นโยบายรีไซเคิลที่นอร์เวย์
โดย : Admin

 
  ตั้งแต่ต้นเดือน สิงหาคม  2016  ที่ผ่านมาแอดมินได้มีโอกาสไปทำงานที่นอร์เวย์มาประมาณหนึ่งเดือน โดยได้รับมอบหมายให้ไปช่วยซัพพอร์ทระบบ VFD  ABB ACS880 ที่ใช้ขับเคลื่อนระบบเครน 900 ตัน ในระหว่างที่การคอมมิสชั่นนิ่ง (Commissioning)  ณ ที่ท่าเรือเมือง Brattvag (บรอทท์วอก) ด้านชายฝั่งด้านทิศตะตกของนอร์เวย์

 

 นับเป็นครั้งแรกที่ได้มานอร์เวย์และก็ทำให้ได้เห็นอะไรหลายๆอย่างที่แตกต่างไปจากที่สภาพที่คุ้นเคย  และสิ่งหนึ่งที่เห็นแล้วรู้สึกว่าชอบก็คือนโนบายเรื่องสิ่งแวดล้อมและระบบรีไซเคิลของที่นี่  (ของเค้าจริงจังและเป็นระบบเป็นระเบียบแค่ไหนนั้นลองคลิกอ่านได้จากลิงค์นี้ => การแยกขยะให้ถูกต้องของประเทศนอร์เวย์ )

 

สำหรับนโนบายเรื่องสิ่งแวดล้อมที่นี่หากจะว่าไปแล้วอาจจะบรรยายไม่หมด  แต่ในที่นี่จะขอเล่าสู่กันฟังเฉพาะเรื่องสิ่งบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่มเท่านั้นก่อน

 
แนวคิดเรื่องการีไซเคิลและการรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศในแถบสแกนดิเนเวียร์ อย่างเช่น เดนมาร์ก สวีเดน  นอร์เวย์ หรืออีกหลายๆประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น เยอรมัน อเมริกา หรือ ญี่ปุ่น นั้นเขามีแนวคิดการรีไซเคิลที่น่าสนใจ   นั่นคือเขาจะใช้วิธีบวกราคาค่ามัดจำของสิ่งบรรจุภัณฑ์ลงไปในราคาเครื่องดื่มด้วย โดยจะมีการพิมพ์ราคาค่ามัดจำ (PANT) ซึ่งหมายถึงค่ามัดจำลงไปบนฉลากด้วยดังตัวอย่างต่อไปนี้


ตัวอย่างราคาค่ามัดจำขวด....
ขวดน้ำครึ่งลิตรหรือ 500 มล. ค่ามัด1 Kr. หรือ 4.20 บาทโดยประมาณส่วนขวดลิตรค่ามัด 2.5 Kr. หรือ 10.50 บาท โดยประมาณ


  จากรูปจะเห็นว่าค่ามัดจำขวดหรือกระป๋องเครื่องดื่มต่างๆนั้นมีราคาค่อนข้างแพงพอสมควรหากเปรียบเทียบกับค่าครองชีพในบ้านเรา และด้วยนโบบายแนวคิดนี้นี่เองทำให้ประเทศเหล่านี้สามารถลดปัญหาเรื่องขยะได้เป็นอย่างดี

 

 แต่อย่างไรก็ตามหากจะว่าไปแล้วต้นตอปัญหาเหล่านี้อาจมีหลายสาเหตุด้วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจิตสำนึกซึ่งถือว่าสำคัญที่สุด ส่วนเรื่องแนวคิดและนโยบายดีๆก็น่าจะเป็นอะไรที่ช่วยได้ไม่น้อยเลยที่เดียว  นั่นคือนอกเหนือจากการบวกค่ามัดจำไปกับเครื่องดื่มแล้วเขายังได้จัดเตรียมตู้รีไซเคิลไว้อำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย



  ดูเหมือนที่นี่เขามีทางเลือกให้พอสมควร  นั่นคือถ้าไม่แคร์อะไรและฉันมีตังค์หากจะดื่มเสร็จแล้วจะโยนทิ้งไปก็ไม่มีใครว่าอะไร ถือว่าเป็นการจ่ายให้เงินให้คนที่ทำหน้าที่ตรงนี้ไป   แต่ถ้ามีจิตสำนึกและรู้สึกว่าที่ทิ้งไปนะมันคือเงิน เขาก็มีทางเลือกให้นั่นคือเมื่อดื่มหมดแล้วก็เก็บสะสมไว้แล้วนำหยอดคืนในตู้รีไซเคิลที่ให้บริการเมื่อสะดวก   ซึ่งวิธีนี้ท่านก็จะได้รับใบเสร็จตามจำนวนราคาค่ามัดจำคืนและสามารถนำใบเสร็จเอาไปใช้ซื้อของในซูเปอร์มาเก็ตนั้นในครั้งต่อไปได้หรือจะนำไปขึ้นเงินที่เคาน์เตอร์แคชเชียร์ก็สามารถทำได้ หรือมากกว่านั้นยังสามารถเลือกที่จะนำเงินค่ามัดจำทั้งหมดไปบริจาคให้กับองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็ทำได้  ซึ่งมีคลิปประกอบให้ได้รับชมกันดันต่อไปนี้
 

 

 
ตัวอย่างตู้หยอดหยอดขวด หรือ ตู้รีไซเคิล

 

 
    แต่อย่างไรก็ตามแอดมินคิดว่าจิตใต้สำนึกนั้นค่อนข้างสำคัญ..... ไม่lคัญอย่างไรนั้นตัวอย่างด้านล่างจะสื่อความหายได้เป็นอย่างดี .... ซึ่งเป็นควันหลงจากงานรณรงค์ลดการใช้รถ+ลดโลกร้อน    แต่ทว่าสิ่งที่ พณฯ ท่านเหลือไว้ให้ดูต่างหน้านั้นมันช่างเหลือคำบรรยาย....บอกได้คำเดียวว่าทำได้แจ่มจริงๆพ่อทูนหัวของบ่าว...556

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)