ใครอยากรุ่ง.....ต้องมุ่งทางนี้ "วิศวกรฝ่ายขาย"
โดย : Admin

  ที่มาชงโคสาร        
 

 

   วิศวกรฝ่ายขาย 

   

44000 Series Thermistor Element

  บ่อยครั้งเมื่อมีการพูดถึงวิศวกรฝ่ายขาย (sales Engineer ) บางคนถึงกับหน้าเบ้  และปฏิเสธตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน  คือจะไม่พิจารณาหางานที่เป็นฝ่ายขาย ความเข้าใจเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่พึ่งเกิดขึ้นกับผู้ที่เรียนจบทางด้านวิศวกรในยุคปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องที่มีขึ้นมาทึกยุคทุกสมัยเพราะนักศึกษาที่เรียนมาทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์นั้น เมื่อเรียนจบความมุ่งหวังอย่างแรกคือ อยากจะได้ทำงานให้ได้ดิบได้ดีในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ (ที่ไม่ใช่ฝ่ายขาย) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่นบางคนเองคาดหวังที่จะได้ทำงานในตำแหน่งวิศวกรโรงงานได้แต่งชุด Work shop ไปไหนมาไหนมีแต่คนเรียกว่า "นายช่าง" ดูเท่ห์ไม่น้อย บางคนเองคาดหวังที่จะทำหน้าที่ออกแบบระบบงานต่างๆตั้งแต่ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ระบบดับเพลิง และอีกหลายๆระบบ (รวมถึงงานที่ไม่เป็นระบบอีกมาก)  โดยงานเช่นนี้มีตั้งแต่การเป็นวิศวกรที่ปรึกษาหรือที่ถูกเรียกว่า Consultant Engineer บ้าง  System Engineer บ้าง  บางคนต้องการเป็นผู้รับเหมาติดตั้งระบบงานต่างๆที่ถูกเรียกว่า Contractor

    หรืองานการเขียนโปรแกรมต่างๆที่ถูกเรียกว่า Programmer และยังมีงานอีกหลายงานที่เป็นความใฝ่ฝันของผู้ที่เรียนจบวิศวกรมาต้องการทำ  ถ้าจะวิเคราะห์กันอย่างลึกซึ้ง ถึงสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ส่วนหนึ่งมาจากกอิทธิพลทางสังคม(Social Influencing) หรือการคาดหวังของสังคม (Social Expectation ) ที่สำคัญผู้เรียนจบมาทางซิศวกรนั้น ส่วนใหญ่เป็นความภาคภูมิใจของวงศ์ตระกูลที่ได้ร่ำเรียนในคณะที่ได้รับการยอมรับของสังคมในวงกว้าง หรือส่วนหนึ่งอาจจะเป็นความโชคดีของผู้ที่เรียนมาทางนี้ ทำให้ปริมาณความต้องการของตลาดมีมากจึงไม่ใช่เรื่องยากอะไรที่จะหางานทำในสายงานที่ตนเองเรียนมา  แต่มองอีกนัยหนึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ  ผู้ที่เรียนวิศวกรมาไม่น้อย เพราะค่านิยมต่างๆนานาทำให้การทำงานถูกล้อมกรอบทางความคิด(Thinking Block) ทำให้ตนเองนั้นมุ่งไปยังงานไม่กี่ประเภทที่ตนเองมีความรู้ หรือได้ร่ำเรียนมาในรั้วมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุเช่นนี้จึงอาจทำให้ผู้ที่จบวิศวกรมาส่วนใหญ่นั้น มีทัศนคติที่ไม่ดีต่ออาชีพการขายหรือที่ถูกเรียกว่าวิศวกรฝ่ายขาย(sales Engineer ) บางคนอาจจะรู้สึกดีแต่ก็ไม่ถูกยอมรับจากสังคมรอบข้างที่ตนเองอยู่เช่นความไม่เห็นด้วยจากครอบครัว เพราะต้องการให้ทำงานอยู่กับที่ หมายถึงประจำสำนักงาน ประจำโรงงานหรืออย่างมาก็ประจำไซต์งานที่ต้องรับผิดขอบรู้สึกว่าเป็นงานที่เป็นหลักเป็นแหล่งดี ความเข้าใจเช่นนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในสังคมไทยซึ่งพบเห็นกันบ่อยๆ

    

 ถ้าพิจารณากันอย่างลึกๆถึงแนวความคิดหรือความใฝ่ฝันของผู้ที่เรียนจบวิศวกรมานั้นมีจำนวนไม่น้อยที่ใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของกิจการหรือที่เรียกว่าผู้ประกอบการ(Entrepreneur)และเช่นกันก็มีจำนวนไม่น้อยพยายามทำฝันของตนเองให้เป็นจริง โดยที่หลังจากทำงานได้ระยะหนึ่งก็เริ่มที่จะทดลองออกมาทำธุรกิจด้วยตนเอง บางคนประสบความสำเร็จ ร่ำรวย แต่มีจำนวนมากที่ต้องแดกิจการ ขาดทุนและกลับเข้าสู่วงจรอาชีพลูกจ้างอีกครั้ง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะวิศวกรส่วนใหญ่นั้นมีความชำนานด้านเทคนิค หรือแม้แต่การบริหารจัดการซึ่งเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ต้องการใช้ทักษะการติดต่อกับผู้คนจำนวนมากและต้องมีความรู้ในหลายๆมิติเช่น บัญชี การเงิน บุคคล จิตวิทยาและอื่นๆ ซึ่งแตกต่างจากงานด้านวิศวกรซึ่งจะใช้เวลาส่วนใหญ่กับการทำงานกับเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ อยู่ในห้องทดลอง เป็นต้น จึงทำให้วิศวกร(บางคน) นั้นไม่ถนัดต่อการทำงานที่ต้องพบปะผู้คนจำนวนมากถ้าวิศวกรคนใดเป็นเช่นนี้ก็ขอให้คิดว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเพราะธรรมชาติของพื้นฐานทางการศึกษาจะเป็นตัวบ่งบอกถึงนิสัยของผู้นั้นได้ระดับหนึ่ง และในหลายๆประเทศก็พบกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ไม่ว่าเป็นประเทศอเมริกา  อังกฤษ หรือออสเตรเลีย นั้นก็พบปัญหาเช่นเดียวกันคือประเทศเหล่านี้มีความเข้าใจถึงปัญหาเช่นนี้ จึงได้มีการเปิดหลักสูตรด้านการบริหารจัดการทางวิศวกรรม(Engineering Management (EM)) ให้เหล่าวิศวกรได้เข้ามาเรียนเพิ่มเติมเพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งหรือศักยภาพของวิศวกรในด้านต่างๆ ของการบริหารจัดการ ทำให้วิศวกรได้เรียนรู้ถึงการบริหารจัดการในหลายมิติ เช่นเรียนรู้ด้านบัญชี การตลาด  ด้านบุคคล รวมถึงงานขาย เพื่อเป็นการเสริมเขี้ยวเล็บ ซึ่งเป็นแนวทางให้ผู้ที่เรียนมาทางสายวิศวกรรมได้เข้าใจถึงแนวความคิดทางด้านธุรกิจเพิ่มมากขึ้น  สำหรับข้อแตกต่างระหว่างแนวคิดทางธุรกิจและทางวิศวกรรมที่เห็นได้ชัดคือการเรียนทางด้านวิศวกรรมจะถูกสอนให้พิจารณาเรื่องต่างๆโดยอาศัยตรรกะ(Logic) เป็นที่ตั้งเพื่อช่วยในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เพราะมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มามาก  หรือถ้าเปรียบเทียบให้ภาพชัดๆและเข้าใจง่ายก็คือการมองสี ซึ่งก็จะมองเห็นเพียงสีที่ชัดเจนเท่านั้นเช่น สีขาว สีดำ หรือน้ำเงิน หรือสีที่เป็นแม่สีเท่านั้น (ไม่ใช่ตาบอดสีนะ....) แต่แนวคิดทางธุรกิจนั้นไม่ค่อยมีความชัดเจนเหมือนการมองแม่สีมากนัก ส่วนใหญ่สีที่ได้จะเป็นสี่ที่ถูกผสมด้วยองค์ประกอบมากมายเช่นมองสีดำ ก็จะออกเป็นสีเทาๆ ความแตกต่างของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับว่าจะมอสีเทานั้นมีความเข้มข้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งไม่มีเหตุผลมากนัก ในการอธิบายด้วยวิธีทางตรรกะ(Logic)ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น จึงตอบได้เพียงว่าเป็นเรื่องของจิตใจหรือจิตวิทยา เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจ การเรียนเป็นวิธีการที่ดีเพิ่มเติมเป็นวิธีการที่ดีวิธีหนึ่ง แต่ก็จะมีข้อเสียคือเมื่อเรียนก็จะไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นเป็นรูปธรรม ไม่มีพี่เลี้ยงที่ชัดเจน แถมยังเสียเงินเสียทอง(ส่วนตัว)ที่เก็บหอมรอบริบไว้ แถมเสียเวลา(ทำมาหากิน) ดังนั้นวิธีการที่นอกเหนือจาการที่ต้องไปเรียนต่อในสายการบริหารจัดการ ก็ยังมีวิธีการที่ทำได้ง่ายมากขึ้นและที่สำคัญคือได้ทั้งงานและความรู้ ได้ลอง ได้มันส์(พะยะค่ะ) แถมยังได้เงินใช้(มาก)อีกด้วย คือการเลือกงานในสายที่เกี่ยวข้องกับการขาย คือการเข้าทำงานในตำแหน่งวิศวกรฝ่ายขาย (sales Engineer )

   คำว่า "ขาย" หลายคนรู้สึกไม่ชอบ เนื่องจากมีทัศนะคติที่ไม่ดีต่อคำว่าขาย ทำให้เกิดอคติ และพาลไปถึงการไม่ชอบงานด้านการขายหรือกิจกรรมอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับค่าว่า ขาย เป็นอันต้องปฏิเสธ แต่ถ้าพิจารณากันอย่างลึกซึ้งถึงธรรมชาติของมนุษย์ พบว่าถ้าเทียบสถิติของผู้ที่ต้องการซื้อกับผู้ที่ต้องการขายนั้น ปรากฏว่าผู้ที่ต้องการชื้อมีมากกว่าผู้ต้องการขาย และจะมีความสุขเมื่อได้ซื้อสินค้า ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกใจอะไรเมื่อพูดถึงคำว่า "Shopping"  มีแต่คนสนใจ บางคนถึงกับไม่ยอมไปเที่ยวที่ไหนไปดูอะไรเพราะขอให้ได้ซื้อของเท่านั้น เป็นอันแฮปปี้ เช่นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บริษัท Master Cool ที่ผลิตเครื่องปรับอากาศนอกอาคาร ใช้การทำตลาดช่วงต้นๆโดยหลังจากได้พัฒนาสินค้าจนเป็นที่พึงพอใจแล้ว จึงได้นำไปตั้งตามสถานที่ต่างๆ โดยให้บริการฟรี เพียงขอติดเบอร์สำหรับติดต่อกลับ(ถ้ามีผู้สนใจ) และก็มีคนติดต่อกลับจริงๆ แสดงว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการซื้อ เพราะเพียงหลักการง่ายๆเช่นนี้ก็ขายได้  ลองคิดดูว่าถ้าการขายที่ต้องใช้คนผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญเข้าไปด้วยเช่น วิศวกร จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากเย็นอะไรขอให้เข้าใจหลักการที่สำคัญของการขายเท่านั้น เพราะการขายนั้นเป็นสิ่งที่จับต้องได้(Tangible) และจับต้องไม่ได้(Intangible) นำมาเปลี่ยนกระบวนการ(Process Transform)ให้เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ คำว่าจับต้องได้นั้นหมายถึงจะทำอย่างงไรให้ผู้มุ่งหวัง(Prospect)นั้นมีความเข้าใจถึงสินค้าที่ตนเองกำลังจะนำเสนอ และต้องมองข้ามไปถึงว่าเมื่อเข้าใจแล้วต้องรู้สึกอยากที่จะนำไปใช้อีกด้วยและนี่ก็คือสิ่งที่วิศวกรทั้งหลายต้องตีโจทย์ของผู้มุ่งหวังให้แตกและถอดออกมาให้สอดคล้อง(Product Matching)กับสินค้าที่ตนเองกำลังจำหน่าย สำหรับคำว่าจับต้องไม่ได้นั้นมีความหมายว่า วิศวกรฝ่ายขายจะต้องทำอย่างไรที่นอกเหนือจากคุณภาพของสินค้าที่ใช้เป็นจุดขายให้ผู้มุ่งหวังมีความสนใจในสินค้า หรือสนใจในบริษัทจึงเป็นเรื่องของความรู้สึกและนำมาสู่ความน่าเชื่อถือ ซึ่งล้วนแต่เป็นกลวิธีหรือเทคนิคที่วิศวการฝ่ายขายต้องนำมาใช้ให้ผู้มุ่งหวังนั้นได้รับรู้ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเป็นเรื่องที่ยาก เพราะมองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ เพราะวิธีการเหล่านี้มีหลักเพียงต้องการกระตุ้นต่อมความพึงพอใจของผู้มุ่งหวังมีมากพอ การซื้อก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร  วิธีการที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่บางครั้งจะส่งผลแรงกว่าคุณภาพของสินค้าซึ่งเป็นที่จับต้องได้เสียอีก ดังนั้นนักขายที่ประสบความสำเร็จจะอาศัยกลไกการเปลี่ยนสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ให้เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ ถึงแม้จะมองไม่เห็นแต่ก็รับรู้ได้ว่าถ้าจะซื้อสินค้าตัวนี้ ก็ต้องนักขายคนนี้ เพราะมีการดูแลที่ดี มีความประทับใจเป็นต้น  เรียกได้ว่าผู้มุ่งหวังหรือลูกค้าสัมผัสความประทับใจเหล่านี้ ได้จนถึงห้วงลึกของจิตใจ  ดังนั้นจะซื้อสิค้าครั้งใด ก็ต้องนักขายคนนี้ คนอื่นไม่ได้ ไม่ยอมและก็ไม่ซื้อ เรียกได้ว่าเป็นปลื้มกันอย่างทั่ว หน้า กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงสิงที่ตอบสนองต่อความรู้สึกของลูกค้าจึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก สำหรับผู้ที่ทำงานขายใหม่ๆ จะเข้าใจบางคนก็ปฏิเสธจึงทำหมีเส้นกั้นของความสำเร็จในอาชีพขายนี้ คือถ้าใครสามารถที่จะตีโจทย์เช่นนี้ได้แตก และเร็วก็จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะปรับตัวและไม่ชอบที่จะทำความเข้าใจกับลูกค้า โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในขายก็น้อยลง และในที่สุดก็จะเลิกไปทำอย่างอื่นแทน 

      สำหรับพื้นฐานหรือแนวความคิดของการเป็นวิศวกรฝ่ายขายกับพนักงานขายทั่วไปนั้นมีความแตกต่างกันมาก  นอกเหนือจากพื้นฐานของการขายที่มีขั้นตอนคล้ายกัน ตั้งแต่การติดต่อ(Contract Stage) การค้นหาข้อมูล(Information Stage) การโต้แย้ง(Argue Stage)และการปิดการขาย(Closing Stage) แต่ความลึกในการติดต่อทั้งในเรื่องของข้อมูลความรู้ กระบวนการและวิธีการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆ เช่นพนักงานขายรถยนต์ยี่ห้อนึ่งจะคอยพูดถึงสรรพคุณของรถของตนเองว่าขายต่อได้ง่าย ราคาไม่ตก โดยมุ่งเน้นไปที่ตัวสินค้า หรือเทคนิคที่ควรจะนำเสนอ ดังนั้นประเด็นที่ตามมาก็คือเรื่องของการต่อสู้ด้านราคา ผู้ที่จะเป็นวิศวกรฝ่ายขายจะมองสินค้าเพียงความเข้าใจเช่นนี้ไม่ได้   ดังนั้นวิศวกรฝ่ายขายต้องมีมากกว่ามีความเข้มข้นของการให้คำปรึกษากับลูกค้าได้มากกว่า จึงทำให้ผู้ที่จะมาเป็นวิศวกรฝ่ายขายที่ดีนั้นต้องทำงานหนักกว่าพนักงานขายทั่วๆไปมาก เพราะต้องเข้าใจสินค้าในเชิงลึก สำหรับความรู้ด้านสินค้าที่วิศวกรฝ่ายขายต้องทำความเข้าใจนั้นมีอยู่ 8 ประการดังต่อไปนี้

      1) สมรรถนะ(Performance) เป็นความรู้ของสินค้าที่ต้องอธิบายให้ได้ว่าสินค้าที่ตนเองกำลังจำหน่ายอยู่นั้น มีสมรรถนะเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมกับผู้ใช้เพียงใด ถ้าเปรียบเทียบในเรื่องของรถคือต้องเข้าใจถึงเรื่องของแรงม้าหรือหากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ก็ต้องเข้าใจถึงความเร็วจอง CPU เป็นต้น  นำความรู้เหล่านี้มาใช้ประประกอบการตัดสินใจของลูกค้าว่าควรจะเลือกซื้ออย่างไรดีโดยการนำปริมาณงานหรือความต้องการใช้งานของลูกค้ามาเป็นที่ตั้ง สินค้าทุกชนิดจะต้องมีสมรรถนะของตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญและบ่งบอกได้ถึงความเหนือชั้นของสินค้าตนเอง  ที่สำคัญของการบอกสมรรถนะนั้นจะเป็นการบอกให้ได้รับรู้อย่างง่ายๆ ทำให้ลูกค้ามีความเข้าใจ เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ

      
2) คุณลักษณะ (Feature) เป็นรายละเอียดของสินค้าในเชิงลึก ซึ่งหลายคนเข้าใจดีว่าคือ Spec ของสินค้านั้นๆการรู้ลึกถึงคุณลักษณะในด้านของการเป็นวิศวกรต้องรู้ให้ลึกกว่าการเป็นนักขายธรรมดา เพราะความคาดหวังของลูกค้าคือการที่วิศวกรจะสามารถอธิบายรายละเอียดในแต่ละหัวข้อของคุณลักษณะได้


      
3 ) ความเสถียร (Reliabilityเป็นรายละเอียดของสินค้าที่พิจารณาลึกลงไปถึงความเชื่อมั่นของสินค้านั้นๆ ว่ามีการทำงานได้อย่างน่าเชื่อถือได้เพียงใด  ไม่ใช่ใช้สินค้าแบบ  3 วันดี  4 วันไข้ อย่างนี้ก็ไม่เสถียร   ดังนั้นการเตรียมข้อมูลต่างๆเพื่อที่จะยืนยันนอนยันว่าสินค้าที่ตนเองกำลังนำเสนอนั้นเป็นที่น่าเชื่อถือ เช่นการมีใบผ่านการทดสอบหรือไม่ มีผลจาการทดลองใช้หรือไม่ หรือแม้แต่มีคำบอกกล่าวจากผู้ที่เคยใช้สินค้าของตนเองแล้วมีความรู้สึกอย่างไร ข้อสำคัญคือข้อมูลเหล่านี้ต้องเป็นข้อมูลของจริง หมายถึงว่าลูกค้าเคลือบแคลงสงสัย ก็ต่อสายตรงพูดคุยกับผู้ที่เคยใช้ได้ทันทีเป็นต้น

      
4 ) รูปแบบที่กำหนดไว้  (Conformance) ในสินค้าทุกตัวนั้นจะต้องมีรูปแบบที่กำหนดไว้ เช่นมีขนาด(Size)เป็นอย่างไร มีปุ่มต่างๆเป็นอย่างไร สินค้าที่ตนเองกำลังจำหน่ายนั้นมีรูปแบบที่ตรงกับที่บอกไว้หรือไม่ ผู้ที่เป็นวิศวกรฝ่ายขายจึงต้องศึกษาถึงรูปแบบที่กำหนดไว้ให้ชัดเพราะถ้ามีคำถามถึงที่มาที่ไปของรูปแบบนั้น  ก็ต้องอธิบายได้เป็นฉากๆ ไม่ใช่เป็นใบ้ ตอบไม่ถูกซึ่งจะทำให้ความเชื่อมั่นของลูกค้าลดลง

       
5 ) ความคงทน  (Durability)   ความคาดหวังอีกอย่างหนึ่งที่ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการคือการที่สินค้าที่กำลังจะซื้อนั้นจะใช้ได้นานเพียงใด มีความคงทนมากน้อยหรือไม่ ในบางครั้งก็ยากที่จะอธิบายหรือรับรองได้ว่าสินค้าที่วิศวกรฝ่ายขาย จำหน่ายนั้นมีระยะเวลาการใช้งานได้นานเพียงใดแต่เมื่อลูกค้ามีความกังวล หน้าที่หลักของการเป็นวิศวกรฝ่ายขาย คือการคลายกังวลในตัวลูกค้า ดังนั้นการใช้เอกสารอ้างอิงหรือผลทดสอบโดยเฉพาะการทดสอบที่เป็น Mean Time Before Failure (MTBF)   จึงเป็นความจำเป็นที่ต้องนำผลทดสอบมาใช้    MTBF เป็นการทดสอบการใช้งานว่าสินค้านั้นๆจะใช้งานได้นานเพียงใด  ซึ่งส่วนใหญ่การทดสอบก็จะใช้กรรมวิธีคือนำสินค้าทดสอบที่ความสามารถสูงสุดที่สินค้านั้นๆจะทำได้เช่นถ้าเป็นเครื่องทำความร้อนก็จะเปิดให้ร้อนสูงสุดเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงติดต่อกัน และนำผลที่มาคำนวนถึงระยะเวลาที่สินค้านั้นๆจะคงทน  ดังนั้นสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือต้องเข้าใจถึงกรรมวิธีของการทดสอบ MTBF นั้นว่าทำได้อย่างไร ก็จะทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นกำลังสอง

        
6 ) การให้บริการ  (Serviceability)การให้บริการเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะนำมาซึ่งการกลับมาซื้อสินค้าอีกของลูกค้า ทำให้มีการซื้อขายอย่างต่อเนื่อง วิศวกรฝ่ายขายที่เป็นมืออาชีพก็จะนำจุดแข็งของตนเองมาใช้ประกอบ เป็นตัวช่วยที่สำคัญในการขายเพื่อสร้างฐานลูกค้าระยะยาว เช่นบางคนก็ลงมือช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าโดยที่ไม่ต้องรอให้ร้องขอ หรือไม่ต้องรอหน่วยบริการหลังการขายมาบริการ   เพราะในบางปัญหาที่ไม่ซับซ้อนนั้นวิศวกรฝ่ายขายบางคนก็สามารถแก้ไขปัญหาได้เอง หรือแม้แต่การบำรุงรักษาเบื้องต้นที่จะทำให้กับลูกค้า นอกเหนือจาการเข้าพบเข้าเยี่ยมธรรมดาและพูดคุยเรื่องทั่วไป ก็จัดทำการบำรุงรักษาให้คำแนะนำต่างๆด้วยความจริงใจ เรียกได้ว่าเป็นชกแบบเก็บคะแนนได้อย่างแนบเนียน และเมื่อมีการซื้อซ้ำโอกาสพลาดเป้าก็น้อยมากเช่นกัน

         7) รูปลักษณะที่สัมผัสได้  (Aesthetics) เป็นการรับรู้ในเบื้องต้นของลูกค้าว่าสินค้านั้นมีความสวยงาม สะดวกใช้เพียงใด เพราะสินค้าบางประเภทไม่ได้ออกแบบให้สวยงาม แต่การออกแบบนั้นรับกับสรีระของร่างกาย ก็ทำหมีความสะดวกในการใช้รูปลักษณะที่สัมผัสได้นี้ จะสอดคล้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของร่างกายเช่นเป็นแล้วสวยหรือไม่ สีสรรดูเด่น ดูแล้วน่าดึงดูดหรือไม่มีขนาดเป็นเช่นไร กว้าง ใหญ่ เล็ก หรือแม้แต่การมีกลิ่นก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน ดังนั้นการเป็นวิศวกรฝ่ายขายจึงต้องเข้าใจในเรื่องของรูปลักษณะที่ลูกค้าจะรับรู้ หมายถึงเกี่ยวข้องกับการออกแบบสินค้านั้นว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เป็นต้น

         
8) ความเชื่อมั่นในแบรนด์  (Brand) เป็นเรื่องสุดท้ายที่เกี่ยวพันธ์กับการตลาดมากทีสุด  นั้นคือความเชื่อถือในแบรนด์นั้นๆ ซึ่งต้องอาศัยกลไกทางการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้องรวมถึงความเป็นระเบียบวินัยของผู้ที่ทำงานฝ่ายขาย เช่นเอกลักษณ์ที่สำคัญของผู้ที่ขายสินค้านี้ต้องใส่ชุดเครื่องแบบเพื่อเป็นจุดสนใจ ผู้ที่ทำงานวิศวกรฝ่ายขายก็ต้องเข้าใจ และทำตามจะยืนหยัดในความคิดของตนเองเช่นเดิม ก็ไม่ได้การเป็นวิศวกรฝ่ายขายจึงต้องเข้าใจถึงหลักการการตลาด เพื่อนำมาเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการขายสินค้าของตนเอง


              นอกเหนือจากความรู้ด้านสินค้าแล้ว ทักษะการเป็นนักขายยังรวมถึงบุคลิกภาพของการเป็นนักขายนั้น ต้องมีการเตรียมตัวกันพอสมควร เพราะการขายเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องมีความเข้าใจในศิลปะในการขาย บางครั้งต้องหย่อน บางครั้งต้องตึง แล้วแต่จังหวะในการขาย ในหลายองค์กรให้ความสำคัญกับนักขายมาก เพราะนักขายเป็นด่านแรกในการสค้างจุดสัมผัสกับลูกค้าหรือผู้มุ่งหวัง (
Customer Touch Point) เป็นการเริ่มต้นของการสร้างความประทับใจหรือทำให้ลูกค้าผิดหวัง  นักขายจึงต้องเข้าใจในบุคลิกลักษณะที่นักขาย (Personal Characteristics) พึงปฏิบัติเมื่อยู่ต่อหน้าและลับหลังลูกค้า การสร้างบุคลิกลักษณะที่ดีต่อลูกค้าเป็นจุดเริ่มของการสร้างสายสัมพันธ์ลูกค้าระยะยาว (Long Term Relationships) ทำให้ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยวิ่งหาลูกค้าอยู่ตลอดเวลา บุคลิกลักษณะของนักขายที่จำเป็นต้องมีด้วยกัน 9 ข้อ ซึ่งเป็นพื้นฐานของเป็นนักขายพึงปฏิบัติ มีดังต่อไปนี้

       1) ใส่ใจในลูกค้า (Care for Customer) นักขายที่ดีต้องมีความรู้สึกเอาใจใส่ ห่วงใย  ดั่งตนเองมีส่วนร่วมกับความรู้สึกของลูกค้า ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่การนำเสนอสินค้าเพื่อขายเท่านั้นเช่นการนำเสนอสินค้าที่มีราคาสูงให้กับลูกค้ามากกว่ามากกว่าการคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงที่ลูกค้าต้องการ  เพราะนักขายหลายคนเอาตนเองเป็นที่ตั้ง คือถ้าได้ยอดขายที่สูง ตนเองก็จะได้ผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน การเอาใจใส่ในลูกค้าต้องคำนึงถึงความรู้สึกของลูกค้าเป็นตัวตั้ง คำนึงถึงคงวามจำเป็นที่ลูกค้ามีและพยายามคิดว่าถ้าตนเองเป็นลูกค้าจะทำเช่นนี้หรือไม่มากกว่ามุ่งแต่ขายอย่างเดียว

        
2 ) การมีส่วนร่วมในการทำงาน (Joy in Workเป็นการเข้าไปรับรู้การทำงานของลูกค้า ทำให้ทราบถึงกระบวนการต่างๆที่ลูกค้าทำ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นพนักงานของลูกค้า     ความรู้ความเข้าใจการทำงานร่วมทำหนักขายสามารถเสนอสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง

      
3 ) มีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับลูกค้า  (Harmony in Relationship) เป็นบุคลิกลักษณะที่จะประสานและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมาย ทำให้มีความคิดที่กลมกลืนและให้ความร่วมมือกับลูกค้า  การสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีไม่มีหลักวิธีที่แน่นอน ชวนกันไปเล่นกีฬาบ้างในวันหยุดหรือไปแสดงความยินดีกับลูกค้าในช่วงเทศกาล ก็จะทำให้การทำงานลดความตึงเครียด  เวลาที่ต้องติดต่อธุรกิจลงไปมาก

      
4 ) ไม่เร่งรีบปิดการขาย  (Patience in Closing the sale)   นักขายหลายคนมีความกังกลกับผลงานของตนเองโดยเฉพาะช่วงสิ้นเดือน ทำให้การทำงานออกมาในรูปแบบที่เร่งรีบหรือเร่งรัด โดยเฉพาะช่วงของการปิดการขาย ความเร่งรีบที่มากเกินไปจะทำให้ลูกค้ารู้สึกกังวน  ไม่มั่นใจ และอึดอัดบางครั้งลูกค้าต้องการเวลาในการตัดสินใจ หรือมีข้อสงสัยบางประการที่ยังไม่ชัดเจน  ความเข้าใจผิดของนักขายหลายคนใช้วิธีการของการ "ตื้อ" และพยายามวนเวียนอยู่กับการปิดการขายทำให้ลูกค้ารู้สึกอึดอัด และที่สำคัญเมื่อซื้อแล้วปรากฏว่าสินค้าไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ ทำให้ลูกค้าไม่พอใจซึ่งทำให้เป็นผลเสียมากกว่าผลดี  ดังนั้นนักขายจึงต้องมีความอดทนที่จะไม่เร่งรีบการปิดการขาย  ให้ลูกค้ามีอิสระทางความคิดในการพิจารณาและตัดสินใจ

      
5 ) มีจิดใจดี  (Kind to People) การมีน้ำใจเป็นพื้นฐานที่นักขายต้องพยายามสร้างเพื่อให้ผู้พบเห็นมีความชื่นชอบ มีนักขายหลายคนพยายามสร้างแนวความคิดที่เป็นผู้ที่มีจิตใจดี แต่ไม่ได้ออกมาจากจิตใจที่แท้จริงทำให้ดูแล้วเหมือนการแสแสร้ง ซึ่งจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี หลักง่ายๆของการมีจิตใจดีที่สามารถทำได้เป็นรูปธรรมคือพยายามมองทุกสิ่งในด้านดี หรือเรียกว่า Positive Thinking และเมื่อทำบ่อยเข้าก็จะเป็นลักษณะนิสัยเฉพาะตัวไปทำให้เกิดเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น

       6) การมีจริยธรรม  (Morally ethical) คือความรู้สึกที่จะไม่เอาเปรียบลูกค้า ให้ความจริงใจตรงไปตรงมา เช่นสินค้าที่ใกล้หมดอายุก็ต้องบอกความเป็นจริงกับลูกค้า ไม่ใช่ต้องการขายเพื่อที่จะบายสินค้าให้ลดน้อยลง เมื่อลูกค้าทราบภายหลังทำให้มีความรู้สึกที่ไม่พอใจ และอาจไม่กลับมาซื้ออีกเลยในอนาคต

      
7) มีวาจาน่าเชื่อถือ  (Faithful to word) นักขายกับการพูดเป็นสิ่งทีแยกกันไม่ออก แต่การพูดทุกครั้งไม่ได้หมายความว่าลูกค้า หรือผู้ฟังจะมีความรู้สึกที่ดี การพูดที่ไพเราะจะเป็นสิ่งที่ช่วยการสนทนาน่าฟัง แต่ไม่เพียงพอสำหรับงานขายเพราะการพูดเพื่องานขายนั้นต้องเป็นคำพูดที่น่าเชื่อถือและอ้างอิงได้ นักขายที่ดีจึงต้องมีการเตรียมตัวในข้อมูลต่างๆ ก่อนการออกพบลูกค้า และทีสำคัญต้องหาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ นำมาใช้ให้ถูกกาลเทศะตามความเหมาะสม

       8) มีความยุติธรรมในการขาย  (Fairness in Scale) นักขายหลาย
คนที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะความพยายามที่จะฉวยโอกาสกับลูกค้า เช่นสินค้าบางตัวสามารถต่อรองราคาได้ หรือมีของแถมเมื่อลูกค้าชื้อสินค้า แต่ความเป็นจริงนักขายกับเก็บของแถมไว้ไม่ให้ลูกค้า  ทำให้มีปัญหาว่าลูกค้าบางคนได้รับแต่บางคนไม่ได้รับ ลูกค้าจะสัมผัสได้ถึงความไม่จริงใจ และไม่ยุติธรรมของนักขาย ดังนั้นถ้านักขายต้องการความช่วยเหลือลูกค้าก็จะปฏิเสธเช่นกัน

      
9) การรู้จักควบคุมอารมณ์   (Selt-control in emotional) บ่อยครั้งที่นักขายต้องตกอยู่ในสภาวะของแรงกดดัน ในขณะอยู่ต่อหน้าลูกค้า แรงกดดันเหล่านี้มาจากการเจรจาต่อรอง การโต้แย้งเกี่ยวกับสินค้า ราคาและอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด นักขายต้องเก็บความรู้สึกไว้  โดยไม่แสดงออกถึงอารมณ์ต่างๆเช่นโกรธฉุนเฉียว เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าหายไป หลักที่ง่ายและปฏิบัติได้คือการตรวจสอบภาวะทางอารมณ์ก่อนการเข้าพบทุกครั้ง ถ้าพบว่าภาวะทางอารมณ์ไม่มั่นคง โดยตรวจสอบจากภาวะแวดล้อมของตนเองเช่นข่าวดีใจ เสียใจ รถติด ทะเลาะกับแฟน หรืออื่นๆ นักขายต้องพยายามปรับความรู้สึก และถ้าคิดว่าถ้าต้องใช้เวลาในการปรับอารมณ์นาน การนัดหมายในครั้งนั้นอาจต้องส่งตัวแทนหรือเลื่อนไป  ถึงแม้จะไม่เหมาะสม ถ้านักขายจะต้องเลื่อนนัด   แต่ก็ยังดีกว่าไปทำลายความรู้สึกที่ลูกค้ามีต่อนักขาย หรือต่อบริษัทให้หมดลงไป โดยไม่มีทางที่จะแก้ไข

           หลักสำคัญของการขายนั้นมีมากมายหลายประการแต่สำคัญที่สุดคือความตั้งใจ  อย่าพึ่งท้อแท้ และล้มเลิกความตั้งใจของตนเองไปเสียก่อน เพราะอย่าลืมว่ากรุงโรมที่มีความอลังการณ์นั้นไม่ได้สร้างเสร็จเพียงวันเดียว นั่นก็ย่อมหมายถึงงานทุกอย่างต้องอาศัยเวลา การเรียนรู้ ความพยายาม และที่สำคัญคือต้องมีความเชื่อว่าตนเองนั้นทำได้ ถ้าพลังแห่งความเชื่อนี้บังเกิด โลกทั้งโลกก็อยู่ในกำมือของคน ดังนั้นกับคำที่บอกกล่าวกันมาว่า " ไม่มีอะไรที่วิศวกรทำไม่ได้" เพียงแต่ว่าจะทำหรือไม่เท่านั้น..... คำพูดเหล่านี้จะเป็นเพียงคำบอกกล่าวพูดแล้วก็หายไปหรือเป็นจริงสร้างฝัน  สร้างอนาคตของตนเอง ไม่มีใคร บอกได้นอกจากตัวคุณเอง.... ฝากไว้ให้คิด

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)