Safety relay
โดย : Admin

เซฟตี้รีเลย์ (Safety relay) ทำงานอย่างไร ?

*** สำหรับบทความนี้แอดมินจะไม่ขอกล่าวถึงพื้นฐานเกี่ยวกับรีเลย์ทั่วๆไปว่ามีหลักการอย่างไร   แต่หากท่านใดสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมก็สามารถคลิกติดตามได้จากลิงค์ดังต่อไปนี้เลยครับ

- บทความ => รีเลย์คืออะไร
-  คลิปอธิบายการทำงานของรีเลย์


 

Monitoring Safety Relay หรือ Safety Relay คืออะไร

Monitoring Safety Relay(MSR)  หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆว่า เซฟตี้รีเลย์ Safety relay นั้น โดยพื้นฐานแล้วรีเลย์ชนิดนี้จะไม่ใช่ Safety relay ที่เรากล่าวมาก่อนหน้านี้  แต่ MSR จะมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ถูกออกแบบมาเฉพาะอย่าง เช่น ใช้งานกับ Safety mat และใช้งานกับ Two-hand control เป็นต้น  นอกจากนี้ MRS ยังมีฟังก์ชั่นในการตรวจสอบความผิดปกติของสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตได้อีกด้วย  จึงนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการประกอบระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร



ตัวอย่างงาน  Two-hand control ที่ใช้กับเครื่องเพรส

 

จากรูปด้านบนเป็นการแสดงวงจรภายในเบื้องต้นของ Monitoring Safety Relay(MSR) ซึ่งจากรูปเราจะเห็นว่า Safety relay ถูกนำมาใช้เป็นเอาต์พุตของ MSR ซึ่งจะมี 2 ชุดหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับการออกแบบ ส่วนการนำเอาต์พุตไปใช้งานว่าจะเป็น 1 ชุด หรือ 2 ชุด นั้นจะขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

โดยปกติ MSR จะสามารถรับสัญญาณอินพุตได้ 2 ชุด ทำให้มีความสามารถในการตรวจสอบความผิดปกติได้เป็นอย่างดี  ซึ่งถ้ามีอินพุตตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหาอินพุตอีกตัวหนึ่งก็ยังสามารถสั่งให้ MSR ตัดวงจรเอาต์พุตได้

นอกจากนั้น MSR จะสามารถตรวจสอบการลัดวงจรถึงกันของสัญญาณอินพุตได้ โดยการจ่ายไฟออกไปที่อุปกรณ์อินพุตให้มีขั้วตรงกันข้ามกัน คือ อินพุตหนึ่งเป็นไฟบวก และอีกตัวหนึ่งเป็นไฟลบ เมื่อเกิดการลัดวงจรถึงกันมันจะทำให้วงจร Overcurrent Protection ทำงานและตัดวงจรเอาต์พุตส่งผลให้โหลดหยุดทำงาน


จากรูปด้านบน..คือตัวอย่างการวงจรการต่อ MSR ใช้งานร่วมกับ E-Stop เพื่อใช้งานร่วมกับวงจรควบคุมมอเตอร์   ซึ่งนับว่าเป็นความสามารถอีกอย่างหนึ่งของ MSR     โดยจะทำหน้าที่ตรวจสอบว่า Magnetic Contactor (K1,K2) ทำปกติหรือไม่ โดยการต่อสัญญาณจากหน้าคอนแทคแบบ NC ของ K1,K2 เข้ากับสวิตช์ Reset 

สำหรับการทำงานของวงจรนี้ก็คือ เมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างผิดปกติและมีหากมีการกดสวิตช์ E-Stop จะทำให้ MSR สั่ง K1,K2 ให้หยุดทำงาน เมื่อหลังจากที่ทำการปลดสวิตช์ E-Stop แล้ว  K1,K2 ก็จะยังไม่ทำงานได้ จนกว่าจะมีการจะกดปุ่มสวิตช์ Reset เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น ....จากรูปถ้าสมมุติว่า  หน้าคอนแทคเมนของ K1 เกิดการหลอมละลายติดกัน ก็จะทำให้หน้าคอนแทคช่วยแบบ NC ของ K1 ในวงจรรีเซ็ตไม่สามารถคืนกลับสภาวะเดิมมาปิดวงจรได้ดังเดิม และเมื่อทำการกดสวิตช์ Reset ก็จะทำให้ไม่มีสัญญาณกลับเข้ามาที่ MSR    ดังนั้น MSR จะไม่สั่งให้เอาต์พุตทำงาน และทำให้ K1,K2 ไม่สามารถทำงานได้เช่นกัน   ซึ่งการตรวจสัญญาณลักษณะเช่นนี้จะเรียกว่า EDM (External Device Monitoring)

 

จากที่กล่าวข้างต้นเราจะเห็นว่าเซฟตี้รีเลย์จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากรีเลย์คอนโทรลทั่วๆไป    นอกจากนั้น MSR  ที่มีองค์ประกอบของเซฟตี้รีเลย์ในปัจจุบันยังมี MSR ที่ใช้เอาต์พุตเป็นโซลิตเต็ดให้เลือกใช้งานอีกด้วย

 


ตัวอย่างเซฟตี้รีเลย์แบบต่างๆที่ใช้ในวงจรควบคุมเครื่องจักรในอุตสาหกรรม

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : https://sonicautomation.co.th/how-safety-relay-work/

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)