Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,984
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,581
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,990
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,781
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,553
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,510
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,350
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,450
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,360
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,513
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,588
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,131
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,522
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,555
17 Industrial Provision co., ltd 39,225
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,377
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,622
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,445
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,853
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,220
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,959
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,584
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,951
28 AVERA CO., LTD. 22,586
29 เลิศบุศย์ 21,685
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,384
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,246
32 แมชชีนเทค 19,893
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,870
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,186
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,140
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,799
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,603
38 SAMWHA THAILAND 18,293
39 วอยก้า จำกัด 17,900
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,479
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,331
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,303
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,241
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,214
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,134
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,068
47 Systems integrator 16,713
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,630
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,456
50 Advanced Technology Equipment 16,444
01/05/2553 22:04 น. , อ่าน 109,443 ครั้ง
Bookmark and Share
ระบบขับเคลื่อนเซอร์โว (Servo Drive System)
โดย : Admin

 

 โดย :   สุชิน  เสือช้อย 
webmaster(at)9engineer.com

        

   เซอร์โวมอเตอร์คืออะไร มีดีอย่างไร ทำไมต้องใช้เซอร์โว
 

           คำว่า"เซอร์โวมอเตอร์" อาจจะเป็นคำศัพท์ที่ไม่ค่อยเป็นที่คุ้นเคยกันสักเท่าไหร่สำหรับบางท่าน แต่บางท่านอาจจะคุ้นหูบ้างและจำคำว่า"เซอร์โวมอเตอร์"ได้อย่างฝังใจเมื่อได้รับใบเสนอราคาจากผู้ขาย (เนื่องจากในอดีตระบบเซอร์โวนี้จะมีราคาที่ค่อนข้างสูงมากเมื่อเปรียบเทียบระบบขับเคลื่อนทางไฟฟ้าอื่นๆ)


           ช่วงที่ผ่านมาการใช้งานระบบเซอร์โวจะจำกัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องจักรบางประเภทเท่านั้น แต่ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของความเร็ว(speed)   ซึ่งเป็นยุคที่ต้องแข่งขันกันด้วยความเร็วที่นอกเหนือจากคุณภาพและราคาซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการผลิตสินค้าและการแข่งขันแบบเดิมๆ   ทำให้อุตสาหกรรมยุคใหม่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีการตอบสนองต่อเวลาที่รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำและมีความน่าเชื่อถือสูงเป็นเครื่องมือประกอบการผลิตและการทำธุรกิจ


          ความต้องการดังกล่าวทำให้ชื่อของเซอร์โวมอเตอร์ได้รับการกล่าวขานมากขึ้น ส่วนราคาก็ลดลงตามปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น จนกระทั่งกลายมาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของนวตกรรมและเครื่องจักรรุ่นใหม่ๆในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่และเครื่องจักรอัตโนมัติในปัจจุบัน ดังตัวอย่างดังนี้    ตามนิยามของวิศวกรรมการคอนโทรลแบบอัตโนมัติ (Automatic Control)หรือระบบการคอนโทรลอัตโนมัติแบบป้อนกลับ(Feedback Control System)สามารถจำแนกระบบควบคุมแบบลูปปิด(Closed loop control) ได้เป็นสาขาต่างๆดังนี้

 


ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เซอร์มอเตอร์กับระบ Bottle Filling
เครื่องบรรจุภัณท์ 
Bagging or Packaging
เครื่องเติมหรือบรรจุขวด
Bottle Filling
เครน
Crane
เครื่องพิมพ์ต่างๆ
Offset Printing
เครื่องซีเอ็นซี
CNC machine
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
Industrial Robot
เครื่องจักรกลในอุตสาหฯยาง Rubber Machine เครื่องจักรกลในอุตสาหฯกระดาษ
Paper
Rolling Mill Converting Line
Composite Drilling Fiber Line

  


 ระบบเซอร์โวคือถึงอะไร

        ตามนิยามของวิศวกรรมการคอนโทรลแบบอัตโนมัติ (Automatic Control)หรือระบบการคอนโทรลอัตโนมัติแบบป้อนกลับ(Feedback Control System)สามารถจำแนกระบบควบคุมแบบลูปปิด(Closed loop control) ได้เป็นสาขาต่างๆดังนี้   


ระบบควบคุมแบบลูปปิด (Closed loop control) 

ระบบไฟฟ้า

ระบบไดนามิคส์(ระบบเซอร์โว)

ระบบกระบวนการ(Process)

โวลท์เตจและกระแสเร็คกูเลเตอร์
ฟีคแบ็คแอมปลิไฟเออร์
ควบคุมความเร็ว (Speed Control)
ควบคุมแรงบิด (Torque Control)
ควบคุมตำแหน่ง (Position Control)
ควบคุมอัตราเร่ง (Velocity Control)
 
ควบคุมอุณหภูมิ(Temp. Control)
ควบคุมแรงดัน(Pressure Control)
ควบคุมการไหล(Flow Control)
ควบคุมความหนาแน่น(density Control)

 

          ***จากตารางสารมารถสรุปได้ว่าระบบเซอร์โว คือการควบคุมเครื่องจักรกลให้ทำงานตอบสนองด้านไดนามิคส์(Dynamic Response)เช่นความเร็ว อัตราเร่ง แรงบิด และตำแหน่ง ไห้ได้ดีที่สุด(Optimum Solution)และใช้เวลาน้อยที่สุด( Time Optimum) 




   โครงสร้างระบบควบคุมเซอร์โวเป็นอย่างไร

ลักษณะของระบบควบคุมเซอร์โวมอเตอร์จะเป็นระบบควบคุมแบบลูปปิด(Closed loop control)  ซึ่งประกอบด้วย 3 โหมดการควบคุมคือ โหมดการควบคุมแรงบิด(Torque Control Mode) ซึ่งอยู่วงรอบหรือลูปในสุด  โหมดการควบคุมอัตราเร่ง(Velocity Control Mode)  และโหมดการควบคุมตำแหน่ง(Position Control Mode) ซึ่งอยู่ลูปด้านนอกสุด  โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญๆดังรูป



 
        

 

 

            1)  »» เซอร์โวมอเตอร์ (Servo Motor) (4.2) 
             2)  »» ชุดควบคุมการขับเคลื่อนเซอร์โว
                      (Servo Drive,Servo Amplifier หรือบ้างก็เรียกว่า servo controller ) (4.4,4.5,4.6)
             3)  »» อุปกรณ์ป้อนกลับ (Feedback Device เช่น Speed encoder และ Position Sensor ) (4.3)  

  *** ในบทความนี้ผมจะขอกล่าวถึงเฉพาะส่วนของเซอร์โวมอเตอร์ก่อน ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ผมจะนำเสนอในโอกาสต่อไปหากเพื่อนสมาชิกให้ความสนใจ




เชอร์โวมอเตอร์คืออะไร และมีการแยกประเภทอย่างไร ?

          ประเภทของเซอร์โวมอเตอร์โดยทั่วจะมีทั้งดีซีและเอซีเซอร์โว  ในเครื่องจักรรุ่นเก่าๆเราจะพบว่า dc servo motor มีการใช้เครื่องจักรกลอุตสาหกรรมมากกว่า ac servo motor เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาการควบคุมกระแสกระแสสูงๆนั้นจะต้องใช้ SCRs  แต่ปัจจุบันทรานซิสเตอร์ได้พัฒนาขีดความสามารถให้ตัดต่อกระแสสูงและใช้งานที่ความถี่ได้สูงๆขึ้น  จึงทำให้ระบบควบคุมทางเอซีและระบบเซอร์โวได้ถูกนำมาใช้งานมากขึ้น ซึ่งสามารถแยกประเภทของเซอร์โวได้ดังนี้

 

 

 

 

  (นิยามตามคู่มืออ้างอิงเซอร์โวฉบับภาษาเยอรมัน)

 

มอเตอร์ชนิดที่มีแปรงถ่าน ( Brush Type = mit Bursten)
           เซอร์โวมอเตอร์ชนิดนี้ที่สเตเตอร์จะเป็นแม่เหล็กถาวร ส่วนโรเตอร์ยังใช้แปรงถ่านและคอมมิวเตอร์เรียงกระแสเข้าสู่ขดลวดอาร์เมเจอร์ เหมือนกับดีซีมอเตอร์ทั่วไป

เซอร์โวมอเตอร์ชนิดที่ไม่มีแปรงถ่าน ( Brushless Type =Ohne Bursten) 
           เซอร์โวมอเตอร์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยดีซีเซอร์โว (dc brushless servo ่โรเตอร์ทำด้วยแม่เหล็กถาวร)  
           เอซีเซอร์โว (AC Servo ) ซึ่งมีทั้งแบบซิงโครนัสเซอร์โว
           อะซิงโครนัสเซอร์โว  (การนำอินดัคชั่นมอเตอร์มาใช้ทำเป็นระบบขับเคลื่อนเซอร์โวมอเตอร์ )
           และ สเต็ปปิง เซอร์โวมอเตอร์  


      

    เซอร์โวมอเตอร์มีโครงสร้างและหลักการทำงานเป็นอย่างไร       

  บทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะเอซีเซอร์โวมอเตอร์ หรือซิงโครนัสเซอร์โวมอเตอร์ก่อน เนื่องจากเป็นชนิดที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรม (ส่วนเซอร์โวมอเตอร์ชนิดอื่นๆจะกล่าวถึงในตอนต่อๆไป)

  
          

         ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของระบบควบคุมเซอร์โว ก็คือการใช้งานจะต้องเป็นแบบ  closed loop เท่านั้น การใช้งานระบบควบคุมเซอร์โวไม่สามารถเลือกควบคุมเป็นแบบ open loop ได้เหมือนกันระบบขับเคลื่อนเอซี(ac drives)          การตอบสนองของระบบเซอร์โว เช่น อัตราเร่ง แรงบิด และตำแหน่งที่ควบคุม จะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หากไม่มีสัญญาณป้อนกลับไปยังชุดขับเคลื่อนเซอร์โว 

          การควบคุมการทำงานในระบบนี้อุปกรณ์ป้อนกลับหรือเอ็นโค๊ดเตอร์(encoder) จะมีบทบาทความสำคัญอย่างยิ่งเสมือนกับเป็นของคู่กันชนิดที่เรียกว่าขาดซึ่งกันและกันไม่ได้  ในทางปฎิบัติจึงทำเซอร์โวมอเตอร์และเอ็นโค๊ดเตอร์ ถูกออกแบบและผลิตสร้างขึ้นมาคู่กันในลักษณะเป็นแพ็คเกจ(package)  ซึ่งมี  encoder ติดอยู่ที่ส่วนท้ายของมอเตอร์ ดังรูป

 

Gearheads = เกียร์สำหรับลดความเร็วรอบเพื่อเพิ่มแรงบิด
Shafts = เพลาของมอเตอร์
Flanges = หน้าแปลนสำหรับติดตั้งมอเตอร์
Feed back = อุปกร์ป้อนกลับหรือ encoder
Connectorization = ขั้วต่อสายไฟเข้ามอเตอร์ และขั้วต่อสายสำหรับ  encoder
Breakes  = ชุดเบรก  

  

         โครงสร้างของ AC servo Motor จะคล้ายกับมอเตอร์ 3 เฟสทั่ว ๆ ไป ซึ่งจะประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ คือ สเตเตอร์และโรเตอร์  โดยสเตเตอร์จะประกอบด้วยขดลวด 3 ชุด  ขดลวดภายในจะต่อเป็นแบบสตาร์ (Star หรือ WYE) และมีสายต่อมาที่ขั้วต่อสายด้านนอก 3 เส้น (จุดนิวทรอลจะอยู่ด้านใน)  ส่วนโรเตอร์ทำด้วยแม่เหล็กถาวร(Permanent Magnet) ไม่มีขดลวดพัน,ไม่มีคอมมิวเตเตอร์ และไม่มีแปรงถ่าน (Brushless)

 (****โครงสร้างที่ไม่มีขดลวดพันไม่และแปรงถ่าน จะทำให้ประสิทธิภาพของมอเตอร์สูงขึ้น ไม่มีการสูญเสืยในขดลวดทองแดง ไม่ต้องรบำรุงรักษาเนื่องจากแปรงถ่าน ไม่เกิดประกายไฟเนื่องจากการเรียงกระแสจากแปรงถ่านผ่านคอมมิวเตอร์ไปยังขดลวดทองแดงที่พันอยู่ในตัวโรเตอร์)

 

 

 

         การทำงานของเซอร์โวมอเตอร์ชนิดนี้จะคล้ายกับการทำงานของซิงโครนัสมอเตอร์3 เฟส กล่าวคือเมื่อมีการควบคุมให้คอนโทรลเลอร์จ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังขดลวดที่สเตเตอร์  แกนเหล็กของสเตเตอร์จะกลายเป็นแม่เหล็กไฟฟ้า และหมุนเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่แปรผันตามความถี่ ซึ่งเรียกว่า"ความเร็วซิงโครนัส(synchronous speed)หรือความเร็วสนามแม่เหล็กหมุน "  และจะดูดให้โรเตอร์ซึ่งเป็นแม่เหล็กถาวรหมุนเคลื่อนที่ตาม) 


        จากลักษณะโครงสร้างของโรเตอร์และหลักการทำงานที่เหมือนกับซิงโครนัสมอเตอร์ซึ่งเป็นมอเตอร์แบบเอซี  แต่ไม่มีแปรงถ่าน(Brushless) ไม่มีซี่คอมมิวเตอรเตอร์ จึงทำให้มอเตอร์ชนิดนี้มีชื่อเรียกขานแตกต่างกันออกไป เช่น เรียกทับศัพท์ว่า "  Permanent Magnet Synchronous Motor(PMSM) " ซึ่งหมายถึงซิงโครนัสมอเตอร์ที่ไม่มีแปรงถ่าน บ้างก็เรียกว่าเอซีเซอร์โวมอเตอร์( AC Servo motor) หรือบ้างก็เรียกสั้นๆย่อๆว่า  AC Brushless  หรือ Brushless Motor เป็นต้น  

 

       สำหรับวัสดุที่นำมาสร้างแม่เหล็กถาวรนี้จะแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับราคาและเทคโนโลยีของบริษัทผู้ผลิดนั้นๆ ซึ่งมีตั้งแต่ชนิดทีราคาถูกเช่น เซรามิก(เฟอไรต์) จนถึงการใช้วัสดุที่มีราคาแพงอย่างเช่น ซามาเรียม โคบอลต์ หรือ นีโอไดเมียม เป็นต้น  (ปัจจุบันเอซีเซอร์โวมอเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุสารแม่เหล็กแบบ นีโอไดเมียม  เนื่องจากมีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็ก และความเหมาะสมเรื่องราคาดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุสารแม่เหล็กแบบอื่นๆ )

  

เซอร์โวมอเตอร์แตกต่างกับมอเตอร์ชนิดอื่นๆอย่างไร          

              นอกเหนือจากโครงสร้างที่พยายยามออกแบบให้โรเตอร์ทำด้วยแม่เหล็กถาวร ไม่มีขดลวดพัน ไม่ต้องใช้แปรงถ่านและคอมมิวเตอร์เพื่อลดอันที่จะเกิด จะทำให้ประสิทธิภาพของมอเตอร์สูงขึ้น ไม่มีการสูญเสืยในขดลวดทองแดง ไม่ต้องรบำรุงรักษาเนื่องจากแปรงถ่าน ไม่เกิดประกายไฟเนื่องจากการเรียงกระแสจากแปรงถ่านผ่านคอมมิวเตอร์ไปยังขดลวดทองแดงที่พันอยู่ในตัวโรเตอร์)การตอบสนองทางด้านไดนามิคส์ที่ดีกว่าคือความแตกต่างที่ชัดเจนของเซอร์โวมอเตอร์    ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเติมเต็มความต้องการคุณสมบัติการตอบสนองด้านไดนามิคส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานที่ต้องมีการควบคุมตำแหน่ง (Position Control)   ซึ่งเป็นระบบที่ต้องการความละเอียดและความแม่นยำของตัวขับเคลื่อนเป็นอย่างยิ่งในการควบคุมสูงเป็นพิเศษของ

            ในทางปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว   การวิจัยคิดค้นและกระบวนการผลิตจึงได้พยายามออกแบบให้โรเตอร์มีเส้นผ่าสูนย์กลางและรัศมีเล็กๆ รวมถึงการทำให้โรเตอร์เป็นแม่เหล็กถาวรเพื่อเป็นการลดแรงเฉื่อยองโรเตอร์(Rotor moment of inertia) และชดเชยแรงบิดหรือทอร์คที่หายไปเนื่องจากโรเตอร์มีขนาดเล็กลงด้วยการเพิ่มความยาวโรเตอร์ ดังนั้นรูปร่างโครงสร้างของเซอร์โวมอเตอร์ ที่เราพบเห็นทั่วไปจึงมีลักษณะผอมบางและมีความยาวมากกว่ามอเตอร์ที่ใช้งานทั่วไป นอกจากนั้นยังมีแรงบิดสูงกว่ามอเตอร์ทั่วไปอีกด้วย (หากพิจารณาที่พิกัดกำลังเท่าๆกัน) ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้คล้ายกับคนที่มีรูปร่าง " สูง ผอมบาง แต่แรงดี " เป็นต้น




คำอธิบาย

Asynchronous

Permanent Magnet Synchronous  Servo

เปรียบเทียบที่พิกัดกำลังเท่าๆกัน (Rated power)  0.75 kW 0.75 kW
ความเร็วพิกัด (Rated speed) 2825 min-1 3000 min-1
แรงบิดพิกัด (Rated torque)  2,5 Nm  2.4 Nm
แรงบิดสูงสุด (Max. torque)  6,6 Nm  12.0 Nm

*****   แรงเฉื่อยของโรเตอร์ 
             (Rotor moment of inertia)

5.7 x 10-4 kgm2 2.7 x 10-4 kgm2
เปรียบเทียบเวลาที่ใช้เร่งความเร็วไปที่ 3000 รอบต่อนาที (ตามทฤษฎี)
(Theor. acceleration time to 3000 min-1)
 27 ms   7 ms
กระแสพิกัด (Rated current)  3.0 A 2.6 A
แรงดันพิกัด (Rated voltage) 230 V 190 V
ประสิทธิภาพ (Efficiency) 77 %  88 %
     

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติทั่วๆไปของอินดัคชั่นมอเตอร์กับ( Asynchronous)
กับเซอร์โวมอเตอร์ P.M.Synchronous  Servo motor

 


ตัวอย่าง ตารางคุณสมบัติทางเทคนิคของเซอร์โวมอเตอร์

 


กราฟแสดงคุณสมบัติด้านความเร็ว - แรงบิดของเซอร์โวมอเตอร์ 

 

 

จากกราฟแสดงคุณสมบัติจะเห็นว่าพื้นที่การใช้งานของเซอร์โวจะประกอบด้วย 2 ย่าน คือย่านใช้งานปกติแบบต่อเนื่อง(Permanent duty)และย่านใช้งานช่วงสั้นๆ (Short time duty) ส่วนกราฟก็จะประกอบด้วยแกนความเร็ว(X )และแกนทอร์ค(Y )
       แกนความเร็ว(X )จะประกอบด้วย 3 จุดที่ต้องพิจารณาคือความเร็วขณะไม่มีโหลด(no ) ,ความเร็วใช้งานปกติตามพิกัด(Nominal Speed) และความเร็วที่จ่ายทอร์คสูงสุด(nMmax)
        ส่วนแกนทอร์ค(Y )ก็จะประกอบด้วย3 จุดที่ต้องพิจารณาเช่นกันคือ ทอร์คที่ใช้งานปกติตามพิกัด(MN) ,ทอร์คในขณะที่หยุดนิ่งอยู่กับที่(Mdo) และทอร์คสูงสุด(Mmax)  โดยแต่ละจุดมีความหมายดังนี้

อักษรย่อ

 

คำอธิบาย

หมายเหตุ

MN (Rated Torque = ทอร์ค/แรงบิดพิกัด ย่านที่มอเตอร์สามารถขับโหลดหรือใช้งานต่อเนื่อง
Mdo
Stall Torque
=

ทอร์คขณะหยุดนิ่ง

ทอร์คที่เซอร์โวมอเตอร์สามารถจ่ายโหลดได้ในขณะที่หยุดนิ่งอยู่กับที่หรือความเร็วเป็น 0 รอบ
Mmax = ทอร์คสูงสุด แรงบิดสูงสุดที่มอเตอร์สามารถสามารถขับโหลดได้ โดยทั่วไปเซอร์โวมอเตอร์สามารถจ่ายทอร์คสูงสุดได้ประมาณ 5 เท่าของทอร์คพิกัด ( Mmax = 5*MN )
nMmax = ความเร็วขณะทอร์คสูงสุด ความเร็วขณะที่จ่ายทอร์คสูงสุด
Nominal Speed = ความเร็วพิกัด ความเร็วใช้งานปกติ
no = ความเร็วขณะไม่มีโหลด  

   

 

========================================================