Auto Transformer Start
โดย : Admin

โดย: สุชิน เสือช้อย (แอดมิน)


การสตาร์ทมอเตอร์ด้วยหม้อแปลงแบบออโต้ 
(Auto Transformer Start)


คลิปอธิบายการสตาร์มอเตอร์ด้วยออโตทรานฟอร์เมอร์



การสตาร์ทมอเตอร์แบบใช้หม้อแปลงแบบอัตโนมัติหรือออโต้ทรานส์ฟอร์เมอร์นี้  ถือว่าเป็นการสตาร์ทมอเตอร์แบบใช้วิธีการลดแรงดันขณะสตาร์ทอีกวิธีหนึ่ง   ซึ่งแนวคิดและเหตุผลก็คล้ายๆกับการสตาร์ทมอเตอร์แบบสตาร์เดลต้า  คือการลดแรงดันเพื่อลดกระแสและแรงบิดช่วงสตาร์ทหรือช่วงออกตัวสำหรับมอเตอร์ขนาดใหญ่ๆ 

 



แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองแบบจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้

- การต่อขดลวด....การสตาร์ทมอเตอร์แบบนี้  ขั้วต่อสายมอเตอร์จะเป็นแบบ 3 สาย หรือ 6 สายก็ได้ แต่จะต้องทำการต่อภายในให้เรียบร้อยก่อนต่อเข้ากับชุดสตาร์ทมอเตอร์ ซึ่งจะมีสายออกมาจากมอเตอร์เพียงแค่ 3 สาย หรือสามเส้นเท่านั้น   ส่วนกรณีของการสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า มอเตอร์ที่ใช้จะมีขั้วต่อสาย 6 เส้น และจะใช้แมกเนติกคอนแทคเตอร์ในวงจรเพาเวอร์เป็นตัวต่อวงจรให้

- แรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ขณะสตาร์ท...การสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า แรงดันที่มอเตอร์ได้รับช่วงออกตัวหรือช่วงสตาร์ทจะคงที่ประมาณ 57.7 % หรือ 58%  ส่วนการสตาร์ทแบบออโต้ทรานส์ฟอเมอร์จะแทปให้เลือกว่าต้องการแรงดันขณะสตาร์ทเท่าไหร่ และโดยทั่วไปจะมี 3 แท๊ปให้เลือกคือ 50, 65 และ 80 %  ซึ่งสามารถเลือกแทปแรงดันให้สอดคล้องแรงบิดหรือทอร์คที่โหลดต้องการ


การทำงานของวงจรการสตาร์ทแบบออโต้ทรานส์ฟอร์เมอร์

ขั้นตอนแรก... เมื่อเริ่มสตาร์ท มีคอนแทคเตอร์ 2 ตัวถูกสั่งให้ทำงาน โดย KM1 จะต่อวงจรให้ออโต้ทรานส์ฟอร์เมอร์ต่อวงจรให้เป็นแบบเดลต้า ส่วน KM2 จะต่อวงจรจายไฟให้กับหม้อแปลง ( KM1 ควรทำงานก่อน KM2 เพื่อต่อวงจรหม้อแปลงให้เรียบร้อยก่อนจ่ายไฟ)  ส่วนมอเตอร์ก็จะได้รับแรงดันไฟฟ้าตามเป็นเปอร์เซ็นต์โดยขึ้นอยู่กับว่าวงจรนั้นๆใช้แทปหม้อแปลงกี่เปอร์เซ็นต์ 50,65 หรือ 80 %





ขั้นตอนที่สอง....คอนแทคเตอร์ KM1 จะเปิดวงจรหม้อแปลงออก  ซึ่งในขั้นตอนนี้ขดลวดของหม้อแปลงจะเปลี่ยนมาทำหน้าที่เป็นรีแอคเตอร์ (Reactor) ต่ออนุกรมกับขดลวดของมอเตอร์แทน
 

 

ขั้นตอนที่สามหรือช่วงรัน...คอนแทคเตอร์ KM2 จะถูกสั่งให้เปิดวงจร จากนั้นคอนเตอร์ KM3 จะทำการต่อวงจรและต่อโดยตรงให้กับแหล่งจ่าย

 

*** การเลือกแทปจะต้องสัมพันธ์กับความต้องการแรงบิดของโหลด  ต้องแน่ใจว่าแทปของแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์จะต้องสร้างทอร์คได้มากกว่าทอร์คหรือแรงบิดที่โหลดต้องการ (สี่น้ำเงินคือทอร์คที่สร้างโดยมอเตอร์ ส่วนสีเหลืองคือทอร์คที่โหลดต้องการ)

 

 

กระแสและทอร์ค ขณะสตาร์ท สัมพันธ์กับ แรงดันอย่างไร

- กระแส...กระแสจะแปรผันตรงกับแรงดันที่ป้อน  ยกตัวอย่างมีกระแสขณะสตาร์ที่แรงดันพิกัดเป็น 6 เท่าของกระแสพิกัด และวงจรสตาร์ทนี้เลือกใช้แทปหม้อแปลที่ 65 % (แรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ช่วงสตาร์จะเท่ากับ 380 * 0.65 = 247 V.) ซึ่งก็ทำให้กระแสขณะสตาร์ทลดลงเหลือประมาณ(247/380)*6 = 3.9  เท่า หรือประมาณ 65% เมื่อเปรียบเทียบการสตาร์ทแบบต่อโตยตรงกับไลร์ซึ่งมีค่าเป็น 6  เท่าของกระแสพิกัด

- ทอร์คหรือแรงบิด..ทอร์คจะเป็นสัดส่วนกำลองกับแรงดัน  ถ้าเลือกแทปของหม้อแปลงที่ 65 %  (380 * 0.65 = 247 V.) ทอร์คขณะสตาร์ทก็จะลดลงเหลือ (247/380)2 * 1.5 = 0.63 เท่า หรือ 63% ของแรงบิดสูงสุด  เป็นต้น


 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)