7 Segment
โดย : Admin

 7 Segment คืออะไร และการใช้งาน

 
                                รูปที่ 1   ตัวอย่างของ 7 Segment ที่ใช้งานทั่วไป

7 Segment คืออะไร ?

7 Segment คือหน้าจอแสดงผลตัวเลข - ตัวอักษร (ได้บางตัว) ที่มีหน้าจอทำมาจากการจัดวางหลอด LED ในแนวยาว เมื่อทำให้หลอด LED แต่ละดวงติดพร้อมกัน ก็จะทำให้แสดงออกมาเป็นตัวเลขทรงเหลี่ยมได้




       รูปที่ 2    แสดง 7 Segment ที่แสดงผลออกมาเป็นตัวเลขต่างๆ (cr :ภาพจากภาพจาก maruen.tistory.com)

 

 


รูปที่ 3   แสดงตำแหน่งขาของ 7 Segment (cr :ภาพจาก projectcircuitpack.yolasite.com)
 



การแบ่งแยกประเภทของเซเว่นเซกเม้นต์ ( 7 Segment)
 

7 Segmen จะมีการแยกประเภทออกเป็นชนิดต่างๆดังนี้ :
 

1. แยกประเภทตามลักษณะของขาคอมม่อน (Common)

    - Common Anode - ขาคอมม่อนจะต้องต่ออยู่กับขั่วบวก แล้วขาอื่นๆ ต่ออยู่กับกราว์ด จึงจะทำให้ส่วนนั้นๆติดสว่าง
    - Common Cathode - ขาคอมม่อนจะต้องต่ออยู่กับขั่วลบ แล้วขาอื่นๆ ต่ออยู่กับขั้วบวก จึงจะทำให้ส่วนนั้นๆติดสว่าง


2. แยกประเภทตามขนาด

     7 Segment มีด้วยกันหลายขนาด ขนาดที่เป็นมาตรฐานใช้งานทั่วไปคือขนาด 0.56 นิ้ว มีขนาดเล็กกว่า หรือใหญ่กว่าให้เลือกใช้งานด้วย



3. แบ่งตามจำนวนตัวเลข

    ใน 7 Segment อาจจะมีตัวเลขแสดงผลหลายๆตัวติดอยู่ด้วยกัน ทำให้การต่อวงจรง่ายมากยิ่งขึ้น

4. แบ่งแยกประเภทตามสี เช่น  สีแดง   สีเขียว  และสีอื่นๆ - ผสมสีเพื่อให้สีไม่เหมือนกันในแต่ละจุดได้
 

 

การสั่งงาน 7 Segment

โดยทั่วไป 7 Segment จะประกอบด้วย 9 ขา คือ a b c d e f g dot และ common และในกรณีที่มีตัวเลขจำนวนหลักมากขึ้นก็จะมีขา Common เพิ่มมากขึ้น เช่น com1 ก็จะใช้สำหรับควบคุมการแสดงผลหลักที่ 1  ส่วน com2 ควบคุมการแสดงผลหลักที่ 2 และ com(n) ควบคุมการแสดงผลหลักที่ n

จากรูปที่ 2 จะเห็นว่าในแต่ละแถบยาว จะมีตัวอักษรกำกับอยู่ ซึ่งเป็นชื่อของขาที่ใช้ควบคุมแถบนั้น ตัวอย่างเช่น หากต้องการให้แสดงผลตัวเลข 1 จะต้องให้แถบ b และ c ติดสว่าง จึงจะได้เป็นรูปเลข 1 ที่สมบูรณ์ และหากต้องการให้ติดเลข 3 จะต้องให้แถบ a b c d และ g ติดสว่าง จึงจะทำให้แสดงเลข 3 ที่สมบูรณ์

การจะทำให้แถบแต่ละแถบติดสว่างได้ จะต้องทราบก่อนว่า 7 Segment นั้นเป็นคอมม้อนอะไร เมื่อทราบแล้วจะทำให้สามารถควบคุมการติดดับของแต่ละแถบได้ แบบเดียวกับการควบคุม LED โดยที่หากเป็นคอมม้อน Anode จะต้องต่อขาคอมม้นเข้ากับขั้วบวกของแหล่งจ่ายไฟ (5V) และหากต้องการให้แถบใดติดสว่าง จะต้องให้ขาของแถบนั้นต้องลงกราว์ด (เป็นลอจิก LOW หรือที่เรียกว่า ลอจิกศูนย์)

แต่ถ้าหากเป็นคอมม้อน Cathode จะต้องต่อขาคอมม้อนเข้ากับกราว์ด แล้วต่อขาของแถบที่ต้องการแสดงผลเข้าที่ขั้วบวกของแหล่งจ่าย (เป็นลอจิก HIGH หรือที่เรียกว่าลอจิกหนึ่ง)




ที่มา  :https://www.artronshop.co.th และ www.gloogle.com

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)