Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,364
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,516
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,933
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,687
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,412
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,490
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,455
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,764
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,250
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,386
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,305
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,449
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,489
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,072
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,420
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,496
17 Industrial Provision co., ltd 39,161
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,320
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,240
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,566
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,383
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,799
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,156
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,904
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,521
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,460
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,889
28 AVERA CO., LTD. 22,534
29 เลิศบุศย์ 21,635
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,318
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,186
32 แมชชีนเทค 19,834
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,804
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,128
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,080
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,742
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,549
38 SAMWHA THAILAND 18,238
39 วอยก้า จำกัด 17,828
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,416
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,277
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,242
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,187
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,139
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,079
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,005
47 Systems integrator 16,656
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,576
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,398
50 Advanced Technology Equipment 16,382
25/09/2553 15:37 น. , อ่าน 8,614 ครั้ง
Bookmark and Share
แรงดันตกชั่วขณะและขอบเขตการใช้งานโดยภาพรวมตามมาตรฐาน IEC และ IEEE
โดย : Admin

แรงดันตกชั่วขณะและขอบเขตการใช้งานโดยภาพรวม
ตามมาตรฐาน IEC และ IEEE
Voltage Sags: An Overview of IEC and
IEEE Standards and Application Criteria
กิตติกร มณีสว่าง    วิศวกรระดับ 5
แผนกวิจัยคุณภาพไฟฟ้าอุตสาหกรรม กองวิจัย ฝ่ายพัฒนาระบบไฟฟ้า
โทรศัพท์ : 590-5576 โทรสาร : 590-5810 email : kittikorn_man@hotmail.com

 

                1. คำนำ(Introduction)

                      ปัจจุบันปัญหาแรงดันตกชั่วขณะได้เข้ามามีบทบาทและเป็นตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดความต่อเนื่อง
                ของขบวนการผลิตสินค้าในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม      ซึ่งความน่าสนใจของปัญหาแรงดันตกชั่วขณะอยู่ที่ผล
                กระทบในการทำให้อุปกรณ์จำพวก Adjustable - Speed Drives Programmable Logic Controllers,  Computers,
                Consumer Electronics  หรืออุปกรณ์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน ( Equipment Sensitivity ) ต้องปลด
                วงจรออกจากระบบ   โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ  ขนาดความลึกของแรงดันและช่วงเวลาในการเกิดเป็น 
                ตัวบ่งชี้ระดับความรุนแรงของปัญหา  นอกจากปัจจัยเกื้อหนุนที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น      ความไม่สอดคล้องกัน
               ระหว่างระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าและ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้งานของผู้ใช้ไฟ    ก็มีส่วนสำคัญที่
               ทำให้ปัญหา   แรงดันตกชั่วขณะทวีความสำคัญมากขึ้นอย่างไรก็ตามอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งใช้งานในระบบอาจ
               ได้รับผลกระทบจากปัญหาคุณภาพไฟฟ้าในแต่ละครั้งแตกต่างกัน เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างเป็นตัวกำหนด
               จากแง่มุมดังกล่าวจึงทำให้มาตรฐาน ต่างๆที่กล่าวถึง     ปัญหาแรงดันตกชั่วขณะมีความแตกต่างกันทั้งในส่วน
               ของคำจำกัดความ   การประเมินผลกระทบต่ออุปกรณ์ ไฟฟ้าตลอดจนการประยุกต์มาตรฐานเพื่อนำไปใช้งาน

                        บทความนี้จะได้นำเสนอภาพโดยรวมของขอบเขตการพิจารณานำมาตรฐานเฉพาะในส่วนของมาตรฐาน
                 IEC และ IEEE ไปใช้ในการประเมินระดับของปัญหาทั้งในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรม      การไฟฟ้า    และ
                 อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่ติดตั้งในระบบ โดยมุ่งเน้นประเด็นที่สำคัญตามมาตรฐานคุณภาพไฟฟ้า คือ
                        - ขอบเขตและวิธีในการวิเคราะห์สำหรับการออกแบบและวางแผน
                        - ขอบเขตและวิธีในการวิเคราะห์สำหรับการใช้งาน
                        - ขอบเขตความสามารถของเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้า
                        - ความสอดคล้องกันระหว่างระบบของผู้ใช้ไฟและการไฟฟ้า
                        - ขอบเขตที่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงยังคงทำงานได้ตามปกติ


                 2. คำจำกัดความเฉพาะ(Terminology)

                         ในการให้คำจำกัดความของปัญหาแรงดันตกชั่วขณะยังคงมีความไม่ชัดเจนในหลายๆประเด็น ทั้งใน
                  ส่วนของระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์และขนาดที่ใช้บ่งชี้ความรุนแรงของปัญหาแรงดันตก    จึงพบว่าหลายๆ
                  มาตรฐานมีการกำหนดคำนิยามที่แตกต่างกัน ดังกรณีของมาตรฐาน IEC Standard   และ IEEE Standard

                           -  IEC Standard  แรงดันตกชั่วขณะ คือ ปรากฎการณ์ที่แรงดันลดลงจากระดับปกติ อย่างทันทีทันใด
                             และคืนกลับสู่สภาวะปกติภายในระยะเวลา 0.5 Cycle ถึง ประมาณ 2-3 วินาที    โดยระดับแรงดันที่
                             ลดลง จะแสดงเป็นเปอร์เซนต์เปรียบเทียบกับระดับแรงดันปกติ

                           - IEEE Standard แรงดันตกชั่วขณะ คือ ระดับแรงดันที่ลดลงระหว่าง 0.1 ถึง 0.9 pu.จากระดับแรงดัน
                              RMS ปกติภายในระยะเวลา 0.5 Cycle ถึง 1 นาที ตามประเภทของแรงดันตกดังนี้
                                      - Instantaneous : 0.5 - 30 Cycles
                                      - Momentary : 30 Cycles - 3 Sec.
                                      - Temporary : 3 Sec. - 1 Min

 



รูปที่ 1 แสดงคำอธิบายแรงดันตกชั่วขณะ

                            นอกจากนั้นมาตรฐาน IEEE Standard และ IEC Standard ยังแบ่งออกเป็นมาตรฐานย่อยๆอีกหลาย
                    มาตรฐานยกตัวอย่าง เช่น มาตรฐาน IEC Standard หมายเลข IEC 1000-2-X       กล่าวถึงคุณลักษณะและ
                    เงื่อนไข โดยทั่วไปที่อุปกรณ์ยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ ในส่วนของ IEC Standard     หมายเลข  IEC
                   1000-4-X จะให้รายละเอียดของการตรวจวัดและกระบวนการทดสอบอุปกรณ     ์เพื่อความแน่ใจว่าอุปกรณ์ 
                   นั้นๆจะผ่านเกณฑ์ต่างๆตามมาตรฐาน ดังตารางที่ 1
 
ตารางที่ 1

 
Standard
Area of Applicability
Subject
IEEEp1346
Electrical System
General Guide and Methodology toVoltage Sag Evaluations
IEEE 493
Industrial and CommercialSystem
Criteria to reliabilityEvaluations
IEEE446
Industrial and CommercialSystem
Range of Sensibility Loads(CBEMA)
IEEE1159
General Power System
Voltage Sag Definitions and Monitoring
IEEE1100
General Power System
Voltage Sag Monitoring
IEEE1250
Equipment
Guide to Electronic Equipment
IEC 1000-2-2
Utility Power System
-
IEC 1000-2-4
Industrial andCommercial PowerSystem
Limits of Compatibility
IEC 1000-4-11
Equipment
Immunity Tests


 


                    3. การนำมาตรฐานไปใช้งานในระบบ(Standards Applied to Systems Analysis)

                        3.1 IEEE Standard p1346
                              มาตรฐานนี้จะนำเสนอข้อมูลทางเทคนิคและข้อสรุปในการวิเคราะห์ความเหมาะสมระหว่างอุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้งาน
                       กับระบบไฟฟ้าที่เป็นอยู่ ซึ่งมุ่งเน้นการนำข้อมูลต่างๆมาประเมินระดับความรุนแรงของปัญหาแรงดันตกชั่วขณะ โดยมี
                       ประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

                                -  การเปรียบเทียบในแง่การลงทุนระหว่างเงินที่สูญเสียไปจากปัญหาแรงดันตกกับเงินลงทุนที่ใช้ปรับปรุงระบบ
                                   เพื่อลดความรุนแรงของปัญหาแรงดันตก

                                -  การวิเคราะห์ข้อมูลของปัญหาแรงดันตกทั้งในส่วนของขนาดและระยะเวลา   รวมทั้งโอกาสในการเกิดเพื่อประ
                                   เมินผล กระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์  ที่ไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของแรงดันอย่างทันทีทันใดได้
                                   โดยการรวบรวมข้อมูลจากการตรวจวัดตามมาตรฐานIEEE Std.1159   และแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมู ตาม
                                   มาตรฐาน IEEE Std.493

                                - การนำเกณฑ์มาตรฐานSensibility Curve CBEMA มาใช้ในการกำหนดขีดความสามารถของอุปกรณ์   ซึ่งการกำ
                                  หนดขีดความสามารถของอุปกรณ์อาจได้จากการทำ Immunity Tests

                                - การนำข้อมูลการเกิดแรงดันตกมาแสดงผลแบบ 2 มิติ คือ แกนแนวตั้งแสดงขนาดของแรงดันตก ส่วนแกนแนว
                                  นอน แสดงผลของระยะเวลาในการเกิดปัญหาแรงดันตก นอกจากนั้นยังแสดงข้อมูลในเชิงสถิติ  เกี่ยวกับจำนวน
                                  ครั้ง หรือโอกาสในการเกิดปัญหาแรงดันตก



 

                   3.2 IEEE Standard 493
                          มาตรฐานนี้จะนำเสนอแนวโน้ม    และการคาดการณ์โอกาสในการเกิดปัญหาแรงดันตกชั่วขณะทั้งในส่วน
                    ของขนาดแรงดันตก ระยะเวลาที่เกิดปัญหาแรงดันตกและสถิติในการเกิดปัญหา เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้มาหาแนว
                    ทางในการป้องกันซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

                   -  การคำนวณขนาดของแรงดันตก ซึ่งจำเป็นต้องทราบค่าอิมพีแดนซ์ทั้งในส่วนของระบบจำหน่ายและสายส่ง โดย
                      อาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการคำนวณเพื่อประเมินขนาดแรงดันตกที่ตำแหน่งติดตั้งโหลด

                   -  การประเมินระยะเวลาในการเกิดแรงดันตก โดยพิจารณาจากระยะเวลาในการกำจัดฟอลต์ของอุปกรณ์ป้องกัน
                      แต่ละชนิด

                   - การพิจารณาโอกาสในการเกิดปัญหาแรงดันตก ซึ่งอาจพิจารณาในแง่สถิติของการเกิดฟอลต์ในระบบ

                  3.3 IEC Standard 1000-2-2
                        มาตรฐานนี้ไม่ได้เน้นการกำหนดขีดจำกัดของแรงดันตกชั่วขณะ    แต่จะชี้ให้เห็นถึงระดับแรงดันตกที่คาดว่า
                    จะเกิดขึ้นในระบบโดยเฉลี่ยในแต่ละเดือน

                 4. การนำมาตรฐานไปใช้กับอุปกรณ์(Standards Applied to Equipment)

                         มาตรฐาน IEEE Standard และIEC Standard ต่างนำเสนอรูปแบบในการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน แต่มีวัตถุ
                    ประสงค์ที่เหมือนกัน คือ เพื่อต้องการอธิบายหรือประเมินผลกระทบจากปัญหาแรงดันตกชัวขณะที่อุปกรณ์ต่างๆอาจ
                    ได้รับ

                  4.1 IEEE Standard 1250
                         IEEE Standard และ สถาบัน Computer Business Equipment manufactures Association ได้ร่วมกันพัฒนารูป
                     แบบของมาตรฐานเพื่อความสะดวกในการนำมาตรฐานไปใช้งาน ภายใต้ชื่อเกณฑ์มาตรฐาน CBEMA Curve   ดัง
                     รูปที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการออกแบบอุปกรณ์ที่ไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของ
                     แรงดันได้อย่างทันทีทันใด ซึ่งเกณฑ์มาตรฐาน CBEMA Curve    นี้ได้มีการนำเสนออย่างเป็นทางการครั้งแรกใน
                     มาตรฐาน IEEE Std. 446 ในปี 1987  หลังจากนั้นได้มีการนำมาใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงกันอย่างกว้างขวาง      สำหรับ
                     มาตรฐาน IEEE Std. 1250   ได้แนะนำให้ใช้เกณฑ์มาตรฐาน CBEMA Curve    สำหรับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ และ
                     อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่ออธิบายผลกระทบจากปัญหาแรงดันตกต่ออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
                     โดยทั่วไป

                 4.2 IEEE Standard 446
                       มาตรฐานนี้แนะนำให้ใช้เกณฑ์มาตรฐาน CBEMA Curve เพื่อพิจารณาผลกระทบที่เกิดกับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์
                     จากปัญหาแรงดันตก เกณฑ์มาตรฐานCBEMA Curve นี้เกิดจากการรวบรวมข้อมูล         จากประสบการณ์ของผู้ใช้
                     อุปกรณ์อิเล็ค ทรอนิกและผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์
                          ปัจจุบันเกณฑ์มาตรฐาน CBEMA Curve ได้รับการพัฒนามาเป็นเกณฑ์มาตรฐาน ITIC Curve (The Information
                     Technology Industry Council) เพื่อให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น ดังรูปที่ 3

 




รูปที่ 2 แสดงเกณฑ์มาตรฐาน CBEMA Curve



รูปที่ 3 แสดงเกณฑ์มาตรฐาน ITIC Curve

                        4.3 IEC Standard 1000-2-4
                               เงื่อนไขการใช้งานของอุปกรณ์ในมาตรฐาน  IEC    คือ  การทำงานที่สัมพันธ์กันทางสนามแม่เหล็ก
                        (Electromagnetic Compatibility : EMC) ซึ่งกำหนดเป็นความสามารถของชิ้นส่วนอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือ
                       ระบบฟังก์ชั่นการทำงานที่สามารถทำงานได้สัมพันธ์   และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือการรบกวน
                       ของสนามแม่เหล็กในสภาวะแวดล้อมต่างๆ มาตรฐาน IEC Std.1000-2-4 เป็นมาตรฐานที่ใช้งานในระบบ
                       ไฟฟ้าที่จ่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรม (ไม่รวมระบบไฟฟ้าในเรือและเครื่องบิน) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 Classes
                        ดังนี้

                      Class 1 สำหรับระบบที่จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ที่ไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งรบกวนในระบบไฟฟ้า
                      Class 2 สำหรับระบบที่จ่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรม
                      Class 3 สำหรับระบบที่จ่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีอุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดสิ่งรบกวนในระบบไฟฟ้าได้ง่าย
                                  เช่น ปัญหาแรงดันตกจากการสตาร์ทมอเตอร์ขนาดใหญ่  โดยกำหนดให้


                    5. การนำมาตรฐานไปใช้ในการตรวจวัด(Standards Applied to Monitoring)

                      การตรวจวัดมีส่วนสำคัญในการประเมินระดับความรุนแรง   และทำให้ทราบข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับ
                 ปัญหาแรงดันตกชั่วขณะ   อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจวัดอาจให้ผลสรุปแตกต่างกัน  โดยมี
                เงื่อนไขที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน เช่น ตำแหน่งที่ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัด     ชนิดของเครื่องมือ
                ตรวจวัดขีดความสามารถของเครื่องมือตรวจวัด       และวิธีการตรวจวัดตลอดจนวิธีการวิเคราะห ์     เพื่อ
                ประเมินผล เป็นต้น

                   5.1 IEEE Standard 1159
                    มาตรฐาน IEEE Std. 1159 นำเสนอเทคนิคและวิธีในการตรวจวัดเพื่อเก็บข้อมูลรวมทั้งการวิเคราะห์
                ผลจากการตรวจวัด ซึ่งสามารถนำมาตรฐานนี้มาใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิง  ในการพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือ
                ตรวจวัด

                   5.2 IEEE Standard 1100

                      มาตรฐานIEEE Std.1100นำเสนอเกณฑ์กำหนดหรือขีดความสามารถของเครื่องมือตรวจวัดคล้ายกับ
                  ที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน IEEE Std.1159 การเลือกใช้มาตรฐานมีบทบาทที่สำคัญในการออกแบบระบบ
                  ให้สามารถรองรับปัญหาแรงดันตกที่เกิดขึ้น    ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้หรืออยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้
                  แต่เนื่องจากมาตรฐานต่างๆที่ใช้งานกันโดยทั่วไปนั้น     ต่างก็มีเงื่อนไขที่จำเป็นต้องนำมาประกอบการ
                  พิจารณา ดังนั้นจึงเป็นการยากในการจะระบุว่ามาตรฐานไหนดีกว่ากัน           แนวทางในการเลือกใช้
                  มาตรฐานจึงอาจขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้ ความสะดวกในการใช้    และควรสอดคล้องกับระบบที่ 
                  ใช้งานอยู่

                    6. สรุป (Conclusion)

                         ปัญหาแรงดันตกชั่วขณะที่เกิดขึ้นในระบบ บางครั้งมีความซับซ้อนและยากในการอธิบายเนื่องจาก
                   ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ   ประกอบกับอุปกรณ์ที่ผู้ใช้ไฟนำมาติดตั้งในระบบ
                   มักได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง       เพื่อให้มีขีดความสามารถสูงและมีขนาดที่เล็กลงซึ่งเป็นผลให้ใช้
                   พลังงานน้อยลงด้วย         แต่โดยส่วนใหญ่อุปกรณ์เหล่านี้มักไม่สามารถทนต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลง
                   ของแรงดันโดยฉับพลันได้           ดังนั้นมาตรฐานที่มีใช้งานในปัจจุบันจึงจำเป้นต้องมีการปรับปรุงอยู่
                   เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความป็นจริงของระบบ  ซึ่งผู้ใช้ไฟและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องศึกษา
                   และติดตามรวมทั้งควรมีส่วนร่วมในการปรับปปรุงมาตรฐานด้วย      เนื่องจากการทราบข้อมูลที่ชัดเจน
                   และการเลือกมาตรฐานที่เหมาะสมกับระบบจะมีส่วนช่วยลดผลกระทบจากปัญหาแรงดันตกชั่วขณะได้

 
                  7. เอกสารอ้างอิง(References)

                 1. IEC 1000-2-1-1990-Part 2 : Environment-Section 1: " Description of the
                     environment-Electromagnetic environment for low-frequency conducted
                     disturbances and signaling in public low-voltage power supply systems"
                 2. IEEE p.1346(D2.0.95) "Recommended Practice for Evaluating Electronic
                     Power systems compatibility with Electronic Equipment-Working Group
                     Electric Power System Compatibility with industrial process equipment-pt1-
                     Voltge Sag's" Industrial &Commercial System of May 1994(Draft)
                 3. IEC 1000-2-2-1990-Part 2 : Environment-Section 2: "Compatibility levels for
                     low-frequency conducted disturbances and signaling in public low-voltage
                     power supply systems".
                 4. IEC 1000-2-4-1994-Part 2 : Environment-Section 4: "Compatibility levels im
                     industrial plants for low-frequency conducted disturbances ".
                 5. IEEE 1159-1995-"IEEE Recommended Practice for Monitoring Electronic
                     Power Quality".
                 6. IEEE 493-1990(ANSI)-"IEEE Recommended Practice for Design of Reliable
                     Industrial and Commercial Power Systems(Gold Book)"
                 7. IEEE 446-1995(ANSI)-"IEEE Recommended Practice for Emergency and
                     Standby Power Systems for Industrial and Commercial Applications(Orange Book)"
                 8. IEC1000-4-11-994-Part 4 : Testing and Measurement techniques-Section11-
                     " Voltage Dips, short Interruptions and voltage variations immunity tests"
                 9. C.Becker, w.Braum, Carrick, T.Diliberti, C.Grigg, J.Groesch, B.Hazen, T.Imel,
                     D.Koval, D.Mueller, t.s.Joh, L.E.Conrad, -"Proposed Chapter 9 for Predicting
                     Voltage Sags(Dips) in Revision to IEEE sTD 493 The Gold Book"-IEEE
                     Transactions on Industry Application, V32, N6, May/June 1994
                10. IEEE 1250-1995-(ANSI)"IEEE Guide for Service to Equipment sensitive to
                      Momentary Voltage Disturbances"
                11. G.T.Heydt "Electric Power Quality-A Tutorial Introduction"-IEEE computer
                      Applications in Power-January 1998.
                12. IEEE 1100-1992-(ANSI)'IEEE Recommended Practice for Powering and
                      Grounding Sensitive Electronic Equipment(Emerald Book)"
                13. IEC 1000-1-2-Part1-General-Section1-Application and Interpretation of
                       Fundamental definitions and terms

========================================================