สาเหตุที่ทำให้ ฟิวส์ ในวงจร คาปาซิเตอร์ขาด
โดย : Admin

  สาเหตุที่ทำให้ ฟิวส์ ในวงจร คาปาซิเตอร์ขาด
           
           ปกติแล้วเรานิยมใช้ ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันลัดวงจรภายในวงจรคาปาซิเตอร์ ในการบำรุงรักษาคาปาซิเตอร์
           และปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยคือ ฟิวส์ขาด การที่ฟิวส์ขาด อาจมีสาเหตุต่างๆดังนี้

           1. ฟิวส์ มีขนาดเล็กไป โดยทั่วไปจะเลือกขนาดฟิวส์ ที่ใช้กับคาปาซิเตอร์ ให้มีค่ากระแสพิกัดประมาณ 1.65
               เท่าของขนาดกระแสพิกัดคาปาซิเตอร์ เพื่อสามารถรองรับสภาวะ Over load ของคาปาซิเตอร์ และ Inrush Current ได้

            2. กระแสฮาร์มอนิกส์ที่อยู่ในระบบไฟฟ้าไหลเข้ามาสู่คาปาซิเตอร์มากจนเกินพิกัดของฟิวส์ ทำให้ฟิวส์ขาดได้
               ในการแก้ไขต้องตรวจสอบค่ากระแสฮาร์มอนิกส์ในระบบ ถ้าพบว่ามีปัญหาควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหา
                ฮาร์มอนิกส์เสียก่อน

            3. เกิดกระแสพุ่งเข้า Inrush Current ขนาดใหญ่มากในการต่อคาปาซิเตอร์เข้าระบบ ปัญหาจะรุนแรงมากขึ้น
                ถ้ามีคาปาซิเตอร์ หลาย Step โดยใน Step ท้ายๆอาจเกิดกระแสพุ่งเข้าสูงเกินขนาดพิกัดของฟิวส์ ทำให้ฟิวส์ขาดได้
                การแก้ไขทำได้โดยเลือกใช้ขนาดของฟิวส์ให้เหมาะสม (1.65 เท่า) หรือในบางกรณีผู้ออกแบบจะติดตั้ง Inrush Reactor
                ใส่ไว้ในวงจรคาปาซิเตอร์ เพื่อลดกระแส Inrush Current ขณะต่อวงจร

             4. คาปาซิเตอร์เสื่อมอย่างรุนแรงทำให้เกิดกระแสลัวงจร จนฟิวส์ขาด ควรตรวจสอบคาปาซิเตอร์ ว่าอยู่ในสภาพ
                 สมบรูณ์หรือไม่ หากพบว่าเสื่อมค่าไปมากแล้วให้ทำการปรับเปลี่ยนใหม่

                  อนึ่ง ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ที่เมื่อชำรุดแล้ว จะต้องทำการเปลี่ยนใหม่ เมื่อค้นพบสาเหตุที่ทำให้ชำรุด ผู้ผลิตไม่แนะนำ
              ให้มีการซ่อมแซมหรือดัดแปลงปรับปรุง เพื่อกลับนำไปใช้ใหม่

               เอกสารอ้างอิง
               วารสาร คุณภาพไฟฟ้า Vol6 / April- June 2001 ; ABB LIMITED


             (ขอขอบคุณ ชาวสมาชิก 9engineer  คุณมาโนชน์ ที่กรุณาส่งข้อมูลมาเพื่อเป็นความรู้เผยแพร่)


เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)