ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า Inductor
โดย : Admin

Inductor ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าคืออะไร

 

 
ตัวอย่าง อินดัคเตอร์ หรือตัวเหนี่ยวไฟฟ้าชนิดต่างๆ

 

ตัวเหนี่ยวนำ (Inductor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเหนี่ยวนำไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการสนามแม่เหล็กตัดผ่านขดลวด จะทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าในขดลวด

ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าใช้อักษรย่อ L   คือขดลวดเคลือบน้ำยาฉนวนนำมาพันบนแกนต่าง ๆ เช่นแกนเหล็ก (Iron Core) แกนอากาศ (Air core) แกนเฟอร์ไรท์ (Ferrite Core) แกนทอรอยด์ (Toroidal  Core) เป็นต้น


a) ตัวเหนี่ยวนำแบบแกนอากาศ(Air core)และสัญลักษณ์
b) แกนเฟอร์ไรท์ (Ferrite Core) และสัญลักษณ์
c) ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าแกนเหล็กและสัญลักษณ์
d) แกนทอรอยด์ (Toroidal  Core)

 
หน่วยวัดตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า


  ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าจะมีหน่วยวัดเช่น  เฮนรี่ (Henry) ใช้อักษรย่อ H  และหน่วยวัดย่อยเช่น มิลลิเฮนรี่ (Milli Henry) ใช้อักษรย่อ mH  และไมโครเฮนรี่ (Micro Henry)  ใช้อักษรย่อ uH เป็นต้น


โดยทั่วๆไป ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือตัวเหนี่ยวนำแบบค่าคงที่  (Fixed Inductor) และตัวเหนี่ยวนำแบบปรับค่าได้ (Variable  Inductor)





ชนิดของตัวเหนี่ยวนำ     

  โช้คคอลย์ ( Choke coil ) หรือขดลวดโช๊คคือตัวเหนี่ยวนำแบบคงที่ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นขดลวดเคลือบน้ำยาฉนวนนำมาพันบนแกนต่าง ๆ เช่นแกนเหล็ก (Iron Core)  แกนอากาศ (Air core)  แกนเฟอร์ไรท์ (Ferrite Core) ลักษณะการพันจะมีปลายขดลวดเพียง 2 ปลายเท่านั้น โดยทั่วไปนำมาใช้งานเช่น ป้องกันสัญญาณรบกวนความถี่วิทยุ (RF Choke) ทำเป็นโซลินอยด์ ดังรูป

 
หม้อแปลง (Transformer) คือตัวเหนี่ยวนำแบบคงที่อีกชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นขดลวดเคลือบน้ำยาฉนวนนำมาพันบนแกนเหล็ก  ลักษณะการพันจะมีขดลวด 2 ขดคือ ขดปฐมภูมิ (Primary coil) และขดทุติยภูมิ(Secondary coil)โดยทั่วไปนำมาใช้งานลด  หรือเพิ่มขนาดของแรงดันและกระแสไฟฟ้า  ดังรูป

 

 ตัวเหนี่ยวนำแบบปรับค่าได้

    หม้อแปลงไฟฟ้าแบบปรับค่าได้ คือหม้อแปลงไฟฟ้าที่สามารถปรับค่าแรงดันไฟฟ้าได้ตามความต้องการของอุปกรณ์ ดังรูป

 

 



 

การต่อตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า

การวงจรต่อตัวเหนี่ยวนำสามารต่อได้ 3 วิธีเหมือนกับการต่อวงจรตัวต้านทานไฟฟ้า คือ 

    1. การต่อแบบอนุกรม
    2. การต่อแบบขนาน
    3. การต่อแบบแบบผสม


 

ลักษณะการเสียของตัวเหนี่ยวนำ

1) ถ้าขดลวดช๊อต เมื่อวัดค่าความต้านทานด้วยโอมห์มิเตอร์ จะอ่านค่าได้ 0 โอมห์
2) ถ้าขดลวดขาด เมื่อวัดค่าความต้านทานด้วยโอมห์มิเตอร์ จะอ่านค่าได้ œ อินฟินิตี้
3) ถ้าขดลวดช๊อตข้ามขด เมื่อวัดค่าความต้านทานด้วยโอมห์มิเตอร์ระหว่างขดไฟเข้าและขดไฟออก จะอ่านค่าได้  0 โอมห์
4) ถ้าขดลวดช๊อตรอบ เมื่อวัดค่าความต้านทานด้วยโอมห์มิเตอร์ จะอ่านค่าต่ำกว่าปกติ
5) ขดลวดไหม้  เกิดจากการที่โหลดเกินหรือโหลดดึงกระแสมากเกินไปและทำให้เกิดความร้อนเกินพิกัดของน้ำยาฉนวนที่เคลือบอยู่ที่ขดลวดเสียหายและใหม้ ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ขดลวดลัดวงจร
 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)