ฟ้าผ่า-ฟ้าแลบ- ฟ้าร้อง
โดย : Admin

ฟ้าผ่า / ฟ้าแลบ / ฟ้าร้องเกิดขึ้นได้อย่างไร ?


ฟ้าผ่า ฟ้าแลบและฟ้าร้องเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจำนวนมากระหว่างวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างพื้นโลกกับก้อนเฆม หรือระหว่างก้อนเฆมกับพื้นดิน เหมือนกับหลักการที่ว่าถ้าเอาวัตถุต่างชนิดมาถูกันจะเกิดอำนาจของไฟฟ้าขึ้น ในวัตถุทั้งสองนั้น




ลมซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของแก๊สชนิดต่าง ๆ เมื่อพัดด้วยความเร็วสูงจะทำให้เกิดการขัดสีกับผิวพื้นโลกและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จึงทำให้โมเลกุลของลมได้รับประจุลบ (อิเล็กตรอน)  เมื่อลมได้รับอิเลคตรอนและไปถ่ายเทให้กับด้านล่างของก้อนเมฆ   เมื่ออิเล็กตรอนรวมตัวกันที่ด้านล่างของก้อนเมฆมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขนาดหนึ่ง แรงผลักระหว่างอิเลคตรอนบนก้อนเมฆจะผลักให้อิเลคตรอนที่ผิวโลกแยกตัวออกจากประจุบวก จนทำให้ผิวโลกมีประจุเป็นบวกเพิ่มมากขึ้น ประจุลบบนก้อนเมฆจะผลักกันเองและขณะเดียวกันจะถูกดูดโดยประจุบวกจากพื้นโลก จึงทำให้มีประจุลบเคลื่อนที่ลงสู่ผิวโลก เนื่องจากแรงผลักจากด้านบนและแรงดูดจากด้านล่าง
 



 

ซึ่งการที่ประจุเคลื่อนที่จากก้อนเมฆไปสู่ผิวโลกจะเรียกว่า " ฟ้าผ่า "

ถ้าประจุเคลื่อนที่จากก้อนเมฆไปยังก้อนเมฆเรียกว่า " ฟ้าแลบ"



ในขณะที่ประจุไฟฟ้าแหวกผ่านไปในอากาศด้วยอัตราเร็วสูงมันจะผลักดันให้อากาศแยกออกจากกัน แล้วอากาศก็กลับเข้ามาแทนที่โดยฉับพลันทันที ทำให้เกิดเสียงดังลั่นขึ้น เราเรียกว่า " ฟ้าร้อง "

ฟ้าแลบและฟ้าร้องในพายุเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่มนุษย์เรามองเห็นฟ้าแลบก่อนต่อมาจึงได้ยินฟ้าร้องทั้งนี้ เพราะเหตุว่าแสงมีความเร็วมากกว่าเสียง   เนื่องจากแสงมีอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ส่วนเสียงมีอัตราเร็วประมาณ 1/3 กิโลเมตรต่อวินาทีเท่านั้น


เพราะเหตุนี้ เมื่อมีฟ้าแลบและฟ้าร้อง เราจึงได้เห็นฟ้าแลบหรือประกายไฟได้ทันทีและได้ยินเสียงฟ้าร้องทีหลัง




ฟ้าผ่าขึ้นคืออะไร ?

Upward Lightning  หรือ ชื่อไทยโบราณ คือ อสูรยิงเทวดา หรือ ดินผ่าฟ้า เป็นลักษณะของเกิดการรวมของประจุไฟฟ้าที่พื้นดิน เกิดได้ทั้งประจุบวกและประจุลบ มักมีขั้วเป็นส่วนยื่นจากพิ้นดินเป็นตัวนำ เช่น ต้นไม้ หอสูง เสาโทรศัพท์ ฯลฯ เมื่อมีการถ่ายเทสู่อากาศ จึงเกิด ปรากฏการณ์นี้ขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้ว ระหว่างเกิดฟ้าผ่าตามปกติ ก็จะมีการกระแสประจุไฟฟ้าไหลขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศวิ่งสวนทางได้เหมือนกัน

 




 

CR: ห้องไฟฟ้า electrical Room  และ ห้องติวเตรียมสอบนายช่างไฟฟ้า

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)