มีอะไรอยู่ใน ใบแจ้งหนี้ ? /ใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้า และวิธีการคิดค่าไฟฟ้า
โดย : Admin

          โดย นายไฟฟ้า  นายเอ็นจิเนียร์ 
 



 

   สภาพเศรษฐกิจประเทศไทยในปัจจุบันส่งผลให้หลายบ้านต้องควบคุมค่าใช้จ่ายของตนเองให้มากขึ้นค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณูปโภคเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นค่าไฟฟ้า , ค่าน้ำประปา , ค่าโทรศัพท์   อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายเหล่านี้หากเราควบคุมการใช้ให้ประหยัดและใช้อย่างถูกวิธีก็สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ในระดับหนึ่ง
 
 
  ปัจจุบันการใช้ไฟฟ้าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันไปแล้วการประหยัดไฟฟ้าจะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่ท่านต้องจ่ายในแต่ละวันลดลง โดยท่านสามารถคิดคำนวณได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดในบ้านของท่านต้องเสียค่าไฟฟ้าวันละกี่บาทรวมแล้วเดือนละเท่าไหร่    และถ้าท่านสามารถลดจำนวนเวลาที่ใช้เครื่องไฟฟ้าชนิดนั้นๆ ลง  ท่านจะสามารถ ประหยัดเงินได้กี่บาท


  
ก่อนอื่น มาดูกันก่อนว่าในค่าไฟฟ้านั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง

 อะไรอยู่ในค่าไฟฟ้า ?

    หากหยิบใบแจ้งหนี้หรือใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าขึ้นมาดูหลายคนอาจจะรู้สึกสับสนและไม่เข้าใจว่า ทำไมมีการเรียกเก็บค่าไฟหลายรายการ จนถึงกับไม่แน่ใจขึ้นมาว่าเป็นกลวิธีการขึ้นค่าไฟฟ้าหรือไม่
ย้อนหลังไปก่อนปี 2535 ใบเสร็จค่าไฟฟ้าจะแสดงเฉพาะราคาค่าไฟฟ้าที่ท่านต้องชำระเพียงรายการเดียว เช่นค่าไฟฟ้าหน่วยละ 3 บาท ท่านใช้ 100 หน่วย ก็จ่ายเงิน 300 บาทแต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 3 บาทนั้น มีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย ต่อมาอีกระยะหนึ่งรัฐบาลประกาศใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและบังคับให้แยกค่าสินค้าและค่าภาษีออกจากกันเช่น ค่าไฟฟ้ารวมที่เรียกเก็บ 300 บาท จะแบ่งเป็นค่าไฟฟ้า 280.37 บาท ภาษี มูลค่าเพิ่ม    ( คิดอัตรา ร้อยละ 7 )      อีก 19.63 บาท  รวมแล้ว ราคาที่ท่านต้องจ่าย คือ 300 บาทเท่าเดิม


จนกระทั่งปี 2535 รัฐบาลได้ประกาศราคาเชื้อเพลิงลอยตัวตามราคาตลาดโลกส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า   เพราะการผลิตไฟฟ้าต้องใช้เชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและกาซธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่   แต่เนื่องจากการประกาศค่า ไฟฟ้าใหม่ทุกเดือนเป็นเรื่อง ยุ่งยากและไม่สะดวกทั้งต่อผู้ใช้ไฟฟ้าและการไฟฟ้า   จึงได้มีการแยกต้นทุนเชื้อเพลิงส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปจากการกำหนดค่าไฟฟ้านี้ออกมาและเรียกส่วนนี้ว่าต้นทุนผันแปรหรือค่าเอฟที ( Ft : Fuel Adjustment Charge ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Energy  Adjustment Charge)  และมีการรวมต้นทุนผันแปรตัวอื่น ๆ เช่น ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนอัตราเงินเฟ้อ ฯลฯ เข้าไป ด้วย ตั้งแต่นั้น มาค่าเอฟทีก็ปรากฏให้เห็นและมีการแปรผันไปตามต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไป

 ฉะนั้น ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ.2535    ค่าไฟฟ้าจึงมี 3 ส่วน ได้แก่ ค่าไฟฟ้าฐาน ( คงที่ ) + ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 

 
ต่อมา วันที่ 3 ตุลาคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศใช้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่   มีวัตถุประสงค์กำหนดให้ค่าไฟฟ้าสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ส่งเสริมให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถ ตรวจสอบได้ซึ่งจะเป็นการให้ความเป็นธรรมกับผู้ใช้ไฟฟ้าในโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่  จึงกำหนดให้แยกต้นทุน  ในแต่ละกิจกรรมไฟฟ้าให้เห็นอย่างชัดเจน ได้แก่  กิจการผลิต กิจการระบบส่งกิจการระบบจำหน่าย    และกิจการค้าปลีก  มีการแจกแจงค่าไฟฟ้าของแต่ละส่วนในใบเสร็จค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นเพียงการดึงรายการมาให้เห็นอย่างชัดเจน โปร่งใส   และสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงเท่านั้น

 
                 แล้วค่าเอฟที ทำไมถึงปรากฏขึ้นมาอีกในเมื่อก่อนหน้านี้หายไปแล้ว

                        โครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่เป็นโครงสร้างที่ได้รวมค่าเอฟทีของเดือนกันยายน 2543 จำนวน 64.52 สตางค์/หน่วยไว้ด้วย
                
แล้วหลายคนเข้าใจว่า ค่าเอฟทีไม่มีแล้วแต่ในความเป็นจริงไม่ใช่เช่นนั้น    การที่นำค่า เอฟที เดือนกันยายน 2543 รวม
                
ไปกับค่าไฟฟ้าใหม่ ทำให้ค่าเอฟทีเหลือ 0 สตางค์ต่อหน่วยไม่ได้ยกเลิกหรือหายไปไหน   และเมื่อครบ 4 เดือน เมื่อเดือน
                
กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ค่าเอฟทีปรับขึ้นจาก 0 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 24.44 สตางค์ต่อหน่วย และจะใช้ไปอีก 4 เดือน     จนถึง
               
เดือน พฤษภาคม 2544    แล้วจึงพิจารณาค่าเอฟทีใหม่

                        ขณะเดียวกันใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543  มีค่าบริการปรากฏขึ้นมาใหม่คำถามคือ ค่าบริการ
                
นี้มาจากไหนและทำไมถึงต้องมีค่าบริการนี้    ไม่ใช่เงินที่เก็บเพิ่มขึ้นใหม่แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่เดิมรวมอยู่ในอัตราค่าไฟฟ้า
                
การแยกค่าบริการออกมา ทำให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง ชัดเจนและโปร่งใส   คล้าย ๆกับสมัยที่มีการแยกภาษีมูลค่า เพิ่ม
                
ออกจากราคาสินค้าสมัยก่อน

                      อย่างไรก็ตามค่าบริการที่ปรากฏในใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าใหม่เป็นการสะท้อนถึงค่าใช้จ่ายในการบริการ
                
ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเช่น ค่าพิมพ์ใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน ค่าคำนวณการใช้ไฟ  ค่าจดมิเตอร์  ค่าจัดส่ง   เป็นต้น
                
ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นใหม ่แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่มีอยู่เดิม   ในรูปของค่าไฟฟ้าต่ำสุดของโครงสร้างเก่า
                 
เพียงแต่ในใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าใหม่ได้แยกแสดงออกมาเพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นไปตามมติของคณะ
                
กรรมการกำกับการศึกษาปรับปรุง โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า

  สรุปแล้วค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บและปรากฏในใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าในปัจจุบันประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าฐาน  + ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) +ค่าบริการ + ภาษีมูลค่าเพิ่ม
 
             
ถึงตอนนี้แล้วคงพอจะมองเห็นแล้วว่ามีอะไรบ้างอยู่ในค่าไฟฟ้าตอนนี้ลองมาคิดคำนวณหาค่าไฟฟ้าภายในบ้าน  จึงขอเสนอวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าดังนี้

  ก่อนอื่นต้องทราบจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ในบ้านก่อนว่ามีจำนวนเท่าใดและเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ะชนิดกินไฟเท่าไรสามารถสังเกตุได้จากคู่มือการใช้งานหรือแถบป้ายที่ติดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เขียนว่ากำลังไฟฟ้า   ซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์ ( Watt) หลังจากนั้นลองคำนวณดูว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่ใช้งานในแต่ละวันกินไฟวันละกี่ยูนิต   และนำมาเปรียบเทียบกับอัตรา  ค่าไฟฟ้าโดยสามารถคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้


  การใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิต คือเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1000 วัตต์ที่ใช้งานในหนึ่งชั่วโมง

 1 ยูนิต =  [ กำลังไฟฟ้า(วัตต์)ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการคำนวณ/1000 ] x    จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการคำนวณ จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานในหนึ่งวัน

 ตัวอย่างบ้านอยู่อาศัยของท่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในบ้าน 5 ชนิดเราสามารถคำนวณการใช้ไฟฟ้าได้ ดังต่อไปนี้


    1. หลอดไฟฟ้าขนาด 36 วัตต์ (รวมบาลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 46 วัตต์ )   จำนวน 10 ดวง  เปิดใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง ใช้ไฟฟ้าวัน ละ [46 /1000]  x  10 x 6 = 2.76 หน่วย หรือเดือนละ (30x 2.76 ) = 82.8 หน่วย หรือประมาณ 83 หน่วย
  2. หม้อหุงข้าวขนาด 600 วัตต์จำนวน 1 ใบเปิดใช้งานวันละ 30 นาที  ( 0.5 ชั่วโมง ) ใช้ไฟวันละ 600 /1000 x 1 x 0.5
        = 0.3
หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x 0.3 ) = 9 หน่วย
 3. ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งาน 24 ชั่วโมง สมมติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมงใช้ไฟวัน
     
ละ [125/1000] x 1 x 8 = 1 หน่วยหรือประมาณเดือนละ ( 30 x1) = 30 หน่วย
  4. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 20,000 บีทียู (ประมาณ 2,000 วัตต์ ) จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมงสมมุติคอมเพรส 
      
เซอร์ทำงานวันละ 6 ชั่วโมงใช้ไฟฟ้าวันละ [2000/1000] x 1 x 6 = 12 หน่วย หรือประมาณเดือนละ ( 30 x 12 ) = 360  หน่วย

 5.
ทีวีสี ขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 4 ชั่วโมง [100/1000 ]x 1 x 4 = 0.4 หน่วย หรือประมาณ เดือนละ (30 x0.4 ) = 12 หน่วย
                            รวมการใช้ไฟฟ้าในบ้านประมาณเดือนละ 83+9+30+360+12 = 494 หน่วย


 อย่างไรก็ตามตัวอย่างการคำนวณข้างต้นเป็นการคำนวณโดยภาพรวมและประมาณการเท่านั้นอาจมีการคาดเคลื่อนได้นอกจากนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างที่ทำความเย็น เช่นเครื่องปรับอากาศ หรือ ตู้เย็นแต่ละยี่ห้อมีอัตราการกินไฟฟ้าไม่เท่ากันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ทำความเย็นและสภาพแวดล้อม รวมถึงการตั้งอุณหภูมิด้วย


                         เมื่อทราบจำนวนยูนิตแล้วท่านสามารถคำนวณค่าไฟฟ้าได้โดยเปรียบเทียบกับอัตราค่าไฟฟ้าได้ดังนี้

ประเภท1.1 การใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
ประเภท 1.2 การใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน
5 หน่วย (หน่วยที่ 1-5 ) เป็นเงิน 0.00 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 6-15 ) หน่วยละ 1.3576 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่16-25 ) หน่วยละ 1.5445 บาท
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26-35 ) หน่วยละ 1.7968 บาท
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 2.1800 บาท
50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101-150) หน่วยละ 2.2734 บาท
250 หน่วยต่อไป(หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.7781 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ) หน่วยละ 2.9780 บาท
ค่าบริการรายเดือน เดือนละ 8.19 บาท
150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-150 ) หน่วยละ 1.8047 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400)หน่วยละ 2.7781บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป )   หน่วยละ2.9780 บาท
 
 
 

ค่าบริการรายเดือน เดือนละ 40.90 บาท


             
  วิธีคิดค่าไฟฟ้า

                   
สมมุติว่าใช้ไฟฟ้าไป 494 หน่วยตามตัวอย่างซึ่งจัดให้เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2
                       150 หน่วยแรก ( 150 x 1.8047 บาท ) 270.71 บาท
                       250 หน่วยต่อไป (250 x 2.7781 บาท) 694.53 บาท
                       ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย( 494-400 = 94 x 2.9780 บาท) 279.93 บาท
                       ค่าบริการรายเดือน 40.90 บาท
                       รวมเป็นเงิน 1,286.07 บาท


                      
คิดค่า FT ( Energy Adjustment Charge) หรือค่าไฟฟ้าผันแปร ในแต่ละเดือนโดยดูได้จากใบเสร็จรับเงินหรือสอบถาม
                 
จากได้การไฟฟ้าฯ การคิดค่า Ft คิดได้โดยการนำเอาค่า Ft ในแต่ละเดือน x จำนวนหน่วยที่ใช้
                 ค่า Ft เดือน พฤษภาคม 2544 = 24.44 สตางค์ ต่อหน่วย
                คิดค่า Ft 494 x 24.44 สตางค์ = 120.73 บาท
                รวมเป็นเงิน (1,286.07 + 120.73 ) = 1,406.80 บาท
                ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = 98.48 บาท
                รวมเป็นเงินค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระทั้งสิ้น = 1,505.25 บาท


                ในกรณีที่คำนวณค่าไฟฟ้าแล้วเศษสตางค์มีค่าต่ำกว่า 12.50 สตางค์ จะทำการปัดเศษลงให้เต็มจำนวนทุกๆ 25 สตางค์และถ้า
               
เศษสตางค์มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 12.50 สตางค์ จะทำการปรับเศษขึ้นให้เต็มจำนวนทุกๆ 25 สตางค์


                     สำหรับตัวอย่างการคิดค่าไฟฟ้าดังกล่าวนี้ท่านสามารถคำนวณการใช้ไฟฟ้าของท่านเองได้โดยเป็นการประมาณการ   ซึ่ง
               
อาจจะคาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปบ้างตามปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น   อย่างไรก็ตามการฝึกคิดค่าไฟฟ้าสามารถ
               
นำไปใช้ในการควบคุมพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของท่านเพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้า

         นอกจากนี้แล้วการ ประหยัดไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพให้ได้ผลต้องรู้จักเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานซึ่งจะช่วยให้ท่านประหยัดลงไปได้อีกมาก

                                                                                              
 
 
 
 
 
   จาก ข้อมูลบริการการไฟฟ้านครหลวง June 4, 2001

 

 

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)