ประหยัดพลังงานด้วยวัฒนธรรมลอจิสติกส์
โดย : Admin


  ที่มาชงโคสาร       
 
โดย:  ดร.วิทยา  สุหฤทดำรง

 

     

  เราจะต้องหันมาดูเรื่องการประหยัดพลังงานกันอีกครั้งหนึ่งตามประสาคนไทยที่แก้กันที่ปลายเหตุกันเป็นปกติ  ผมลองสังเกตดูในหลายสิบปีที่ผ่านมา เรามีโครงการประหยัดพลังงานกันเป็นช่วงๆ พอผ่านพ้นวิกฤตแล้วเราก็กลับมามีพฤติกรรมเหมือนเดิมอีก จริงไหมครับ? ไม่เชื่อท่านก็ลิงนึกดูก็แล้วกัน แล้ววิกฤตพลังงานครั้งนี้จะทำให้คนไทยมีโอกาสได้กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมๆอีกหรือไม่นี่เป็นประเด็นที่ผมอยากจะจุดประการการแก้ปัญหาพลังงานอย่างยั่งยืนโดยมีมีประเด็นในการมองอยู่สองประเด็น คือการออกแบบและการใช้งานถ้าเราออกแบบมาเพื่อใช้ได้อย่างฟุ่มเฟือยการใช้งานก็ย่อมฟุ่มเฟือยตามส่วนการใช้งานผลิตภัณฑ์นั้นๆซึ่งก็ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้ใช้งานว่าใช้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ผมมองว่านั้นคือวัฒนธรรมการใช้พลังงาน


 
พลังงานคือชีวิต

             ชีวิตนั้นเกิดจาการใช้พลังงานหรือเผาผลาญในเซลล์ต่างๆให้เกิดพลังงานทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ เครื่องจักรหรือธุรกิจก็เช่นกันย่อมต้องใช้พลังงานเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในแปลงสภาพทรัพยากรไปสู่สิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อลูกค้าและสังคม 
กิจกรรมต่างๆในระบบใดก็ตามย่อมต้องมีกิจกรรมลอจิสติกส์ที่สนับสนุนการเคลื่อนย้ายของทรัพยากรตามฟังก์ชั่นหน้าที่ของมัน  การเคลื่อนย้ายของ สสารต่างๆย่อมต้องการพลังงานกลในการเคลื่อนย้ายทั้งสิ้นโดยเฉพาะสิ่งที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมา  ที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมา และไม่ได้อยู่ในระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติจำเป็น ต้องใช้ พลังงานกลที่คิดค้นโดยมนุษย์แต่พลังงานเหล่านี้ก็มาจากธรรมชาติอยู่ดี แต่ที่น่าแปลกคือมนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติในขณะเดียวกันก็ทำลายธรรมชาติไปด้วย

              ธุรกิจก็เหมือนคนเราที่ต้องการชีวิต ต้องการพลังงานเพื่อที่จะสามารถเคลื่อนไหวได้  พลังงานสำหรับชีวิตก็คืออาหาร แต่สำหรับธุรกิจก็คือน้ำมัน และพลังงานไฟฟ้าที่มาจากพลังงาน้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น คนเราเองบางครั้งคิดว่าเราสามารถเข้าใจและพยายามเอาชนะธรรมชาติได้ แต่สุดท้ายก็ต้องพึ่งพาธรรมชาติอยู่ดี


             
 ดังนั้นเราคงสังเกตเห็นได้ว่าคนที่ตายแล้วนั้นไม่เคลื่อนไหว ธุรกิจที่มีปัญหาหรือตายแล้วก็ย่อมที่จะไม่มีการเคลื่อนย้ายเช่นกัน และกิจกรรมเคลื่อนย้ายเหล่านี้ก็คือกิจกรรมลอจิสติกส์นั้นเอง
    ประหยัดพลังงานด้วยแนวคิดลอจิสติกส์


            การเคลื่อนย้ายย่อมต้องใช้พลังงาน ในชีวิตประจำวันและธุรกิจนั้นเราไม่สามารถหยุดการเคลื่อนย้ายได้เพราะถ้าเราหยุดเคลื่อนไหวเราก็เหมือนคนตาย หรือถ้าไม่มีการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบแล้ว ธุรกิจก็คงจะล่มสลายไปเช่นกัน  การใช้แนวคิดลอจิสติกส์ไม่ใช่แค่การพิจารณาการเคลื่อนย้ายเท่านั้น แต่เป็นการพิจารณาตัดสินใจอย่างมีสติหรือมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย
            ลองพิจารณาดูว่าตลอดวันในการตัดสินใจเรื่องราวต่างๆนั้นมีอยู่กี่เรื่องและแต่ละเรื่องอย่างน้อยจะต้องมีส่วนมาเกี่ยวข้องการเคลื่อนย้าย ไม่ว่าเราจะคิดและตัดสินใจอะไรในชีวิตประจำวันของเราจะต้องเกี่ยวกับลอจิสติกส์ทั้งสิ้น ไม่ว่าเราจะไปไหน อย่างไร ไปเมื่อไรหรือถึงที่หมายเมื่อไร จะพักที่ไหนในระหว่างเดินทางแม้แต่การจะหาที่ทำงานหรือหาโรงเรียนให้ลูก หรือการจะหาเรือนหอสักหลังหนึ่ง เรามักจะนึกถึงทำเลที่ตั้งที่สะดวกต่อการเดินทางที่มักขโมยเวลาของคนเมืองหลวงไปอย่างเปล่าประโยชน์ ลักษณะเช่นนี้เป็นลอจิสติกส์ที่ขาดการจัดการ เพราะการจัดการลอจิสติกส์ที่ดีจะต้องสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้งานประหยัดทั้งเวลาและเงิน 


ทั้งภาครัฐและเอกชนมีการพูดถึงลอจิสติกส์กันมามากในช่วงระยะนี้  เพราะคิดว่าลอจิสติกส์ แล้วจะเป็นคนที่ทันสมัยตามสมัยโลกที่เจริญแล้วได้ทัน  ด้วยความเขลาที่ว่าแค่เปลี่ยนชื่อหรือประกาศว่าตัวเองหรือหน่วยงานของตัวเองนั้นนำเอาความคิดลอจิสติกส์มาใช้  แต่ที่ไหนได้ก็เปลี่ยนแค่เปลือกนอกเท่านั้น  แต่ภูมิปัญญาในการจัดการนี่สิจะต้องพัฒนากันอีกมาก พร้อมทั้งการพัฒนาความเข้าใจร่วมกันในการจัดการ  ผมหมายถึงการสร้างวัฒนธรรมในการจัดการ ถ้าใครเคยเรียนการจัดการพื้นฐานมาก็จะเข้าใจว่าการประหยัดคือหัวใจของการจัดการ แต่ไม่ได้หมายถึงการประหยัดแบบใช้ให้น้อยที่สุด    แต่การจัดการนั้นพยายามที่จะจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมหรือพอดีกับความต้องการ ไม่มากเกินความจำเป็นและไม่น้อยกว่าความต้องการ  วัฒนธรรมตรงนี้แฝงอยู่ในหลักการจัดการโดยทั่วไปอยู่แล้ว  คนไทยเราเองอาจจะไม่เคยชินเพราะในน้ำมีปลาในนามีข้าวจนเคยตัว  เป็นคนเคยร่ำรวยทรัพยากรธรรมชาติ มาคราวนี้เรากำลังจะหมดตัวกันแล้วจะทำใจปรับตัวยอมรับสภาพได้หรือไม่ นอกจากการประหยัดแล้วเราคงต้องมองไปในอนาคตด้วยเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้วย หาหนทางในการรองรับสถานการณ์ในอนาคต ไม่ใช่การย่ำอยู่กับที่ ประเด็นนี้หรือวัฒนธรรมตรงนี้สำคัญมาก เพราะถ้าผู้นำและทุกคนในสังคมมีวัฒนธรรมในการคิดไปข้างหน้าย่อม ทำให้ตัวเราหรือประเทศมีความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
 


ลอจิสติกส์ไม่ใช่แค่การขนส่งแต่เป็นการจัดการ
                 ตั้งแต่ผมเริ่มสอนและบรรยายในหัวข้อของการจัดการลิจิสติกส์เมื่อหลายปีที่ผ่านมา พบว่าปัญหาที่สำคัญที่สุดในการจัดการลิจิสติกส์คือการมีความเข้าใจไม่ตรงกันในความหมายจากความเข้าใจดั้งเดิมที่เป็นการขนส่งมาสู่ความเข้าใจที่เป็นศิลปะแห่งการจัดการแบบบูรณาการหรือเป็นการจัดการการดำเนินการ (Management of Operations)  ตอลดจนโซ่คุณค่า  (Value Chain) ขององค์กรหรือวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เมื่อความเข้าใจต่างกัน ผลลัพธ์ในเชิงความคิดหรือนโยบายก็ออกมาต่างกันด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กำหนดนโยบายและผู้ตอบสนองนโยบายถ้ามองไม่เหมือนกันแล้วผลที่เกิดขึ้นคงจะไม่ประโยชน์อันเลยกับสังคมเหมือนกับสภาพการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอยู่กับสังคมไทยในเวลานี้

               เรื่องของการจัดการพลังงานเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ใช้จะต้องผสมผสานอย่างกลมกลืนเพื่อที่จะเข้าใจปัญหาและหนทางการแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงไป    หัวใจของการจัดการคือการจัดการความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆของปัญหาหรือสิ่งที่เราสนใจ    แล้วองค์ประกอบของธุรกิจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ก็ตามมักจะเชื่อมต่อกันด้วยกิจกรรมลอจิสติกส์หรือการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ ดังนั้นการจัดการขนส่งหรือการจัดการการเคลื่อนย้ายเพียงอย่างเดียวคงจะไม่พอสำหรับภาพที่แสดงถึงสภาพของปัญหาทั้งหมดที่เชื่อมโยงเดี่ยวข้องกันไปทั่วไปหมด

 
   พลังงาน: ปัญหาพื้นฐานของทุกสิ่ง
            ถ้าเคยดูหนังเรื่อง Mad Max ที่พระเอกเมลล์ กิ๊บสันแสดงเมื่อสมัยตอนเป็นหนุ่มๆ ก็เป็นเรื่องราวที่ช่วงชิงแหล่งพลังงานกัน  และมีหนังอีกหลายเรื่องที่สะท้อนถึงตามต้องการพลังงานและยิ่งไปกว่าหนังเสียอีก  สงครามที่เกิดขึ้นในระยะหลังนี้ดูหมายจะกลายเป็นสงครามแย่งชิงพลังงานน้ำมันที่สำคัญ  ผมคงกล่าวไม่ผิดว่าพลังงานคือชีวิต และชีวิตทำให้เกิดธุรกิจหรือสิ่งอื่นๆที่สร้างสรรค์และทำลายโลก แต่ผมว่าน่าจะเป็นการทำลายโลกเสียมากกว่า น้ำมันแพงคราวนี้หรือคราวไหนๆ ก็ตามนั้นไม่ได้ผลต่อการขนส่งเท่านั้นแต่มีผลต่อโซ่คุณค่าของสังคมมนุษย์โดยตรง เพียงแต่ว่าเราจะปรับตัวได้ดีขนาดไหนและที่สำคัญเรามองไปในอนาคตเพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ดีขนาดไหน ดังนั้นถ้าประเทศไทยเรายังจัดการกับสิ่งที่เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งอย่างพลังงานไม่ได้เราคงตกอยู่ในสถานะที่เสียเปรียบเป็นอย่างมากพลังงานเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไปวงจรชีวิตกว่าจะนำกลับมาใช้อีกคงจะไม่ทันกับปริมาณการใช้ของมนุษย์โลก


            ทรัพยากรพลังงานที่อยู่บนโลกถูกใช้ไปเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์จนเกือบจะหมดไปแล้ว ใครสามารถสร้างพลังงานทดแทนหรือหาแหล่งพลังงานใหม่ได้ย่อมที่จะเป็นจ้าวโลกไปในทันที  การที่จะเป็นจ้าวโลกได้ไม่ใช่ใสถานะความเป็นเจ้าของเท่านั้น แต่ควรจะเป็นการใช้อย่างชาญฉลาดมากกว่า  ผมมองว่ามันเหมือนการลงทุนในยุคปัจจุบันการมีน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาตินั้นไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่การใช้ประโยชน์จากพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีการวางแผนในอนาคตอย่างต่อเนื่องทั้งระยะสั้นและระยะยาว

        วัฒนธรรมการใช้พลังงาน

ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดในสังคมทักวันนี้ก็มาจากคนทั้งสิ้น ประเทศจะเจริญหรือไม่พัฒนานั้นก็มาจากคนในทุกระดับชั้นที่ร่วมกันสร้างชาติ แต่การที่คนในชาติเหล่านั้นร่วมมือกันได้นั้น ก็คงจะต้องมีความคิดร่วมหันที่เหมือนกัน ยอมรับร่วมกันเสียก่อน เพื่อที่จะได้ทุกคนที่มีหน้าที่ต่างๆได้กำหนดบทบาทของตัวเองได้สอดคล้องกันทั่วทั้งสังคม   พลังงานนั้นเป็นของมีค่าเมื่อใช้แล้วย่อมหมดไป  เงินเรามีไม่มาก พลังงานกลายเป็นสินค้าราคาแพงเมื่อเริ่มขาดแคลน    ความเข้าใจเบื้องต้นเหล้านี้จะต้องอยู่ในความตระหนักของทุกคนในสังคม ไม่ใช่มีปัญหาเมื่อไรก็ออกมารณณรงค์ประหยัดพลังงานกันเป็นช่วงๆ เหมือนกับการแก้ปัญหาแบบวัวหายแล้วล้อมคอกซึ่งผมว่ามันไม่ทันแล้ว    ผมเคยไปต่างประเทศ บางครั้งยังนึกว่าทำไมห้างสรรพสินค้าเขาปิดเร็วและกำหนอเวลาให้เราเลือกซื้อสินค้าได้น้อยเหลือเกิน ผมมองว่าเพื่อเป็นการประหยัดพลังงานและแรงคน  แล้วลองดูบ้านเราสิครับ เปิดเร็ว ปิดดึกไว้รอคอยดักรอคนมาซื้อของทุกช่วงเวลา จะมีสักกี่ช่วงเวลาที่มีคนมาซื้อของมากๆ พอมีนโยบายประหยัดการเปลี่ยนเวลาปิด-เปิดห้างสรรพสินค้าก็ทำได้ไม่เท่าไหร่ก็เลิกกลับมาเหมือนเดิม ดูสิว่าแม้แต่ตัวเราเองก็ไม่ได้มีวัฒนธรรมของการประหยัดพลังงานอย่างฝังรากลึกลงไปในการดำเนินธุรกิจ หรือการกำหนดกฎระเบียบต่างๆของสังคมเมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตก็ต้องเปลี่ยนไห้ได้  และทำให้ได้ แม้ว่าจะลำบากในตอนนี้แต่ถ้าทำให้ชีวิตข้างหน้าเราสบายขึ้น ให้นึกว่าสร้างวัฒนธรรมดีๆนี้ไว้ให้ลูกหลาน เพราะว่าเขายังคงต้องใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้อีกนานกว่าเรามาก  วัฒนธรรมที่ดีน่าจะเป็นมรดกที่ดีให้กับลูกหลานมากกว่าทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป วัฒนธรรมนั้นมีโอกาสที่จะพัฒนาปรับปรุงตามสภาพได้





หมายเหตุ  www.9engineer.com ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในข้อมูลและเนื้อหาภายในเว็บไซด์
เนื้อหาโดย: 9engineer.com (http://9engineer.com/)