศัพท์ (เพราะสายโทรศัพท์เป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างดี) อย่าเพิ่งอาบน้ำ และปิดแอร์ให้เรียบร้อย

ถ้าคุณอยู่ในรถ :

  • ให้ปิดประตูและหน้าต่างรถให้สนิท อย่าแตะต้องกับส่วนที่สัมผัสกับตัวถังรถ

 

เมื่อเพื่อนๆ ชาว GotoKnow เข้าใจพื้นฐานของฟ้าผ่าและวิธีลดความเสี่ยงจากการที่จะถูกฟ้าผ่าแล้ว ก็คงจะทำตัวได้อย่างถูกต้อง และอย่าลืมส่งต่อความรู้-ความเข้าใจนี้ไปให้คนรอบข้างด้วยนะครับ

 

ที่เล่าให้ฟังไปทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องจริง...สาบานได้.....ถ้าไม่จริง ขอให้ฟ้าผ่าบ้านเจ้าพ่อยาบ้าสิเอ้า!

  

========================================================