ลักษณะของอุปกรณ์ควบคุมที่สร้างขึ้นมา
มีจุดเด่นดังนี้:
1) ใช้การเขียนโปรแกรมในการสร้างฟังก์ชั่นการทำงานแทนการใช้สายไฟฟ้าในการสร้าง
ฟังก์ชั่นเพื่อควบคุมการทำงานของระบบดังนั้นจึงเหมาะกับงานที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือ
แก้ไข ฟังก์ชั่นการควบคุม อยู่ตลอดเวลา
2) มีประสิทธิภาพในการควบคุม และมีขนาดเล็กกว่า
เมื่อเทียบกับการใช้ รีเลย์ในการควบคุม
3) การดูแลรักษา และ การซ่อมบำรุง ทำได้ง่าย
และค่าใช้จ่ายต่ำ
4
) ราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้รีเลย์ |
ในระยะแรกได้มีการพัฒนานำเอาอุปกรณ์อีเลคทรอนิคส์เข้ามาใช้ในการสร้าง
โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ หลังจากนั้น ในปี ค.ศ 1970
จึงได้มีการพัฒนานำเอาไมโครโปรเซสเซอร์ มาใช้ในการประมวลผล
ทำให้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์มีความสามารถและขอบเขตการใช้งานมากขึ้น
เช่น การประมวลผลฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์
ซึ่งทำให้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์สามารถที่จะทำการควบคุมอุปกรณ์
ที่มีลักษณะเป็นสัญญาณแอนะลอก(Analog Signal)
และสามารถทำการสื่อสารกับระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ
ได้และจากการพัฒนาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี
ค.ศ 1975 ได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ และ ซอร์ฟแวร์
มาใช้กับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์
ทำให้ความสามารถในการทำงานเพิ่มสูงขึ้น เช่น มีหน่วยความจำเพิ่มขึ้น
สามารถติดต่อกับอินพุทและเอ้าท์พุทแบบระยะไกล (Remote input/output)
สามารถใช้หน่วยประมวลผลจำนวนหลายตัว (Multi-processor)
ร่วมกันประมวลผลโปรแกรม สามารถทำการควบคุมโดยใช้โมดูลแบบพิเศษ (Intelligent
module) และนอกจากนั้นในปัจจุบัน
โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ยังสามารทำการติดต่อสื่อสารข้อมูลเป็นโครงข่ายผ่าน
Ethernet Protocal, Profibus และ ASI-bus เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่า
เราสามารถที่จะนำข้อมูลจากกระบวนการผลิตมาใช้ในการตัดสินใจ
และสามารถที่จะควบคุมการผลิตตามแผนการที่กำหนดโดยผู้บริหารได้อย่างรวดเร็วผ่านการสื่อสารแบบต่างๆและนอกจากนั้นยังทำให้สามารถ
ที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์
และอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ผลิตมาจากบริษัทต่างๆกันได้
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการใช้งาน PLC
และระบบรีเลย์ในการควบคุม |
คุณลักษณะ |
โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์(PLC) |
รีเลย์ (Relays) |
ราคาค่าใช้จ่าย(ต่อการทำงานที่มีการใช้รีเลย์มากกว่า 20
ตัวขึ้นไป) |
ต่ำกว่า |
สูงกว่า |
ขนาดเมื่อทำการติดตั้ง |
กระทัดรัด |
มีขนาดใหญ่กว่า |
ความเร็วในการปฏิบัติการ |
มีความเร็วสูงกว่า |
ช้ากว่า |
ความทนทานต่อการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้า |
ดี |
ดีมาก |
การติดตั้ง |
ง่ายในการติดตั้งและโปรแกรม |
ใช้เวลามากกว่าในการ ออกแบบและติดตั้ง |
ความสามารถในการปฏิบัตการฟังก์ชั่นที่มีซับซ้อน |
สามารถกระทำได้ |
ไม่สามารถกระทำได้ |
ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงลำดับการควบคุม |
สามารถกระทำได้ง่าย |
สามารถกระทำได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยาก |
การซ่อมบำรุง และตรวจสอบแก้ไข |
ไม่ต้องการการบำรุงรักษามาก
และง่ายในการตรวจสอบแก้ไขใน กรณที่เกิดปัญหาภายในระบบควบคุม |
ต้องการการดูแลในส่วนของคอล์ย และหน้าสัมผัส
และยากในการตรวจสอบและ
แก้ไขในกรณีที่เกิดปัญหา |
โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ( PLC
) และโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์
( PC ) แตกต่างกันอย่างไร ?
จากคำนิยามของ "โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์" ตามมาตรฐานของ IEC 1131,
PART1 "ระบบปฏิบัติการทางด้านดิจิตอลออกแบบมาให้ใช้งานในอุตสาหกรรม
ซึ่งใช้หน่วยความจำที่สามารถโปรแกรมได้ในการเก็บคำสั่งที่ผู้ใช้กำหนดขึ้น
(User Program)
เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดฟังก์ชั่นหรือเงื่อนไขในการทำงานเช่น
การทำงานแบบลอจิก, การทำงานแบบซีเควนซ์, การใช้งานไทม์เมอร์,
การใช้งานเคาน์เตอร์ และฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์
เพื่อควบคุมอุปกรณ์ดิจิตอลอินพุทและเอ้าท์พุท หรือแอนะลอก อินพุท
และเอ้าท์พุท ของเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตต่างๆ นอกจากนั้น ทั้งระบบ PLC
และอุปกรณ์ภายนอกที่ใช้งาน
จะต้องสามารถเชื่อมต่อหรือสื่อสารกับระบบควบคุมทางอุตสาหกรรม,
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ และใช้งานร่วมกันได้ง่าย"
PLC:
Programmable Logic
Controller
PC: Programmable
Controller
PBS: Programmable Binary
System
SPS:
Speicher Programmierbare
Steuerung
|
แสดงลักษณะของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ idec FA-2 |
ในอดีต โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ( PLC
)จะเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร
หรือกระบวนการผลิตต่างๆที่มีลักษณะการทำงานเป็นแบบลอจิก (Logic control
system) หรือแบบซีเควนซ์ (Sequence control system)
เท่านั้นซึ่งเซนเซอร์และอุปกรณ์ทำงาน
(Actuator)ที่ควบคุมการทำงานภายในเครื่องจักร
หรือกระบวนการผลิตต่างๆเหล่านั้น มีลักษณะของสัญญาณอินพุทและเอ้าท์พุท
เป็นสัญญาณ ไบนารี่ (Binary Signal) เท่านั้น
แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ทำให้สามารถทำการวัดและควบคุม
สัญญาณอินพุทและเอ้าท์พุทที่เป็นมีลักษณะแอนะลอก(Analog Signal)
การควบคุมตำแหน่ง (Positioning control) การควบคุมแบบ PID และ
รวมถึงการติดต่อสื่อสารข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก เป็นต้น
ดังนั้นจะเห็นว่าความหมายของชื่อเดิม
คือโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ไม่ครอบคลุม
ความสามารถในการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมที่พัฒนาขึ้นมา
จึงได้มีการกำหนดชื่อของอุปกรณ์ควบคุมนี้ว่า โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ (
Programmable Controller ) เพื่อให้ความหมายกว้างขึ้น และ ครอบคลุม
ความสามารถในการทำงาน มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในเอกสารเล่มนี้
ก็ยังคงใช้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ หรือ PLC
แทนอุปกรณ์ควบคุมที่เราพัฒนาขึ้นมา เพราะเป็นที่คุ้นเคย
และหลีกเลี่ยงความสับสนระหว่าง คำว่า PC : Personel
computer
|