ประเภทของแท่นขุดเจาะน้ำมัน
โดย : Admin

 แปลและเรียบเรียงโดย: สุชิน เสือช้อย => เว็บมาสเตอร์ 

 



ประเภทของแท่นเจาะน้ำมัน (Types of Oil Rigs)

           ริก(Rig) หรือ หรือแท่นเจาะน้ำมันหากแยกประเภทตามลักษณะสภาพการนำไปใช้งานก็สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม   คือแท่นบกหรือที่นิยมเรียกทัพศัพท์ว่าแลนด์ริก (Land Rig)  และแท่นเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง (อ๊อฟชอร์ ริก, Offshore rig )
 
 

ตัวอย่างแท่นเจาะน้ำมันบก (Land Rig)
 
      แท่นเจาะน้ำมันบกนี้ ในบ้านเราก็มีให้เห็นอยู่หลายที่ด้วยกันตามแหล่งน้ำมัน (Oil field ) ต่างๆเช่น แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ที่ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร .. แหล่งน้ำมันวิเชียรบุรี-เพชรบูรณ์ ... แหล่งน้ำมันสังฆจาย-สุพรรณบุรี   และอื่นๆ
 
  • Offshore Rigs

           ส่วน offshore rig  จะเป็นแท่นที่ใช้ขุดเจาะน้ำมันที่อยู่นอกชายฝั่งหรือในทะเล หรือตามน่านน้ำของประเทศต่างๆ ซึ่งจะมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
  • Swamp barges

swamp barge  คือริกที่มีการติดตั้งแท่นเจาะฯไว้บนแพ    เหมาะสำหรับขุดเจาะบริเวณน้ำตื่นๆ เช่น หนองน้ำหรือแม่น้ำเป็นต้น หรือ บริเวณชายฝั่งที่มีคลื่นลมไม่แรงมาก

 

 

  •  Tender Barges หรือ Tender rig  หรือ Drilling Barges


        แท่นแบบนี้จะออกแบบเหมือนกับแพบรรทุก ซึ่งจะบรรทุกแท่นขุดเจาะฯไปประกอบและติดตั้งที่ platform ต่างๆ และเมื่อเจาะเสร็จก็แยกแท่นออกเป็นส่วนย่อยและบรรทุกไว้บนแพเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ต้องการเจาะลำดับถัดไป
 

       ข้อดีคือ ค่าเช่า(day rate)จะราคาถูกกว่าแท่นเจาะแบบอื่นๆ และเหมาะสำหรับบริเวณที่มีหลุมน้ำมันอยู่ใกล้ๆกัน กล่าวคือเมื่อติดตั้งแท่นเจาะฯบน platform เสร็จเรียบร้อยก็สามารถเจาะได้หลายๆหลุมในเวลาไล่เลี่ยกัน  โดยไม่ต้องถอดและเคลื่อนย้ายตำแหน่งไปที่อื่น  ซึ่งทำได้โดยเพียงแค่เลือนตำแหน่งแท่นเจาะนิดหน่อย ( Skid) ในระยะไม่กี่เมตรก็สามารถเจาะเพิ่มได้เลย
 

      ข้อเสียคือ   การถอดประกอบและติดตั้งแต่ละครั้งเป็นอะไรที่ยุ่งยาก และที่สำคัญคือจะทำการขุดเจาะได้เฉพาะบริเวณที่มี่การติดตั้งหรือสร้าง platform รอไว้ก่อนเท่านั้น
 


แท่นถูกนำขึ้นไปประกอบและติดตั้งบน platform เรียบร้อย

 

  • Jack Up Rig

   Jack Up คือ แท่นที่มีโครงสร้างของฐานหรือขา 3 ขาจุ่มลึกลงไปถึงก้นทะเล

ส่วนของฐานหรือลำตัวจะลอยสูงเหนือผิวน้ำและสามารถปรับระดับขึ้นลงได้

ข้อดีคือ ริกแบบนี้จะเข้าประจำตำแหน่งได้รวดเร็ว ลดการเสียเสียเวลาในการเคลื่อนย้ายซึ่งเหมาะกับงานสำรวจ (exploration) ซึ่งถ้าเจอก็เก็บข้อมูลไว้ให้นักธรณีวิเคราะห์แต่ถ้าไม่เจอก็กลบหลุมแล้วเคลื่อนย้ายไปสำรวจที่อื่นต่อไป

ข้อจำกัดคือ สามารถปฏิบัติการได้ที่ความลึกสูงสุด 500 ฟุต หรือเท่ากับ 152.4 เมตร เท่านั้น

 

 

  • Submersible drilling rig
     
   Submersible  โครงสร้างหรือแท่นขุดเจาะที่สามารถจุ่มน้ำได้  แท่นขุดเจาะฯแบบนี้โดยทั่วไปจะใช้งานหรือใช้ขุดเจาะน้ำมันบริเวณน้ำตื่นๆ ประมาณ 80 ฟุตหรือน้อยกว่า    การเคลื่อนย้ายก็ทำโดยใช้เรื่อลากจูงไปยังสถานที่ที่ต้องการจะขุดเจาะและจุ่มลงไปให้นั่งอยู่กับพื้นดินใต้น้ำ (submerged until it sits on the bottom) 


 
 
 
ภาพประกอบจากกลูเกิล


***   แท่นเจาะน้ำมันแบบอื่นๆนั้นผู้เขียนได้เคยไปเซอร์วิช  ทำงาน และกินอยู่หลับนอนมาหมดแล้วทุกประเภท   ยกเว้นริกประเภทนี้ซึ่งผู้เขียนเองก็ยังไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นแท่นเจาะรุ่นเก่าๆหรือแท่นเจาะรุ่นแรกนะครับ
 
 
 
 
  • Semi-Submersible  หรือแท่นขุดเจาะแบบลอยตัวกึ่งจม
     




 Semi Submersibles คือ แท่นที่ถูกออกแบบและคำนวณมาให้สามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ...โครงสร้างติดตั้งบนเสาหรือคอลัมน์ขนาดใหญ่ (culumns) และทุ่นท้องแบน(Pontoons) ขนาดใหญ่เป็นตัวรับน้ำหนักอยู่ด้านล่างใต้น้ำและจมอยู่ในระดับความลึกที่กำหนด

 

   แท่นประเภทนี้เมื่อเข้าสู่ตำแหน่งปฏิบัติการหรือตำแหน่งที่ต้องการเจาะแล้วกัปตันผู้ควบคุมดูแลจะสั่งให้ทำการทิ้งสมอขนาดใหญ่( Huge mooring anchors) ลงสู่ก้นทะเล เพื่อทำหน้าที่ยึดและรักษาตำแหน่งของแท่นเอาไว้เพื่อป้องกันการกระแทกจากคลื่นน้ำทะเล

   ***  การรักษาตำแหน่งไม่ให้ตำแหน่งเคลื่อนย้ายนั้น ถ้าเป็นริกรุ่นเก่าๆก็จะใช้วิธีทิ้งสมอยึดตำแหน่งดังที่กล่าวมา แต่ถ้าเป็นริกที่ใหม่ๆหน่อยก็จะใช้ Thrusterหรือใบพัดเรือขนาดใหญ่ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนและสามารถควบคุมความเร็วได้ หรือไม่ก็ใช้ทั้งสมอและใบพัดสนันสนุนซึ่งกันและกัน

***  การควบคุมใบพัด ถ้าเป็นริกรุ่นเก่าหน่อยก็จะใช้ดีซีมอเตอร์และใช้ SRC เป็นควบคุมความเร็ว แต่ถ้าเป็นแท่นใหม่ๆหน่อยก็จะใช้เอซีมอเตอร์และใช้อินเวอร์เตอร์เป็นตัวควบคุมความเร็วรอบ 
 

   แท่นเจาะแบบเหมาะสำหรับขุดเจาะบริเวณที่มีน้ำลึก ซึ่งบางลำสามารถทำการขุดเจาะได้ลึกถึง 5,000 ฟุต หรือเท่ากับ 1,524 เมตรเลยที่เดียว

 

 

Thrusters

 
 

  •   DrillShip ( เรือขุดเจาะน้ำมัน)
     

 
 


       Drillship...ริกประเภทนี้ชื่อสื่อความหมายชัดเจน...เป็นเรือที่ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ขุดเจาะน้ำมัน  ซึ่งเหมาะสำหรับการขุดเจาะในบริเวณที่มีน้ำลึกมากถึง 40,000 ฟุต หรือ 12,120 เมตร (Ultra Deepwater ) และต้องการเคลื่อนย้ายตำแหน่งบ่อยๆ เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งอื่นๆได้เองโดยไม่ต้องอาศัยการลากจูงเหมือน Semi Submersibles และ Jack-Ups ดังที่กล่าวมาแต่ท่าว่ากันเรื่องเสถียรภาพของการปฏิบัติงานแล้ว ก็ยังเป็นรองแท่นประเภท Semi Submersibles
 


       การรักษาตำแหน่งไม่ให้เคลื่อนในขณะทำการขุดเจาะก็จะวิธีที่คล้ายกับแบบ
Semi Submersibles  ดังที่กล่าวมา คือการใช้สมอขนาดใหญ่และใช้ใบพัดหรือ thruster เป็นตัวยึดหรือพยุงไม่ให้ตำแหน่งเคลื่อนไหว

 
 

 

เปรียบเทียบแท่นขุดเจาะแต่ละประเภท


ภาพเปรียบเทียบให้สมรรถนะและขีดความสามารถในการขุดเจาะของแท่นเจาะนอกชายฝั่งแต่ละประเภท (Cr: MEARSEK Drilling)
 

 


ภาพแสดงการยึดหรือการคงตำแหน่งขุดเจาะไม่ให้มีการเคลื่อนที่ของแท่นแต่ละประเภท

 
 


 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)