การวัดไดโอด
โดย : Admin

ไดโอดดีหรือเสีย ตรวจเช็คอย่างไร?




ก่อนที่เราจะทำการวัดไดโอดว่าตัวนำดีหรือเสียนั้น ก่อนอื่นจะต้องทำความรู้จักกับโครงสร้างของไดโอดเสียก่อน ซึ่งมีรายละเอียดคร่าวๆดังนี้ (หากท่านใดต้องการศึกษาเพิ่มเติมแนะนำให้คลิกอ่านบทความที่ลิงนี้ => ไดโอดคืออะไร?)

 

โครงสร้างของไดโอดประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำชนิด P และชนิด N นำมาต่อกัน ซึ่งก็จะมี 1 รอยต่อ ระหว่างสารกึ่งตัวนำทั้งสอง  และจะมีขาที่ออกจากสารกึ่งตัวนำสอง โดยขาที่ต่อยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด P จะเรียกว่า อาโนด (A) และขาที่ออกจากสารกึ่งตัวนำชนิด N เรียกว่า คาโถด (K)




หลักการทำงานโดยทั่วไป ...ไดโอดจะทำงานได้นั้นจะต้องทำการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไป  ซึ่งวิธีการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปนี้จะเรียกว่า การไบอัส (ฺbias)

คลิปแนะนำวิธีการตรวจเช็คโดโอด


 

ไดโอดบริดจ์ ดี/เสีย วัดอย่างไร ?



สำหรับการไบอัสนี้ก็จะมี 2 วิธีด้วยกัน คือ ไบอัสตรงและไบอัสกลับ

1.ไบอัสตรง(forward bias) คือการป้อนไฟบวก (+) เข้าที่ขาอาโนด (A) และป้อนไฟลบ (-) เข้าที่ขาคาโถด (K)
2.ไบอัสกลับ(reverse bias) คือการป้อนไฟลบ (-) เข้าที่ขาคาโถด (K) และป้อนไฟบวก (+) เข้าที่ขาอาโนด (A)



เมื่อรู้พื้นฐานและทฤษฏีโครงสร้างภายในของไดโอดแล้ว ก็สามารถทำการวัดหรือเช็คไดโอดว่าดีหรือเสียดังนี้ 

1.ตั้งมิเตอร์ย่านโอห์ม RX1 หรือ RX10
2.นำไดโอดมาวัด โดยตามหลักการตามทฤษฏี เมื่อวัดมิเตอร์จะขึ้น 1 ครั้ง และเมื่อกลับไดโอดเข็มมิเตอร์จะไม่ขึ้น 1 ครั้ง ถือว่าไดโอดใช้งานได้


หมายเหตุ
1.มิเตอร์ขั้ว + ไฟที่จ่ายคือไฟลบ และมิเตอร์ขั้ว - ไฟที่จ่ายคือไฟบวก

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)